คัดลอก URL แล้ว
OR สร้างโอกาสให้คนตัวเล็ก “เติบโตอย่างยั่งยืน เติบโตไปด้วยกัน”

OR สร้างโอกาสให้คนตัวเล็ก “เติบโตอย่างยั่งยืน เติบโตไปด้วยกัน”

เปิดภารกิจ OR ต้นแบบกิจกรรมเพื่อสังคม พัฒนาองค์ความรู้ – ทักษะอาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรเชียงใหม่

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ไม่อาจสำเร็จได้เพียงองค์กร หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนในสังคม ต้องจับมือและเดินหน้าไปด้วยกัน 

ภายใต้วิสัยทัศน์ “Empowering All toward Inclusive Growth” เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน ทั้งผู้คน สังคมชุมชน และสิ่งแวดล้อม บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR) จึงได้ผลักดันแนวทางการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ผ่าน OR SDG ได้แก่

“S” หรือ “SMALL” มุ่งเน้นการให้โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก 

“D” หรือ “DIVERSIFIED” มุ่งสร้างโอกาสเพื่อทุกการเติบโตทุกรูปแบบ 

“G” หรือ “GREEN” มุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์

แนวคิดนี้มีรากฐานมาจาก เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ ไม่เพียงตอบโจทย์เป้าหมายของ OR 2030 แต่จะทำให้ทุกคนในสังคมไทย ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพและเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน ผ่านการสร้างโอกาสให้คนตัวเล็ก (Small) และการสร้างสังคมสะอาด (Green) 

หนึ่งในพื้นที่ที่ OR ได้เข้าไปดำเนินโครงการช่วยเหลือสังคมชุมชน และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง คือ จ.เชียงใหม่ โดย OR ได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมในหลายพื้นที่ ผ่านโครงการต่าง ๆ ประกอบด้วย 

1) โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟแบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อ.แม่แจ่ม 

แม้ชุมชนบ้านสามสบ และบ้านแม่ยางส้าน อ.แม่แจ่ม จะปลูกกาแฟสายพันธุ์อะราบิกากันเกือบทุกครัวเรือน แต่เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างจาก อ.เมืองเชียงใหม่ กว่า 120 กม. และเส้นทางเข้าหมู่บ้านลำบากมาก จึงไม่ค่อยมีพ่อค้าและตลาดเข้าไปรับซื้อผลผลิตในพื้นที่

เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ จึงตัดสินใจเลิกและตัดต้นกาแฟทิ้ง หันไปทำไร่ข้าวโพด ฟักทอง หอมแดง และข้าวไร่ จนเกิดการถางป่าในพื้นที่ป่าต้นน้ำ มีการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงเพื่อเร่งปริมาณผลผลิต ส่งผลต่อการสะสมของสารเคมีในดิน และตามมาด้วยปัญหาสุขภาพของชาวบ้าน

จากปัญหาข้างต้น OR ได้เข้าไปพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน นำร่องสมาชิกกว่า 200 ครัวเรือนในพื้นที่ โดยนำต้นแบบการปลูกกาแฟภายใต้ไม้ร่มเงา (ไม้เศรษฐกิจ) มาส่งเสริมในพื้นที่  เช่น อะโวคาโด และแมคคาเดเมีย ช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร ในช่วงรอผลผลิตกาแฟ ประมาณ 3 ปี รวมถึงช่วยลดการเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย ลดการใช้สารเคมียาฆ่าแมลง ทำให้ลดมลพิษต่างๆ โดยเฉพาะฝุ่นพิษ PM 2.5 ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น

ขณะเดียวกัน ยังได้พัฒนาความรู้และทักษะการประกอบอาชีพ การปลูกและการผลิตกาแฟที่มีคุณภาพตามมาตรฐานของ คาเฟ่ อเมซอน และส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการพัฒนาและพึ่งพาตนเอง รวมถึงเป็นช่องทางในการจำหน่ายเมล็ดกาแฟ ด้วยระบบราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade) เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอนและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

2) โรงแปรรูปและจัดเก็บเมล็ดกาแฟ Café Amazon จ.เชียงใหม่

OR ได้เปิดโรงแปรรูปของคาเฟ่ อเมซอน แห่งแรก สามารถจัดเก็บได้ 1,500-1,800 ตัน ตั้งอยู่บนถนนเลี่ยงเมืองสันป่าตองหางดง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นจุดรับซื้อเมล็ดกาแฟกะลาอะราบิกาในพื้นที่ภาคเหนือ จากเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโดยตรงในราคาที่เป็นธรรม และเป็นสถานที่แปรรูปเป็นกาแฟที่มีคุณภาพ ก่อนจัดส่งให้โรงคั่วกาแฟคาเฟ่ อเมซอน เพื่อคั่วและจำหน่ายไปยังร้านคาเฟ่ อเมซอน ทั่วประเทศ และยังเป็นศูนย์พัฒนาทักษะความรู้ในการปลูก ผลิตและแปรรูปกาแฟให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนอีกด้วย

3) โครงการสนับสนุนการสร้างอาชีพเกษตรกร อ.แม่วาง และ อ.สะเมิง

OR เข้าไปส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ ที่ต้องการจะเปลี่ยนวิถีการทำเกษตร จากการผลิตพืชสารเคมีเป็นพืชแบบอินทรีย์ แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และองค์ความรู้ในการปลูกผักอินทรีย์ ให้มีผลผลิตทางการเกษตรที่สม่ำเสมอและมีคุณภาพ รวมทั้งมีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนจากการเข้าถึงแหล่งจำหน่ายผลผลิต

ขณะเดียวกัน OR ได้เห็นถึงความสำคัญของพลาสติกคลุมโรงเรือน เพราะในช่วงฤดูร้อนแดดที่ร้อนจัด จะส่งผลให้พืชเหี่ยวเฉาไม่ได้คุณภาพ ส่วนในฤดูฝนต้นพืชจะแคระแกร็น และมีโอกาสที่จะไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ จึงได้มอบพลาสติกคลุมโรงเรือน ให้แก่เกษตรกรกว่า 140 โรงเรือน ส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้นกว่า 20-100% ช่วยเกษตรมีรายได้มากขึ้น ชาวบ้านจึงหันมาสนใจทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยลดค่าไฟฟ้า ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดลดโลกร้อน สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในการเก็บผลผลิต โดย OR ได้ติดตั้ง Application “Fusion Solar” รายงานการทำงานของระบบโซล่าเซลล์แบบ Real Time ช่วยให้กับเกษตรกรวางแผนเพาะปลูกอย่างเป็นระบบ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน 

4) โครงการโออาร์ อาสาสานสุข

โครงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถจักรยานยนต์ ให้กับชุมชนพื้นที่รอบคลังปฏิบัติการในรัศมี 5 กม. ทั้ง 17 พื้นที่ทั่วประเทศ รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ การให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันเครื่องรถจักรยานยนต์  และการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อและใช้ก๊าซหุงต้มในครัวเรือนอย่างปลอดภัย เริ่มต้นในปี 2562 ถึงปัจจุบัน จากแนวคิดที่ต้องการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของชุมชน พร้อม ๆ กับการส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันเครื่อง และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องของรถจักรยานยนต์ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย การเลือกซื้อและการใช้ถังก๊าซหุงต้มในครัวเรือนอย่างปลอดภัย เป็นการมอบความสุข และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ชุมชน โดยได้จัดกิจกรรมฯ ในพื้นที่คลังปฎิบัติการ OR ไปแล้ว 12 จังหวัด

ด้วยความเชื่อว่าธุรกิจแห่งอนาคต คือธุรกิจที่ผู้คนและสิ่งแวดล้อมจะเติบโตไปด้วยกัน พร้อมกับการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน OR จึงไม่ต้องการเป็นเพียงธุรกิจที่มุ่งเน้นการแสวงหาผลกำไร แต่ขอร่วมเป็นอีกเสาหลักของสังคมในยุคนี้ ที่ได้ไม่ได้มองว่าผู้คนเป็นแค่ส่วนหนึ่งของธุรกิจ แต่เป็นสิ่งสำคัญที่อยากให้เติบโตไปด้วยกัน

#OR #โออาร์ #ORSDG #กิจกรรมเพื่อสังคม


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง