คัดลอก URL แล้ว

ดูค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องอย่างไรให้กระจ่าง ก่อนเลือกซื้อ?

น้ำมันเครื่อง หนึ่งในของเหลวสำคัญที่ช่วยในการให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ลดการสึกหรอของชิ้นส่วน และช่วยประหยัดน้ำมัน แต่เมื่อใช้รถนานกว่า 6 เดือน หรือ 5,000 10,000 กิโลเมตรขึ้นไป ก็จะต้องถึงเวลาที่จะต้องเช็คสภาพน้ำมันเครื่องก่อนเปลี่ยน และเตรียมเลือกซื้อน้ำมันเครื่องใหม่

ซึ่งนอกจากจะดูทั้งยี่ห้อ สูตรน้ำมัน ประเภทรถ และราคาแล้ว สิ่งที่ควรให้ความสำคัญที่สุดที่ไม่ควรมองข้ามคือ “ค่าความหนีด” เพราะหากเลือกค่าความหนืดไม่เหมาะสม อาจทำให้รถคุณมีปัญหาได้ วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับค่าความหนืดกันว่าดูอย่างไร

ค่าความหนืด ใครคือผู้กำหนด?

เนื่องด้วยการพัฒนาน้ำมันเครื่อง จะต้องสามารถช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนรถยนต์ได้ในสภาพอุณหภูมิที่เหมาะสมตามสภาพอากาศ และการใช้งาน ส่งผลให้การพัฒนาน้ำมันเครื่องจึงมีหลากหลายสูตรให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม

ซึ่งการกำหนดค่ามาตรฐานน้ำมันเครื่องในระดับสากล จะอ้างอิงมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมยานยานต์ หรือ Society of Automotive Engineers (SAE) โดยกำหนดเป็นชุดตัวเลขในรูปแบบเกรดรวม หรือ Multigrade ซึ่งจะระบุรายละเอียดที่อุณหภูมิสูงต่ำสุด และสูงสุด เช่น 5W-30, 10W-40, 15W-40 เป็นต้น

รหัสค่าความหนือ ตีความไม่ยากอย่างที่คิด?

หากสังเกตกระป๋อง หรือแกลลอนน้ำมันเครื่อง จะพบกับชุดตัวเลข และอักษร ซึ่งวิธีการอ่านค่านั้นจะต้องแยกออกสองส่วนด้วยกัน เช่น 15W-40 ให้อ่านแยกเป็น 15W และ 40 ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้

15W: ชุดตัวเลขที่ใช้กำหนดค่าอุณหภูมิในเขตเมืองหนาว หรือในกรณีที่เครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ โดย W คือ Winter ส่วนตัวเลข 15 ก็คือค่าความต้านทานการเป็นไขนั่นเอง หมายความว่าน้ำมันเครื่องนี้จะไม่เป็นไขในอุณหภูมิต่ำสุด 15 องศา ซึ่งหากเป็นประเทศเขตหนาว ผู้ใช้รถก็จะพิจารณาเลขชุดนี้ แต่ถ้าเป็นประเทศเขตร้อนอย่างประเทศไทย เลขส่วนนี้ก็อาจจะไม่สำคัญมาก

40: เลขชุดหลังคือค่าความหนืด โดยจะระบุตัวเลขหลักสิบ ยิ่งค่าตัวเลขยิ่งมากก็จะยิ่งมีความหนืดมาก ตัวเลขนี้จะทำงานเมื่อเครื่องยนต์ร้อนจัดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส โดยน้ำมันเครื่องจะมีค่าความหนืดในการมีประสิทธิภาพปกป้องเครื่องยนต์สูงสุดสำหรับรถยนต์ทั่ว ๆ ไป จะอยู่ที่ 40 

แต่ถ้าหากผู้ใช้รถเป็นผู้ที่ใช้งานรถมากกว่า 100,000 กิโลเมตรขึ้นไป, รถที่บรรทุกหนัก, รถที่ใช้ความเร็วสูงประจำ ก็ควรเพิ่มค่าความหนืดให้มากขึ้นกว่าตามที่คู่มือระบุจาก 40 เป็น 50 เป็นต้น

ทำไมค่าความหนือ จึงมีความสำคัญต่อการเลือกซื้อน้ำมันเครื่อง?

ภาพประกอบจาก freepik.com

เมื่อเวลาที่ผู้ใช้รถทำการสตาร์ทรถขณะที่เครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ ซึ่งหากเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่หนืดเกินไป น้ำมันเครื่องจะไหลเวียนเข้าไปหล่อลื่นในระบบได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ กลับกันหากเราเลือกค่าความหนืดที่เหลวเกินไป ในช่วงที่เครื่องยนต์ร้อนจัดน้ำมันเครื่องจะช่วยป้องกันการสียดสีของเครื่องยนต์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ทั้งหมดทั้งมวลจะส่งผลต่อการสึกหรอของเครื่องยนต์ อัตราเร่งที่ไม่ดี และสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงอีกด้วย ดังนั้นการเลือกค่าความหนืดน้ำมันเครื่องต้องสอดคล้องกับอุณหภูมิแวดล้อม และลักษณะการใช้งานรถของคุณควบคู่กัน


แม้ว่าการใช้น้ำมันเครื่องเพื่อดูแลครื่องยนต์อาจจะยุ่งยาก แต่ถ้าจับจุดในการดูค่าความหนืดได้ถูก ประเมินการใช้งานอย่างเหมาะสมทั้งอุณหภูมิแวดล้อม และไลฟ์สไตล์การขับขี่ ก็ช่วยให้คุณสามารถเลือกซื้อน้ำมันเครื่องได้ไม่ยาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหลังจากเปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่แล้ว ควรบันทึกข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตรวจสภาพรถประจำปี หรือขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในศูนย์บริการ ซึ่งจะช่วยถนอมรักษาเครื่องยนต์ ควบคุมงบประมาณ ประหยัดน้ำมัน และสามารถใช้งานรถได้เต็มประสิทธิภาพ


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง