คัดลอก URL แล้ว
10 อันดับต่างจังหวัด มีค่าใช้จ่ายครัวเรือน เฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดและน้อยที่สุด

10 อันดับต่างจังหวัด มีค่าใช้จ่ายครัวเรือน เฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดและน้อยที่สุด

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยข้อมูล 10 อันดับต่างจังหวัด มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนสูงที่สุดและน้อยที่สุด โดยไม่นับรวมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อันดับ 1 ใช้จ่ายสูงถึง 33,150 บาท/เดือน และอันดับ 1 ที่ใช้จ่ายน้อยที่สุดยอดต่อเดือนอยู่ที่ 12,206.69 บาท/เดือน ไปอัปเดตกันว่ามีจังหวัดใดติดอันดับบ้าง

10 อันดับต่างจังหวัด มีค่าใช้จ่ายครัวเรือน เฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุด

(ไม่นับรวมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล)

10.ชุมพร 23,540.14 บาท/เดือน

9.พระนครศรีอยุธยา 24,684.11 บาท/เดือน

8.ระยอง 24,951.65 บาท/เดือน

7.สุราษฎร์ธานี 24,991.02 บาท/เดือน

6.จันทบุรี 25,374.26 บาท/เดือน

5.ราชบุรี 25,476.12 บาท/เดือน

4.สระบุรี 25,607.66 บาท/เดือน

3.ชลบุรี 27,129.51 บาท/เดือน

2.กระบี่ 29,073.90 บาท/เดือน

1.ภูเก็ต 33,150.86 บาท/เดือน

ผลสรุป ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีรายจ่ายในครัวเรือนต่อเดือนสูงที่สุดอยู่ที่ 33,150.86 บาท/เดือน

10 อันดับต่างจังหวัด มีค่าใช้จ่ายครัวเรือน เฉลี่ยต่อเดือนน้อยที่สุด

(ไม่นับรวมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล)

10.อุทัยธานี 16,720.94 บาท/เดือน

9.ลำปาง 16,644.73 บาท/เดือน

8.ตาก 16,319.32 บาท/เดือน

7.สุโขทัย 16,139.49 บาท/เดือน

6.กาฬสินธุ์ 15,802.02 บาท/เดือน

5.ยะลา 15,603.31 บาท/เดือน

4.ศรีสะเกษ 14,492.28 บาท/เดือน

3.พะเยา 13,028.46 บาท/เดือน

2.แม่ฮ่องสอน 12,816.26 บาท/เดือน

1.เชียงราย 12,206.69 บาท/เดือน

ผลสรุป เชียงราย เป็นจังหวัดที่มีรายจ่ายในครัวเรือนต่อเดือนน้อยที่สุดอยู่ที่ 12,206.69 บาท/เดือน

ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน คืออะไร

ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของครัวเรือน ได้แก่

  1. จำนวนเงินที่ครัวเรือนได้ใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อใช้ในการดำรงชีพ
  2. มูลค่าของสินค้าและบริการที่ได้รับเป็นส่วนหนึ่งของค่าแรง เงินเดือน สินค้าหรืออาหารที่ครัวเรือนผลิตและบริโภคเอง (รวมค่าประเมินค่าเช่าบ้านที่ครัวเรือนเป็นเจ้าของและอยู่เอง) หรือได้มาโดยไม่ต้องซื้อ
  3. รายจ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าภาษี เงินบริจาค ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าสลากกินแบ่ง ดอกเบี้ยจ่าย และรายจ่ายที่มิใช่เพื่อการบริโภคอื่นๆ
    ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ได้แก่ รายจ่ายทั้งสิ้นของครัวเรือน ซึ่งไม่รวมรายจ่ายอื่นๆ ตามข้อ 3

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ไม่รวม ค่าใช้จ่ายประเภทสะสมทุน เช่น ค่าซื้อ (หรือเช่าซื้อ) บ้าน ที่ดิน ของมีค่า เช่น ทองคำ เพชร พลอย ฯลฯ และเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต ประเภทสะสมทรัพย์ เงินสมทบกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง