คัดลอก URL แล้ว
PM 2.5 วิกฤติหนัก 10 จุดฝุ่นสูงสุดเกิน 800 มคก./ลบ.ม. ฝุ่นสูงสุดเกือบพันมคก.

PM 2.5 วิกฤติหนัก 10 จุดฝุ่นสูงสุดเกิน 800 มคก./ลบ.ม. ฝุ่นสูงสุดเกือบพันมคก.

KEY :

แนวโน้มฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับวิกฤติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ต่อเนื่องจนถึงบริเวณทางตอนบนของภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยเฉพาะในภาคเหนือปริมาณฝุ่น PM 2.5 ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน” มีสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้มาก ร่วมกับการเผาในพื้นที่ที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูง

รายงานการตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา พบว่า ใน 10 อันดับแรกของพื้นที่ที่มีฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศไทยนั้น มีปริมาณฝุ่นสูงกว่า 800 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรทั้งหมด

โดยเฉพาะในพื้นที่ของอ.พร้าว และ อ.เชียงดาว ในจังหวัดเชียงใหม่ ยังคงเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่น PM 2.5 สูงมาก ๆ ซึ่งในจุดตรวจวัดที่บ้านท่ามะเกี๋ยง ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ มีปริมาณฝุ่นสูงถึง 977 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ส่วนที่รพ.สต.บ้านใหม่ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 942 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร

ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือจะยังคงมีสภาวะอากาศปิด การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์อ่อน ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 14 เม.ย. ทำให้ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ น่าจะยังต้องเผชิญกับสภาวะฝุ่น PM 2.5 ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงสงกรานต์

ในขณะที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง อัตราการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน-ดี” ในช่วงวันที่ 8 -14 เม.ย. นี้ และยังคงมีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันที่เกิดขึ้นยังคงสะสมตัวได้ ซึ่งในบางพื้นที่ที่มีฝน และลมแรง ก็จะช่วยลดฝุ่นควันลงได้บ้าง

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ เฝ้าระวังฝุ่นต่อเนื่อง

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล ยังคงอยู่เกณฑ์ปานกลางถึงดี ซึ่งในระยะนี้สภาพอากาศมีแนวโน้มจะค่อย ๆ ดีขึ้น มีสภาพอากาศเปิดมากขึ้น อากาศเริ่มจะยกตัวสูงมากขึ้น ประกอบกับมีลมใต้ช่วยพัดพาฝุ่นควันไม่ให้สะสมในพื้นที่ แต่ยังคงมีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นส่งผลให้ยังคงมีฝุ่นควันสะสมตัวได้บ้าง

อย่างไรก็ตาม ในช่วงวันที่ 14 เม.ย. คาดการณ์ว่า จะมีสภาพอากาศปิดในบางพื้นที่ จึงควรเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อีกครั้ง

ซึ่งในช่วงหลังจากวันที่ 7 เม.ย.เป็นต้นไป สถานการณ์น่าจะเริ่มดีขึ้น จากการที่อากาศเริ่มกลับมายกตัวมากขึ้น ร่วมกับการมีฝนตกในบางพื้นที่

ในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา พบว่า 30 พื้นที่ ที่พบค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน โดย 10 พื้นที่ที่พบค่าฝุ่นสูงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1เขตบางขุนเทียน88
2เขตตลิ่งชัน56
3เขตสาทร55
4เขตทวีวัฒนา55
5เขตหนองแขม55
6เขตบางพลัด55
7สวนทวีวนารมย์54
8เขตปทุมวัน53
9เขตคลองสาน53
10เขตบางกอกใหญ่53

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1บ้านท่ามะเกี๋ยง
ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
977
2รพ.สต.บ้านใหม่
ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
942
3บ้านสันปอธง
ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
882
4รพ.สต.บ้านใหม่
ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
869
5รพ.สต.บ้านปางมะเยา
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
862
6บ้านหนองครก
ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
861
7บ้านห้วยส้าน
ต.สันทราย อ.พร้้าว จ.เชียงใหม่
843
8บ้านปางมะเยา หย่อมบ้านห้วยตะเคียน
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
825
9บ้านหลวง
ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
822
10บ้านหนองไฮป่าหวาย
ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
811

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

จุดความร้อนยังคงเพิ่มสูงขึ้น

สำหรับรายงานจุดความร้อนในภูมิภาคเมื่อวานทั้งวันที่ผ่านมา พบทั้งหมด 22,394 จุด ซึ่งแม้ว่าจะลดลง แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 2 หมื่นจุด โดยแบ่งเป็น

ภาพ – GISTDA

สำหรับในประเทศไทย จำนวนจุดความร้อนยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่า 3,000 จุด โดยพบในพื้นที่17 จังหวัดภาคเหนือนั้น ทั้งหมด 2,377 จุด เกาะกลุ่มกันอยู่ในหลายพื้นที่ รวมถึงบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ซึ่ง 10 จังหวัดที่มีรายงานการพบจุดความร้อนสูงที่สุดเมื่อวานที่ผ่านมา ได้แก่

จังหวัดจุดความร้อน
1เชียงใหม่302
2เชียงราย289
3แม่ฮ่องสอน281
4เลย232
5น่าน230
6เพชรบูรณ์213
7พิษณุโลก201
8ลำปาง153
9ตาก151
10ชัยภูมิ138

ข่าวที่เกี่ยวข้อง