คัดลอก URL แล้ว
เมื่อลูกทำผิดพลาด คนเป็นพ่อเป็นแม่ควรทำอย่างไร?

เมื่อลูกทำผิดพลาด คนเป็นพ่อเป็นแม่ควรทำอย่างไร?

พ่อแม่ควรพึงระลึกไว้เสมอว่า คำพูดของคุณมีอิทธิพลต่อความรู้สึกและพฤติกรรมของลูก เมื่อลูกทำผิดพลาดขึ้นมา หากคุณเผลอใช้อารมณ์หรือพ่นคำพูดเป็นพิษทำร้ายจิตใจลูกออกไป อาจจะสร้างเป็นบาดแผลในจิตใจให้เค้าไปตลอดชีวิต ขอรวมแนวทางแนะนำ เมื่อลูกทำผิดพลาด คนเป็นพ่อเป็นแม่ควรทำอย่างไร? มาให้พ่อแม่มือใหม่หรือใครที่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี นำไปปรับใช้กัน

1.ไม่พูดจาตำหนิ ใส่อารมณ์หรือโมโหใส่ลูก

พ่อแม่ต้องตั้งสติ ควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้ได้ ไม่ตีโพยตีพายเมื่อรู้ว่าลูกทำเรื่องผิดพลาด อย่าพูดจาตำหนิ อย่าโมโหใส่ลูก เพราะเด็กเมื่อรู้ตัวเองว่าทำผิดเขาก็จะเกิดความกลัวอยู่แล้ว เค้าต้องการพื้นที่ที่รู้สึกปลอดภัยและพึ่งพาได้ การที่พ่อแม่ไปโมโหใส่ซ้ำเติมอีกก็จะยิ่งทำให้ลูกตกใจกลัว เป็นการสร้างบาดแผลภายในจิตใจ และครั้งต่อๆ ไปหากมีเรื่องอะไรเขาก็จะไม่อยากให้พ่อแม่รู้

ภาพจาก ซีรีส์เรื่อง: ฟางเล่นไฟ Risk Lust Love

2.ค่อยๆ ถามถึงสาเหตุ เปิดใจรับฟังให้เค้าได้อธิบาย

เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว ให้แสดงออกให้ลูกรับรู้ว่า พร้อมจะเปิดใจรับฟัง ค่อยๆ ถามลูกว่า เหตุการณ์ทั้งหมดมันเป็นยังไง เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหม ได้ช่วยกันหาทางแก้ไข อย่าใช้คำพูดที่ไปตัดสินลูกว่าทำไมทำแบบนั้นแบบนี้ ให้ฟังเค้าเล่าให้จบก่่อน เค้าจะได้รู้สึกได้ว่า พ่อและแม่่พร้อมเคียงข้าง รับฟัง และพร้อมช่วยกันหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหา

ภาพจาก ซีรีส์เรื่อง: ฟางเล่นไฟ Risk Lust Love

3.อย่าพูดห้าม ข่มขู่ หรือเปรียบเทียบลูกตัวเองกับลูกคนอื่น

อย่าใช้คำพูดที่ทำให้รู้สึกว่าโดนห้าม โดนข่มขู่ เช่น อย่าทำแบบนี้อีกนะ ถ้าทำแบบนี้แม่จะไม่เลี้ยงแกแล้ว, หรือเปรียบเทียบลูกกับลูกบ้านอื่น เช่น ทำไมแกทำตัวแบบนี้ ดูลูกบ้านนั้นบ้านนี้สิทำไมไม่ทำตัวให้ดีแบบเขา เป็นต้น เพราะการห้ามการพูดเชิงข่มขู่จะทำให้ลูกเกิดความไม่มั่นใจในตัวเอง, ไม่กล้าคิดตัดสินใจอะไรด้วยตัวเอง และอาจจะเข้าใจว่าการจะเป็นที่รักของพ่อแม่ได้นั้นต้องมีเงื่อนไข

4.พูดชื่นชม ให้กำลังใจ แสดงความห่วงใยกัน

พ่อแม่ควร แสดงออกให้ลูกเห็นว่าภูมิใจในตัวเค้า เช่น เวลาที่ลูกสามารถแก้ปัญหาได้ หรือทำอะไรดีๆ เรื่องอื่นๆ ก็ชื่นชมแสดงความเป็นห่วง ถามไถ่ หาเรื่องคุยกันในทุกๆ วัน เช่น วันนี้ดูสดใสเชียวนะลูก, วันนี้ดูเหนื่อยๆ นะมีอะไรหรือเปล่า เล่าให้แม่ฟังได้นะ ฯลฯ พยาพยามสร้างความสนิทสานสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลูก พร้อมรับฟัง และพร้อมให้ความช่วยเหลือเมื่อเจอปัญหา ให้เค้ารู้สึกได้ว่าพ่อแม่เป็นได้ทั้งเซฟโซนที่ปลอดภัย และเป็นเหมือนเพื่อนที่พร้อมเคียงข้างกันอยู่เสมอ

ที่มา : รพ. พญาไท, รพ.สมิติเวช


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง