คัดลอก URL แล้ว
วิธีคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ

วิธีคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ

สำหรับวิธีคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้ง 2566 เมื่อ กกต. ได้รับรายงานผลรวมคะแนนแบบบัญชีรายชื่อจากผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจําจังหวัดแล้ว ให้ดําเนินการคํานวณสัดส่วนเพื่อหาผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อดังต่อไปนี้

วิธีคํานวณ จํานวน ส.ส. แบบ บัญชีรายชื่อ

1.รวมผลคะแนนทั้งหมดที่ทุกพรรคการเมืองได้รับจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อทั้งประเทศ
2.นำคะแนนรวมทั้งหมดจากทุกพรรคการเมือง (จากข้อ 1) หารด้วย 100 = คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน
3.นำคะแนนรวมแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับ หารด้วย คะแนนเฉลี่ย (จากข้อ 2) = ผลลัพธ์ที่เป็นจำนวนเต็มคือ จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ที่พรรคการเมืองนั้นได้รับ
4.กรณีที่จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้รับรวมกันทุกพรรคการเมือง มีจำนวนไม่ครบ 100 คน ให้ดำเนินการ ดังนี้

พรรคการเมืองใดมีเศษจำนวนมากที่สุดได้รับจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่ออีกหนึ่งคน เรียงตามลำดับจนกว่าจะมีจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อทุกพรรคการเมือง รวมกันครบจำนวน 100 คน

5.หากการดำเนินการตามข้อ 4 มีพรรคการเมืองที่มีเศษเท่ากันซึ่งจะทำให้จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเกินจำนวน 100 คน ให้ตัวแทนของพรรคการเมือง ที่มีเศษเท่ากันจับสลากตามวันและเวลา ที่ กกต. กำหนด เพื่อให้ได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อครบจำนวน

ยกตัวอย่างการคำนวณ

กรณีผลคะแนนรวม ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อทั้งประเทศ คือ 40,000,000 จะคำนวณดังนี้

ตัวอย่าง

รวม ส.ส.บัญชีรายชื่อ 98 คน

กรณีคำนวณแล้วยังได้ ส.ส.ไม่ครบ 100 คน ให้เรียงเศษคะแนนของทุกพรรคโดยใช้ทศนิยม 4 ตำแหน่ง พรรคที่ได้ทศนิยมมากที่สุดได้เพิ่ม 1 คน เรียงลำดับจนครบ 100 คน

ดังนั้นในกรณีตัวอย่างนี้ พรรคการเมือง A และ พรรคการเมือง C จึงได้รับ ส.ส.เพิ่มอีกพรรคละ 1 คน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง