สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่ลดลงจากในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา โดยศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ณ 07:00 น พบว่า
ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศไทยเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมง พบเกินค่ามาตรฐานในจ.ปทุมธานี จ.นนทบุรี กรุงเทพฯ จ.นครปฐม จ.สมุทรปราการ จ.สมุทรสาคร จ.ลำปาง จ.พิษณุโลก จ.อ่างทอง จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม และ จ. หนองคาย
รวมทั้งสิ้น 12 จังหวัด ซึ่งมีจำนวนพื้นที่ที่ตรวจพบค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานลดลง แต่ยังคงมีหลายพื้นที่ที่ปริมาณฝุ่นยังอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐาน โดย
- ภาคเหนือ
เกินค่ามาตรฐาน 2 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 17.9 – 42.4 มคก./ลบ.ม. - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 16.4 – 64.1 มคก./ลบ.ม. - ภาคกลางและตะวันตก
เกินค่ามาตรฐาน 3 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 27.5 – 49.9 มคก./ลบ.ม. - ภาคตะวันออก
ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 9.3 – 31.5 มคก./ลบ.ม. - ภาคใต้
ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 8.2 – 21.5 มคก./ลบ.ม. - กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. เกินค่ามาตรฐาน 14 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 20.3 – 59.3 มคก./ลบ.ม.
โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ คาดว่า ในช่วงวันเสาร์ – อาทิตย์นี้ สถานการณ์ฝุ่นจะยังคงอยู่ในระดับสีส้ม หรือ เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ก่อนที่จะลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (ระดับสีเหลือง) และลดลงอยู่ในระดับสีเขียวในช่วงปลายสัปดาห์หน้า ที่สภาพอากาศจะเปิดมากขึ้น มีการระบายอากาศดีขึ้น
เช่นเดียวกัในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ที่คาดว่า สภาพอากาศจะเปิดมากขึ้น มีการระบายอากาศที่ดีขึ้นในช่วงตั้งแต่วันที่ 17-23 ธ.ค. นี้
ส่วนรายงานการตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 รายชั่วโมงโดยศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.00 น. เป็นไปในแนวทางใกล้เคียงกันคือ พื้นที่ที่มีฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานมีแนวโน้มลดลง (สีส้ม) แต่ยังคงอยู่ในระดับสีเหลืองอีกหลายพื้นที่
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | รพ.สต.เวินพระบาท ต.เวินพระบาท อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม | 243 |
2 | รพ.บ้านหมี่ ต.บ้านหมี่ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี | 230 |
3 | รพ.สต.บ้านคู่สร้าง จ.สมุทรปราการ | 131 |
4 | จุดตรวจที่ 2 (ช้าฟเนอร์ อีเอ็มซี) ต.บ้านกลาง อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน | 98 |
5 | รร.บ้านปากเหมือง ต.ขัวมุง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ | 96 |
6 | รพ.ไชยปราการ ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ | 93 |
7 | ชุมชนสวนดอก ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ | 93 |
8 | รพ.สต.บ้านพราน ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ | 93 |
9 | บ้านสหกรณ์แปลง2 ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 93 |
10 | รร.สบเมาะวิทยา หมู่บ้านสบเมาะ ต.สบป้าด อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง | 92 |
ไทยพบจุดความร้อนเพิ่มสูงขึ้น
ในขณะที่รายงานจุดความร้อนที่พบในภูมิภาค จาก GISTDA นั้น พบว่า ในประเทศไทยจำนวนจุดความร้อนที่พบมีทิศทางที่ลดลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อ โดยยังคงพบอยู่จำนวน 102 จุด กระจายตัวบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งเป็น
- พื้นที่เกษตร 64 จุด
- พื้นที่ สปก. 18 จุด
- พื้นที่ชุมชนและอื่น ๆ 12 จุด
- พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 6 จุด
- พื้นที่ริมทางหลวง 2 จุด