คัดลอก URL แล้ว
Road

‘ทางเอก – ทางโท’ รู้ชัด แยกเป็นได้ไม่ยาก ไขข้องใจอภิสิทธิ์ของทางเอก

ทางเอก และทางโท คือส่วนหนึ่งของ “ทางร่วมแยก” ที่ต้องมีไว้ในกรณีที่ถนนตัดซอย หรือถนนทางเข้าออก – อาคาร ตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 แต่ในบางครั้ง ผู้ขับขี่ก็สร้างความสับสนในการเดินทาง หรือแม้แต่เกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ผู้ที่ออกจากทางโทจะถูกมองเป็นฝ่ายผิดเสมอจนเกิดอารมณ์ชั่ววูบ ซึ่งบางกรณีหากพลาดพลั้งจนบางปลายก็อาจกลายเป็นฝ่ายผิดไปจริง ๆ

ซึ่งการแยกทางเอก – ทางโทนั้น ไม่ยากอย่างที่คิด ง่าย และเข้าใจได้ในระหว่างเดินทาง ขณะเดียวกันหากรู้จักข้อกฎหมายที่ดี ก็จะสามารถเจรจาทางตำรวจ ประกันภัย และคู่กรณีได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องบานปลาย รวมถึงการตัดสินใจเลือกทำเลที่อยู่อาศัย และวางแผนเดินทางได้อย่างสบายใน

แบบใดคือทางเอก – ทางโท?

คำว่า “เอก” และ “โท” เป็นคำไทยที่ใช้ในการเรียกลำดับแทนคำศัพท์ “หลัก” และ “รอง” เมื่อรวมกับทางเอก-ทางโท หมายถึง “ทางหลัก” และ “ทางรอง” ซึ่งการทำความเข้าใจระหว่างทางเอก และทางโท คือการเรียงลำดับจากถนนใหญ่-ถนนเล็ก นั่นเอง

รวมถึงทางหลัก และทางรองเชื่อมต่อกัน จะเรียกกันว่าเรียกว่าทางร่วมแยก ซึ่งจะซึ่งขึ้นรูปแบบของเส้นทาง และพื้นที่ชุมชนโดยรอบ

ทางเอก 

เป็นถนนเส้นใหญ่สุด มีจำนวนช่องเดินรถที่มากกว่า จำนวนรถสัญจรก็มีมากกว่า มีเส้นสัญจราจรที่ชัดเจน

ทางโท 

จะเป็นเส้นที่ตัดแยกจากทางเอก ซึ่งจะมีขนาดช่องเดินรถที่เล็กกว่า น้อยกว่า หรือมีช่องเดินรถที่ไม่ชัดเจน แต่จะมีเส้นหยุดหรือป้ายหยุดก่อนจะเข้าทางร่วมแยกตรงหน้าอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นถนนขนาดใดก็ตาม

โดยบางครั้งทางโท ก็จะมาในรูปแบบทางที่เชื่อมกับลานจอดรถ หรือทางเชื่อมอาคาร ไปจนถึงเส้นทางในบ้านส่วนตัวก่อนเข้าสู่ถนนหน้าบ้าน

วิธีการจำแนกทางเอก – ทางโท

ความแตกต่างระหว่างทางเอก และทางโท พร้อมป้ายเตือน (ภาพ Thossapol T.)

เนื่องจากทางเอก – ทางโท จะขึ้นกับขนาด และสัญลักษณ์ที่ปรากฎบนท้องถนน ซึ่งบางครั้งจะสามารถแปรผันได้ ขึ้นกับว่าคุณอยู่ตำแหน่งใด แต่มีวิธีสังเกตเบื้องต้นง่าย ๆ ดังนี้

“หากคุณเห็นทางแยกที่มีขนาดใหญ่กว่า มีช่องเดินรถมากกว่า ด้านหน้าคุณคือทางเอก จุดที่ยืนอยู่คือทางโท และหากคุณอยู่เส้นทางใหญ่ แต่เห็นเส้นทางที่เล็กกว่า มีช่องเดินรถน้อยกว่า จุดที่ยืนอยู่คือทางเอก และทางเล็กกว่าคือทางโท”

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทางเอก – ทางโท

ด้านข้อกฎหมายนั้น ทางเอกจะมีอภิสิทธิ์สูงกว่า รถที่อยู่เส้นทางเอกจะสามารถขับผ่านไปก่อน หากรถยนต์ 2 คันมาถึงทางร่วมแยกพร้อมกัน แล้วผู้ขับขี่อยู่ในทางโท ต้องให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของตนผ่านไปให้เรียบร้อยก่อนนั่นเอง

หากเกิดรถชนกัน ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือประกันภัยก็จะให้ความสำคัญกับรูปแบบการชน และตำแหน่งที่รถทั้งสองคันชนก่อน หากเป็นการชนตัดจุดแยก ก็จะให้ความสำคัญกับทางเอก ซึ่งผู้ขับขี่ที่จะออกจากทางโทจะมีโอกาสเป็นฝ่ายผิดสูงกว่า แต่ก็ขึ้นกับปัจจัยเสริมอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมควบคู่ด้วย

โดยผู้ขับขี่สามารถศึกษารายละเอียด พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ตั้งแต่มาตรา 71 ถึง 74


หากทางเอก และทางโทอาจทำให้คุณรู้สึกกังวล แต่ถ้าหากรู้ทริกในการสังเกต และรู้ข้อกฎหมายทั้งทางเอก ทางโท ทางร่วมแยก ก็ช่วยสร้างความสบายใจในการขับขี่ได้ และสิ่งสำคัญที่สุดคือการมีมารยาทในการขับขี่ น้ำใจในการใช้รถใช้ถนน และหมั่นสังเกตุคนเดินข้ามถนน หรือแม้แต่รถจักรยาน – รถจักรยานยนต์วิ่งตัดผ่านทางร่วมแยกเสมอ เพื่อลดการเกิดอุบัติตั้งแต่เนิ่น ๆ เดินทางราบรื่นได้ในทุกวัน

เครดิตข้อมูลจาก krisdika.go.th


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง