เด็กไทยสร้างชื่อเสียงแสดงความสามารถในระดับโลก ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ จากโรงเรียนอัสสัมชัญ ที่สามารถคว้าแชมป์โลก Annual CanSat Competition 2022 โดยกว่าจะได้ครองแชมป์มานั้นน้องๆ ใช้เวลาในการเตรียมตัวกันราวๆ ถึง 8 เดือน
Annual CanSat Competition 2022 คือการแข่งขันการประดิษฐ์ดาวเทียมขนาดเล็ก (CANSAT) เท่ากระป๋องเครื่องดื่ม ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นที่ เมือง Blacksburg รัฐ Virginia ประเทศสหรัฐอเมริกา คัดเลือกหาผู้ชนะเลิศ ระหว่างวันที่ 9-12 มิถุนายน พ.ศ. 2565 มีจำนวนผู้เข้าร่วมแข่งขันในรอบสุดท้าย 23 ทีม 11 ประเทศ 4 ทวีป ทั่วโลก ส่วนใหญ่ผู้เข้าแข่งขันอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย และน้องๆ จากโรงเรียนอัสสัมชัญเป็นเด็กระดับมัธยม แต่สามารถคว้ามาได้ 2 รางวัล ซึ่งมี 2 ทีมที่ได้รับรางวัลกลับมา ได้แก่
ทีม Descendere อันดับที่ 1 คว้าแชมป์โลก ด้วยคะแนน 86.2185%
รายชื่อสมาชิก ดังนี้
- ปิติภูมิ อาชาปราโมทย์
- กฤษฎา สิงหะคเชนทร์
- ธรรศวริทธิ์ เครือคล้าย
- นุชิต วิจิตรกิจจา
- กิตติภณ อมรประเสริฐกิจ
- สุวิจักขณ์ ปิยะนพโรจน์
- ฆฤณ กวีวงศ์สุนทร
- อัคคนิรุทธิ์ ปานเดช
- อาจารย์ที่ปรึกษา Joshua Staubs, Ph.D.
ทีม Gravity ได้อันดับ 7 ด้วยคะแนน 66.4924%
รายชื่อสมาชิก ดังนี้
- พุทธิพงศ์ สวัสดิบุญหนา
- ริชภูมิ อุดมพรวิรัตน์
- กฤตยชญ์ สวิง
- กฤตวัฒน์ ปุญญพัฒนกุล
- เวธน์วศิน ศิริรัตน์อัสดร
- ศุภวิชญ์ แก้วนิรัตน์
- ณรงค์ภัทร ราศรีเพ็ญงาม
- บุญฤทธิ์ ปฐมนันทพงศ์
- พศิน ตันติรัฐพงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา - ดร. พีระเมศร์ โชติกวีกิจญาดา
ครูที่ปรึกษา - มาสเตอร์ พชร ภูมิประเทศ
- มาสเตอร์ณัฐกิตติ์ ขวัญกิจพิศาล
โดยการแข่งขันทำภารกิจในปีนี้ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถไม่น้อย โจทย์คือ การติดตั้ง Tethered Payload หรือ อุปกรณ์ที่จะดีดตัวออกมาจากดาวเทียมขนาดเล็กที่เป็นภาชนะทรงกระบอก (CANSAT) มีขนาดเท่ากระป๋องเครื่องดื่ม พร้อมกันนั้นต้องมีเชือกยาว 10 เมตร ที่ติดไปกับตัวจรวดบินขึ้นสู่ท้องฟ้าที่ระดับความสูง 700 เมตร จากพื้นโลก ด้วยความเร็วเสียง (346 เมตร/วินาที) เมื่อขึ้นไปแล้วเจ้าดาวเทียมดังกล่าวก็จะทำการเก็บข้อมูลและตกลงกลับสู่พื้นด้วยร่มชูชีพ โดยผู้เข้าร่วมแข่งขันใช้เวลาในการเตรียมตัวกันทั้งหมดราวๆ ถึง 8 เดือน
ที่มา : CanSat-Rocket-Thailand, thaipost