คัดลอก URL แล้ว

สัญญาเช่าซื้อรถยนต์-จักรยานยนต์ใหม่ ดี-เสียอย่างไร แล้วคนที่ผ่อนอยู่จะได้สิทธิ์หรือไม่?

เป็นอีกหนึ่งข่าวใหญ่ของวงการยานยนต์ที่ได้รับความสนใจอย่างใกล้ชิด เมื่อเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศให้ธุรกิจให้เช่าซื้อ “รถยนต์ – รถจักรยานยนต์” ทั้งรถใหม่ และรถมือสอง เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา คิดดอกเบี้ยแบบ “ลดต้น-ลดดอก” แทนการคิดดอกเบี้ยคงที่เหมือนเมื่อก่อน ซึ่งการประกาศคิดดอกเบี้ยแบบใหม่นี้มีความน่าสนใจ และมีข้อดี – ข้อเสียอย่างไร และสำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างผ่อนรถจะได้สิทธิ์ลดต้น – ลดดอกเหมือนกันหรือไม่? วันนี้มาหาคำตอบกัน

อัตราดอกเบี้ยใหม่ และสิทธิประโยชนของผู้ปิดยอดชำระ

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 โดยสาระสำคัญคือการยกเลิกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 เดิม โดยมีกำหนดสัญญาเช่าซื้อฯ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ตามกลไกตลาด ให้คำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) ซึ่งคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด ดังนี้

สำหรับลูกค้าที่สามารถปิดยอดผ่อนได้ครบทั้งหมด ก็ต้องให้ส่วนลดแก่ลูกค้าด้วย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

เมื่อเทียบกับข้อสัญญาเช่าซื้อรถยนต์-รถจักรยานยนต์ในปี 2561 ข้อที่สิบ จะให้ส่วนลดแก่ผู้เช่าซื้อในอัตราไม่น้อยกว่า 50% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกําหนดชําระ โดยให้คิดคํานวณตามมาตรฐานการบัญชีฯ ที่คณะกรรมการกําหนดมาตรฐานเอาไว้

นอกจากนี้ สัญญาอาจปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศในทุก ๆ 3 ปี

ทั้งนี้ ประกาศฯ ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้หลังพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งก็คือวันที่ 11 มกราคม 2566

ผลดี – ผลเสียที่ควรทราบ

ด้วยข้อกำหนดดอกเบี้ยใหม่นี้ จะช่วยให้ลูกค้าที่ซื้อรถสามารถจ่ายผ่อนค่างวดรถยนต์ – รถจักรยานยนต์ได้ถูกลงกว่าเดิม เป็นผลดีต่อผู้ซื้อรถที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายจากการผ่อนรถระยะยาว และช่วยเปิดโอกาสให้มีเงินทุนในการเช็คสภาพรถ ซ่อมบำรุง และจ่ายค่าประกันได้อย่างเต็มที่ในแต่ละปี

ลูกค้ารถจักรยานยนต์ทุกซีซี จะเป็นกลุ่มที่ได้ผลประโยชน์ตรวส่วนนี้มากที่สุด เนื่องจากเพดานดอกเบี้ยใหม่ จะไม่เกิน 23% ต่อปี เรียกได้ว่าหายไปสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ ทำให้ราคารถที่ต้องผ่อนจ่ายนั้นลดลงเป็นอย่างมาก

อีกหนึ่งข้อดีที่น่าสนใจจะอยู่ที่ลูกค้าสามารถปิดยอดชำระหนี้ก่อนกำหนด ซึ่งก็จะได้รับส่วนลดที่มากขึ้น

และด้วยข้อกำหนดดอกเบี้ยใหม่นี้ก็ส่งผลกระทบต่อผู้ปล่อยสินเชื่อ ไฟแนนซ์ รวมถึงดีลเลอร์รถยนต์-จักรยานยนต์ ทั้งรถใหม่ และรถมือสองที่หารายได้จากการคิดดอกเบี้ยนั้นลดลง ทำให้การพิจารณาขอสินเชื่อก็จะยากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ และเกษตรกรที่มีรายได้ไม่แน่นอน รวมถึงการเฝ้าระวังค่าใช้จ่ายแอบแฝงอื่น ๆ ที่ผู้ขายพยายามนำเสนอเพิ่มเติมแก่ลูกค้าโดยไม่จำเป็น

และเนื่องจากผู้ซื้อต้องรออัตราดอกเบี้ยใหม่ และการปล่อยสินเชื่อที่ยากก็ส่งผลให้ผู้ซื้อรถลดลงด้วยเช่นกัน ทำให้การซื้อรถยนต์ – จักรยานยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2565 จะชะงักลงในช่วงระยะสั้น ๆ ซึ่งเป็นช่วงที่หลังมีการบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขึ้นกับว่าในช่วงปลายปีนี้ ค่ายรถต่าง ๆ จะปล่อยแคมเปญอะไรที่จะช่วยกระตุ้นยอดขายรถช่วงไตรมาสที่ 4 และสอดคล้องกับคำนวณเพดานดอกเบี้ยใหม่อีกด้วย

คำถามคาใจของผู้ที่กำลังผ่อนค่างวดรถยนต์ในปัจจุบัน

ด้วยการที่ประกาศยกเลิกสัญญาเช่าซื้อรถยนต์-จักรยานยนต์ด้วยคิดดอกเบี้ยแบบลดต้น-ลดดอกใหม่ และอัตราดอกเบี้ยใหม่ และสำหรับผู้ที่จ่ายค่าผ่อนรถในปัจจุบันนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงย้อนหลังด้วยหรือไม่นั้นคำตอบคือยังคงไม่เปลี่ยนแปลงใด ๆ แม้จะมีผลบังคับใช้แล้วก็ตาม แต่ก็ขึ้นอยู่กับทางผู้เช่าซื้อ และผู้ขายว่าจะมีการตกลงทำสัญญาใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่

และอีกหนึ่งคำถามสำคัญก็คือ เมื่อกำหนดเพดานดอกเบี้ยใหม่ ราคารถจะถูกลงหรือไม่? คำตอบคือราคารถยังคงเหมือนเดิม ประกอบกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ชุดแต่ง สีตัวถังพิเศษ ภาษี และอื่น ๆ จะไม่ครอบคลุมส่วนนี้ แต่จะครอบคลุมดอกเบี้ยที่แท้จริงก็ต่อเมื่อได้ราคารถโดยสุทธิแล้ว


ด้วยสัญญาเช่าซื้อรถยนต์-จักรยานยนต์ใหม่ที่ได้ประกาศใช้นี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้อรถโดยตรง ไม่ว่าจะรถยนต์ รถมือสอง และรถจักรยานยนต์ ที่จะมีเพดานดอกเบี้ยที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้ซื้อรถจะสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้นตลอดระยะเวลาผ่อนรถ รวมถึงส่วนลดสำหรับผู้ปิดยอดชำระทั้งหมดที่จะช่วยให้กระตุ้นในการชำระหนี้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

เครดิตข้อมูลจาก ratchakitcha.soc.go.th 1 , 2


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง