คัดลอก URL แล้ว
ประวัติ วันสารทจีน กับ 6 เรื่องน่ารู้การไหว้ในเทศกาล สารทจีน

ประวัติ วันสารทจีน กับ 6 เรื่องน่ารู้การไหว้ในเทศกาล สารทจีน

เทศกาลสารทจีน พิธีเซ่นไหว้ ประตูนรกเปิด ตามปฏิทินทางจันทรคติ เทศกาลสารทจีนจะตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินจีน

1.ประวัติวันสารทจีน

ตามตำนานความเชื่อว่า เดือน 7 ของจีน ถือเป็น “กุ้ยโจ่ย” หรีอเดือนผี เป็นเวลาที่ประตูนรกเปิดให้บรรดาดวงวิญญาณภูติผีออกมารับส่วนบุญตามสถานที่ต่าง ๆ และเทศกาลสารทจีนถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษโดยพิธีเซ่นไหว้ อีกทั้งยังเชื่อว่าเป็นวันที่เช็งฮีไต๋ตี๋จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตายส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์ และส่งวิญญาณร้ายลงนรก และยังเป็นประเพณีที่มีกุศโลบายในการสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัวทำกิจกรรมร่วม กันอย่างพร้อมหน้าและมีความสุข

โดยการไหว้สารทจีนนั้น จะคัดเลือกของไหว้ที่เป็นมงคล เพื่ออำนวยพรให้แก่ผู้ไหว้และครอบครัว ซึ่งความหมายของไหว้สารทจีนมีดังต่อไปนี้

Celebration of Chinese lantern festival

2.การไหว้ในเทศกาล สารทจีน แบ่งออกเป็น 3 ชุด ดังนี้

  1. ชุดสำหรับไหว้เจ้าที่
    ไหว้ในตอนเช้า มีอาหารคาวหวานกุยช่าย ส่วนขนมไหว้พิเศษที่ต้องมีซึ่งเป็นประเพณีของสารทจีนคือ ขนมเทียน ขนมเข่ง ต้องแต้มจุดสีแดงไว้ตรงกลาง เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อที่ว่าสีแดงเป็นสีแห่งความเป็นศิริมงคล นอกจากนั้นก็มีผลไม้ น้ำชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงินกระดาษทอง
  2. ชุดสำหรับไหว้บรรพบุรุษ
    คล้ายของไหว้เจ้าที่พร้อมด้วยกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ ตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกงหรือขนมน้ำใส ๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชาจัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ ขาดไม่ได้ก็คือขนมเทียน ขนมเข่ง ผลไม้และกระดาษเงินกระดาษทอง
  3. ชุดสำหรับไหว้สัมภเวสี
    วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ เรียกว่า สัมภเวสี หรือ ไป๊ฮ๊อเฮียตี๋ แปลว่า ไหว้พี่น้องที่ดี เป็นการสะท้อนความสุภาพและให้เกียรติของคนจีน เรียกผีไม่มีญาติว่าพี่น้องที่ดีของเรา โดยการไหว้จะไหว้นอกบ้านของไหว้จะมีทั้งของคาวหวานและผลไม้ตามต้องการและที่พิเศษคือมีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่ เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทองจัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้

3.ความหมาย ของไหว้สารทจีน

4.ขนมที่ใช้ไหว้ใน วันสารทจีน

ในสมัยโบราณชาวจีนใช้ขนมไหว้ 5 อย่าง ดังต่อไปนี้

  1. ปัง คือขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำมาจากน้ำตาล
  2. เปี้ย คือขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่
  3. หมี่ คือขนมหมี่เท้า ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าข้างในไส้เต้าซา
  4. มั่ว คือขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดงตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง
  5. กี คือขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาวเวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ

5.ชาวไทยเชื้อสายจีนใช้ขนมเทียน ขนมเข่งในการไหว้
โดยหลักๆ ของที่ไหว้จะมีของคาว 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ไก่ หมู เป็ด ไข่ หมึก ปลา เป็นต้น ของหวาน 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ขนมเทียน ขนมมัดไต้ ขนมถ้วยฟู หรือขนมสาลี่ปุยฝ้าย ขนมเปี๊ยะ ส้ม หรือผลไม้ตามใจชอบ

6.การเผากงเต็ก

พิธีการอุทิศส่วนกุศลและส่งดวงวิญญาณให้เดินทางไปยังสวรรค์ วัฒนธรรมของคนจีนที่สืบทอดกันมากว่า 1,400 ปีมาแล้ว อีกนัยหนึ่งเชื่อว่าเป็นการส่งข้าวของ เงินทอง และเครื่องใช้ต่าง ๆ ผ่านเปลวไฟ เพื่อส่งของต่าง ๆ ไปให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ

โดย “กง” แปลว่า การกระทำ ส่วน “เต็ก” แปลว่า คุณธรรม รวมกันแปลได้ว่า การกระทำที่มีคุณธรรม ซึ่งหมายถึง การแสดงความกตัญญูของลูกหลานผ่านพิธีอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ

ในยุคแรกเป็นการเผากระดาษเงินกระดาษทอง โคมไฟ ห้องน้ำ ม้า นก และหีบเสื้อผ้า ปัจจุบันมีการต่อยอดไอเดียเผยกระดาษกงเต็กตามยุคสมัย เช่น บ้าน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเสียง รถยนต์ มือถือสมาร์ทโฟน ฯลฯ


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง