คัดลอก URL แล้ว
PM 2.5 ยังวิกฤติ ปริมาณฝุ่นทะลุ 900 / จุดความร้อนในภูมิภาคเกิน 2 หมื่นจุด

PM 2.5 ยังวิกฤติ ปริมาณฝุ่นทะลุ 900 / จุดความร้อนในภูมิภาคเกิน 2 หมื่นจุด

KEY :

หลายพื้นที่ในประเทศไทยมีปริมาณฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ที่ยังคงมีปริมาณฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นหลายพื้นที่ต่อเนื่อง และสูงอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จากรายงานจุดตรวจวัดของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา พบว่า ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ยังคงเป็นพื้นที่ที่มีฝุ่นสูงมากที่สุดต่อเนื่อง

โดยเฉพาะที่อ.เชียงดาว อ.พร้าว ซึ่งในจุดตรวจวัดที่รพ.สต.บ้านใหม่ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ พบว่า มีปริมาณฝุ่น PM 2.5 สูงถึง 907 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร สูงที่สุดในประเทศไทย

ซึ่งผลที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เป็นผลมาจากการที่บริเวณภาคเหนือยังคงมีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน/ไม่ดี” ในระยะนี้ จนถึง 13เม.ย. มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น อากาศไม่ยกตัว และมีกระแสลมอ่อน ร่วมกับการเผาที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกพื้นที่ โดยมีจำนวนจุดความร้อนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ฝุ่นควันจึงสะสมตัวได้มากขึ้น

เช่นเดียวกับในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่การระบายอากาศในระยะนี้อยู่ในเกณฑ์ “อ่อน/ดี” เช่นกัน มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้มีการสะสมตัวของฝุ่นควันได้มากขึ้น โดยคาดว่า ในช่วงหลังจากวันที่ 8 เม.ย. สถานการณ์น่าจะเริ่มดีขึ้น อากาศยกตัวได้มากขึ้น ร่วมกับการมีฝนในพื้นที่

สำหรับภาคกลาง สถานการณ์ใกล้เคียงกับในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ในระยะนี้ มีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์อ่อน/ดี มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้มากขึ้น

ในขณะที่ด้านของภาคตะวันตก ยังคงมีค่าฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับที่สูงต่อเนื่อง จากสภาพอากาศปิด อากาศไม่ยกตัว และมีการเผาในพื้นที่ที่ยังคงสูงอยู่ ทำให้ฝุ่นควันมีการสะสมตัวมากขึ้น

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ เฝ้าระวังฝุ่นต่อเนื่อง

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ – ปริมณฑล ในระยะนี้ พบว่า มีหลายพื้นที่มีปริมาณฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน เนื่องจากภาวะอากาศค่อนข้างปิด และมีอากาศไม่ยกตัวสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ฝุ่นควันสามารถสะสมตัวได้ดี

ซึ่งในช่วงหลังจากวันที่ 7 เม.ย.เป็นต้นไป สถานการณ์น่าจะเริ่มดีขึ้น จากการที่อากาศเริ่มกลับมายกตัวมากขึ้น ร่วมกับการมีฝนตกในบางพื้นที่

ในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา พบว่า 30 พื้นที่ ที่พบค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน โดย 10 พื้นที่ที่พบค่าฝุ่นสูงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1เขตบางขุนเทียน75
2เขตหนองจอก61
3เขตบางนา59
4เขตดินแดง58
5เขตบึงกุ่ม58
6เขตประเวศ57
7เขตปทุมวัน56
8เขตคลองสาน56
9เขตคลองเตย56
10เขตดินแดง55

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1รพ.สต.บ้านใหม่
ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
907
2บ้านหลวง
ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
831
3บ้านหนองครก
ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
813
4บ้านท่ามะเกี๋ยง
ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
790
5บ้านหนองไฮป่าหวาย
ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
780
6บ้านสันปอธง
ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
777
7รพ.สต.บ้านปางมะเยา
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
756
8บ้านห้วยส้าน
ต.สันทราย อ.พร้้าว จ.เชียงใหม่
735
9บ้านหนองผา
ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
733
10บ้านป่าตึงงาม
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
725

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

จุดความร้อนยังคงเพิ่มสูงขึ้น

สถานการณ์จุดความร้อนในภูมิภาคยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลับมาทะลุ 2 หมื่นจุดอีกครั้ง โดยจุดความร้อนทั้งในและนอกประเทศ พบทั้งหมด 23,726 จุด แบ่งเป็น

ภาพ – GISTDA

สำหรับในประเทศไทยรายงานจุดความร้อนที่พบยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบเกาะกลุ่มกันอยู่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

สำหรับในพื้นที่17 จังหวัดภาคเหนือนั้น พบจุดความร้อนจำนวน 3,074 จุด โดย 10 จังหวัดที่มีรายงานการพบจุดความร้อนสูงที่สุดเมื่อวานที่ผ่านมา ได้แก่

จังหวัดจุดความร้อน
1เชียงใหม่420
2น่าน377
3เลย334
4แม่ฮ่องสอน313
5เชียงราย266
6พิษณุโลก221
7เพชรบูรณ์209
8ลำปาง207
9พะเยา202
10ตาก184

ข่าวที่เกี่ยวข้อง