คัดลอก URL แล้ว
แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 ในภาคอีสานสูงขึ้น

แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 ในภาคอีสานสูงขึ้น

KEY :

ภาคเหนือ

แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือในภาพรวมยังคงใกล้เคียงกับเมื่อวานที่ผ่านมา แต่มีบางพื้นที่ที่มีฝุ่นเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดน่าน และทางตอนล่างของภาค

โดยในระยะนี้ ในพื้นที่ภาคเหนือ การระบายอากาศยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ค่อยดีนัก มีภาวะชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นค่อนข้างปิด แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ที่ช่วยลดฝุ่นควันที่สะสมตัวในอากาศได้บางส่วน

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– เช็คพื้นที่เตรียมรับมือ “พายุฤดูร้อน” 24 – 26 เม.ย.นี้ – ฝน – ลม – ลูกเห็บ

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สถานการณ์ฬนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มของฝุ่นเพิ่มสูงขึ้น โดยบริเวณด้านตะวันออกของภาคที่ติดกับประเทศลาว แม้ว่าในระยะนี้การระบายอากาศจะอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี แต่มีภาวะชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นค่อนข้างปิด ทำให้ฝุ่นควันยังคงสะสมตัวได้

ซึ่งในช่วงก่อนหน้านี้ มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลให้ฝุ่นควันมีความเข้มข้นลดลง แต่เมื่อฝนเริ่มลดลง ทำให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้มากขึ้น

ภาคกลาง – ภาคตะวันตก

สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก แนวโน้มสภาพาอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าในระยะนี้การระบายอากาศจะอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างอ่อน และชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นค่อนข้างปิด แต่จากการที่ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และกระแสลม ช่วยลดการสะสมตัวของฝุ่นลงได้

แต่ในช่วงวันที่ 9 -10 พ.ค. คาดว่า การระบายอากาศจะลดลงและทำได้ไม่ดีนัก จึงควรเฝ้าติดตามในช่วงดังกล่าว ซึ่งอาจจะมีฝุ่น PM 2.5 สูงขึ้นได้ในช่วงดังกล่าว

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ

พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในระยะนี้สภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี – ดีมาก เนื่องจาก สภาพอากาศเปิดมากขึ้น อากาศยกตัวสุงขึ้น ร่วมกับมีกระแสลมใต้ที่มีกำลังแรง ช่วยพัดพาฝุ่นควันไม่ให้สามารถสะสมตัวได้

โดยในช่วง 4-11 พ.ค. แนวโน้มการระบายอากาศจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ต่อเนื่อง ก่อนที่จะเริ่มลดลงในวันที่ 12 พ.ค. แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดี

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1รร.บ้านกลาง หมู่บ้านบ้านกลาง
ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
193
2ตลาดสดบ้านหล่ายแก้ว
ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
156
3รพ.สต.โคกเจริญ
ต.โคกสาร อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ
134
4รพ.สต.เมืองเก่า
ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย
109
5รพ.ชานุมาน
ต.ชานุมาน อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ
108
6หมู่ 9 ต.คำน้ำแซบ
อ.วารินชำราบจ. อุบลราชธานี
107
7สสอ.หัวตะพาน
ต.รัตนวารี อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ
103
8รพ.ท่าสองยาง
ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
100
9รพ.บ้านม่วง
ต.ม่วง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร
94
10รพ.สมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา
ต.สวาท อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร
93

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค

จำนวนจุดความร้อนที่พบในภูมิภาคลดลงต่อเนื่อง โดยพบทั้งหมด 1,615 จุด โดยเฉพาะในประเทศเมียนมาร์ที่ลดลงอย่างมากในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา แต่ในพื้นที่ของประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม พบว่า มีจุดความร้อนเพิ่มขึ้น โดยพบในประเทศต่าง ๆ ดังนี้

จำนวนจุดความร้อนที่พบในประเทศไทยมีจำนวนลดลงจากเมื่อวานค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือที่ลดลงไปมากกว่าครึ่ง เหลือเพียง 179 จุด กระจายอยู่ในพื้นที่ 17 จังหวัด มีพบเกาะกลุ่มเบาบางอยู่ในบางพื้นที่ของ จ.ลำปาง แพร่ และน่าน

ในขณะที่พื้นที่ภาคกลางมีแนวโน้มที่พบเกาะกลุ่มหนาแน่น ในพื้นที่จ.สุพรรณบุรี ลพบุรี โดย 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงที่สุดได้แก่

จังหวัดจุดความร้อน
1แพร่19
2สุพรรณบุรี19
3แม่ฮ่องสอน17
4พิจิตร16
5ลำปาง16
6น่าน15
7กำแพงเพชร15
8เชียงใหม่14
9นครราชสีมา13
10เชียงราย13

ข่าวที่เกี่ยวข้อง