KEY :
- ประเทศไทยตอนบน ส่วนใหญ่มีฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
- ในภาคเหนือ ปริมาณฝุ่นมีแนวโน้มลดลงในหลายพื้นที่ แต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐาน และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ คาดว่า ในช่วงหลังวันที่ 24 เม.ย. น่าจะเริ่มดีขึ้น
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ปริมาณฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน โดยทางตอนบนของภาคมีแนวโน้มลดลง
- ภาคกลาง ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่
- ภาคใต้ ปริมาณฝุ่นลดลงต่อเนื่อง
…
แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยส่วนใหญ่ในขณะนี้ ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะบริเวณประเทศไทยตอนบน
ภาคเหนือ
ในภาคเหนือ แนวโน้มของปริมาณฝุ่นที่ตรวจวัดได้ในเช้าวันนี้ ลดลงเล็กน้อยในหลายพื้นที่ แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยการลดลงของปริมาณฝุ่นในภาคเหนือมาจาก การยกตัวของอากาศที่มากขึ้นในช่วงวันที่ 20 -22 เม.ย. ร่วมกับการมีฝนในบางพื้นที่ ส่งผลให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้น้อยลง ในช่วงสั้น ๆ
โดยคาดว่า สถานการณ์ในช่วงหลังจากวันที่ 23 เม.ย. เป็นต้นไป ปริมาณฝุ่นน่าจะลดลงได้มากขึ้น จากการที่ลมระดับบนมีกำลังแรงมากขึ้น การระบายอากาศทำได้ดีขึ้น ร่วมกับการมีฝนบางแห่งในพื้นที่ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณทางตอนบนของภาคมีแนวโน้มลดลง แต่ในตอนล่างของภาคมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้สถานการณ์ในภาพรวม ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่เริ่มเป็นอันตรายต่อสุขภาพในหลายพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ในช่วงวันที่ 24 – 27 เม.ย. แนวโน้มการระบายอากาศจะทำได้ลดลง ทำให้ฝุ่นควันน่าจะสะสมได้มากขึ้น ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ในช่วงดังกล่าวต่อไป
ภาคกลาง – ภาคตะวันตก
ภาคกลางและภาคตะวันตก ยังคงมีฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ และอยู่ในเกณฑ์ที่เริ่มส่งผลกระบต่อสุขภาพ โดยในระยะนี้ แม้ว่าการระบายอากาศในพื้นที่จะอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ร่วมกับการมีรายงานจุดความร้อนบริเวณภาคกลางที่มากขึ้น ทำให้ฝุ่นควันจะสามารถสะสมตัวได้เพิ่มขึ้น
ภาคใต้
ภาคใต้แนวโน้มฝุ่นลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้สภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดีเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าในระยะนี้ อัตราการระบายอากาศจะทำได้ไม่ค่อยดีนัก แต่มีภาวะอากาศเปิด การยกตัวของอากาศทำได้ดี มีฝนตกในพื้นที่ ส่งผลให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้น้อย โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาคที่มีสภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น
…
กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศยังเกินค่ามาตรฐาน
สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล แนวโน้มยังคงใกล้เคียงกับเมื่อวานที่ผ่านมา โดยแม้ว่า ในระยะนี้บริเวณกรุงเทพฯ ปริมณฑลจะมีการระบายอกาาศที่อยู่ในเกณฑ์ดี แต่ยังคงมีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นต่อเนื่อง ทำให้สภาพอากาศส่วนใหญ่จึงยังคงมีฝุ่นสะสมตัวได้ และคุณภาพอากาศอยู่ในระดับปานกลาง – เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพในหลายพื้นที่ด้วยกัน
สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา พบพื้นที่ที่มีฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานจำนวน 37 พื้นที่ด้วยกัน ซึ่งจำนวนพื้นที่นั้นลดลงจากเมื่อวานนี้ แต่ปริมาณฝุ่นยังคงใกล้เคียงกัน
ซึ่งในช่วง 1-2 วันนี้ คาดว่า ปริมาณฝุ่นจะยังคงสูงในบางพื้นที่ และจะค่อย ๆ ดีขึ้นตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย. เป็นต้นไป
โดย 10 พื้นที่ที่พบค่าฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้แก่
เขต | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | เขตบางขุนเทียน (สถานี คพ.) | 70 |
2 | เขตคลองสาน | 62 |
3 | เขตสัมพันธวงศ์ | 61 |
4 | เขตหนองแขม | 61 |
5 | เขตปทุมวัน | 60 |
6 | เขตบางนา | 59 |
7 | เขตทวีวัฒนา | 59 |
8 | เขตบางกอกน้อย | 58 |
9 | เขตคลองเตย | 58 |
10 | เขตประเวศ | 57 |
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | รพ.แก้งสนามนาง ต.แก้งสนามนาง อ.แก้งสนามนาง จ.นครราชสีมา | 663** |
2 | รพ.บ้านหมี่ ต.บ้านหมี่ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี | 443 |
3 | รพ.สต.บ้านใหม่ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 368 |
4 | บ้านปางมะเยา หย่อมบ้านห้วยต้นโชค ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 356 |
5 | รพ.สต.บ้านงิ้วเฒ่า ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย | 350 |
6 | รพ.สต.บ้านปางมะเยา ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 332 |
7 | อบต.ป่าหุ่ง ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย | 326 |
8 | บ้านป่าแขม ต.แม่แวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 319 |
9 | บ้านหนองบัว ต.แม่แวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 309 |
10 | รพ.สต.บ้านแกน้อย จ.เชียงใหม่ | 298 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
** มีค่าฝุ่นที่เพิ่มสูงขึ้นมากผิดปรกติ รอการตรวจทานข้อมูลเพิ่มเติม
…
รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค
รายงานจุดความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาในพื้นที่ต่างในภูมิภาคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแม้จะยังไม่พุ่งสูงมากก็ตาม โดยรายงานของวันที่ 20 เม.ย. ที่ผ่านมา พบจุดความร้อนทั้งหมด 10,829 จุด
ซึ่งจำนวนจุดความร้อนที่พบในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมีจำนวนดังต่อไปนี้
- ลาว 4,581 จุด (ลดลงจาก 4,655 จุด)
- เมียนมาร์ 4,389 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 3,901 จุด)
- ไทย 876 จุด (ลดลงจาก 878 จุด)
- เวียดนาม 765 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 737 จุด)
- กัมพูชา 200 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 100 จุด)
- มาเลเซีย 18 จุด (ลดลงจาก 19 จุด)
ในพื้นที่ประเทศไทย พบจุดความร้อนในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัดจำนวน 544 จุด โดยแนวโน้มระยะนี้ พบว่า การเผาในพื้นที่ภาคเหนือมีสัดส่วนที่ลดลงและเริ่มทรงตัว ในขณะที่การเผาบริเวณภาคกลางมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับ 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงที่สุดได้แก่
จังหวัด | จุดความร้อน | |
---|---|---|
1 | เชียงราย | 130 |
2 | เชียงใหม่ | 60 |
3 | น่าน | 58 |
4 | กาญจนบุรี | 56 |
5 | กำแพงเพชร | 43 |
6 | แม่ฮ่องสอน | 37 |
7 | เพชรบูรณ์ | 30 |
8 | อุทัยธานี | 29 |
9 | นครสวรรค์ | 26 |
10 | สุพรรณบุรี | 26 |