คัดลอก URL แล้ว

PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานหลายจุด / ภาคกลางอ่วม ฝุ่นเยอะ – เผาเยอะ

สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในประเทศไทยกลับมามีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น โดยศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ณ 07:00 น พบว่า

ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศไทยเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมง พบเกินค่ามาตรฐานในจ.ปทุมธานี กรุงเทพฯ จ.นนทบุรี จ.นครปฐม จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ จ.น่าน จ.ลำปาง จ.ลำพูน จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก จ.ตาก จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ จ.นครสวรรค์ จ.อุทัยธานี จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.ลพบุรี จ.อ่างทอง จ.สุพรรณบุรี จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม จ.ชลบุรี จ.ระยอง และ จ. เลย

รวมทั้งสิ้น 28 จังหวัด ซึ่งในภาพรวมของแต่ละภาพ ผลการตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 เฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมงเป็นพบว่า

ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ คาดว่า ปริมาณฝุ่นจะยังคงอยู่ในระดับสีส้มต่อเนื่องไปอีกจนถึง 17 ธ.ค. นี้ เนื่องจากในช่วงตั้งแต่วันที่ 12 – 20 ธ.ค. สภาพอากาศมีการระยายอากาศอยู่ในเกณฑ์อ่อน ถึงไม่ดี สภาพอากาศใกล้ผิวพื้นค่อนข้างปิด ซึ่งพื้นที่บริเวณภาคกลางมีสภาพอากาศใกล้เคียงกัน

สำหรับบริเวณภาคเหนือ มีสภาพอากาศใกล้ผิวพื้นค่อนข้างปิด การระบายอากาศทำได้ไม่ดี มีการสะสมตัวของฝุ่นละอองได้ อย่างไรก็ตาม การมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ยังคงสามารถช่วยลดการสะสมตัวของฝุ่นในอากาศลงได้บ้าง ทางด้านตะวันตกของภาคเหนือ

ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รายงานข้อมูลการตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ณ เวลา 07.00 น. พบว่า พื้นที่บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล สามารถตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กได้สูงมากกว่า ในพื้นที่อื่น ๆ

ส่วนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวโน้มที่ลดลง

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 07.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1บ้านใหม่ปูเลย
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
255
2บ้านทุ่งห้า ต.ป่าตุ้ม
อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
255
3รพ.บ้านหมี่
ต.บ้านหมี่ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
215
4รพ.สต.ท่าไม้
ต.ท่าไม้ อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร
136
5สสอ.ยางสีสุราช
ต.ยางสีสุราช อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม
118
6รพ.สต.บึงกอก
ต.บึงกอก อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
117
7รพ.สต.โชคชัยพัฒนา
ต.คลองลานพัฒนา อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร
113
8สำนักงานเทศบาลเมืองบ้านโป่ง
อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
102
9กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
ม.มหิดล ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
100
10ตึกผู้ป่วยนอก (OPD) รพ.บ้านด่านลานหอย
ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
98
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ไทยพบจุดความร้อนเพิ่มสูงขึ้น

ในขณะที่รายงานจุดความร้อนที่พบในภูมิภาค พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนจุดความร้อนสูงที่สุด คือ 259 จุด โดยพบในพื้นที่เกษตรจำนวน 175 จุด, เขตพื้นที่สปก. 32 จุด, ในพื้นที่ชุมชนและอื่น ๆ 33 จุด พื้นที่ป่าสงวน 14 จุด พื้นที่ริมทางหลวง 3 จุด และพื้นที่ป่าอนุรักษ์จำนวน 2 จุด

ซึ่งพื้นที่ที่พบการจุดความร้อนมากที่สุดเป็นบริเวณภาคเหนือตอนล่าง-ภาคกลางตอนบน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง