คัดลอก URL แล้ว
ฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือเพิ่มขึ้น จุดความร้อนในพื้นที่เพิ่มขึ้น

ฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือเพิ่มขึ้น จุดความร้อนในพื้นที่เพิ่มขึ้น

KEY :

ภาคเหนือ

ในพื้นที่ภาคเหนือยังคงต้องติดตามสถานการณ์เพิ่มเติม เนื่องจากในขณะนี้ ปริมาณฝุ่นมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานที่ผ่านมาในหลายพื้นที่ ซึ่งในระยะนี้ การระบายอากาศในพื้นที่ภาคเหนือยังคงอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างอ่อน

แม้ว่า ในช่วงวันที่ 29 -30 เม.ย. นี้ จะมีอัตราการระบายอากาศที่สูงขึ้น แต่จากจำนวนจุดความร้อนในพื้นที่ที่มีแนวโน้มกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งในภาคเหนือ โดยเฉพาะเชียงราย เชียงใหม่ น่าน แม่ฮ่องสอน และตาก จึงทำให้ในพื้นที่เหล่านี้ มีแนวโน้มที่ฝุ่น PM 2.5 เริ่มสูงขึ้นอีกครั้ง

นอกจากนี้ ในช่วงวันที่ 1 พ.ค. เป็นต้นไป แนวโน้มอัตราการระบายอากาศในภาคเหนือมีแนวโน้มที่จะลดลงต่อเนื่อง และอยู่ในเกณฑ์ อ่อน – ไม่ดี หากยังคงมีจุดความร้อนเพิ่มขึ้นในช่วงดังกล่าว คาดว่า จะส่งผลให้ฝุ่นควันกลับมาพุ่งสูงขึ้นในระดับวิกฤติอีกครั้ง

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– เช็คพื้นที่เตรียมรับมือ “พายุฤดูร้อน” 24 – 26 เม.ย.นี้ – ฝน – ลม – ลูกเห็บ

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ลดลงจากเมื่อวานที่ผ่านมา โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของภาคติดกับประเทศลาวมีปริมาณลดลง และมีสภาพอากาศดีขึ้น หลังจากที่พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ทำให้ฝุ่นควันไม่สามารถสะสมตัวได้ มีปริมาณที่ลดลง จึงถือว่า ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่เกิดขึ้นในขณะนี้

เนื่องจากในช่วง 29 เม.ย. – 6 พ.ค. บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างอ่อน มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ที่ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ฝุ่นสามารถสะสมตัวได้ จึงจะเห็นในบางพื้นที่มีค่าฝุ่นที่สูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ

ภาคกลาง – ภาคตะวันตก

บริเวณภาคกลางนั้น แนวโน้มสภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี และมีปริมาณฝุ่นลดลง หลายพื้นที่ แม้ว่าการระบายอากาศในพื้นที่ยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างอ่อน มีภาวะอากาศใกล้ผิวพื้น เปิด-ปิดสลับกัน แต่จากการที่มีพายุฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ฝุ่นควันไม่สามารถสะสมตัวได้ และลดปริมาณฝุ่นลงได้ค่อนข้างมาก

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ

หลังจากที่ในช่วง 1-2 วันนี้ มีฝนตกเพิ่มขึ้นในบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นผลมาจากการมีพายุฤดูร้อน ทำให้ปริมาณฝุ่น PM 2.5 มีแนวโน้มลดลง ทำให้คุณภาพอากาศในพื้นที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี – ดีมาก

โดยในระยะนี้ สภาพอากาศเปิดมากขึ้น (ภาวะอากาศใกล้ผิวพื้นค่อนข้างปิด) ยกตัวสูงขึ้น รวมถึงมีลมใต้ที่มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ฝุ่นสะสมตัวได้น้อยลง

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1รพ.สต.บ้านใหม่
ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
418
2รพ.สต.บ้านปางมะเยา
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
379
3บ้านหนองผา
ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
368
4บ้านป่าตึงงาม
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
295
5รพ.สต.บ้านแกน้อย
จ.เชียงใหม่
253
6รพ.เซกา
ต.เซกา อ.เซกา จ.บึงกาฬ
240
7รพ.สต.แม่นาจร
ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
238
8บ้านม่วงคำ
ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
235
9บ้านออน
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
222
10บ้านสันตะผาบ
ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
216

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค

จำนวนจุดความร้อนในภูมิภาคเมื่อวานที่ ผ่านมา ( 30 เม.ย.) จาก GISTDA พบว่า มีจำนวนลดลง โดยพบทั้งหมด 3,094 จุด โดยพบในประเทศต่าง ๆ ดังนี้

สำหรับในประเทศไทย จุดความร้อนทีพบนั้นกลับมามีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ที่กลับมาสูงขึ้น โดยวานนี้ในพื้นที่ 361 จุด

สำหรับ 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงที่สุดได้แก่

จังหวัดจุดความร้อน
1เชียงราย76
2เชียงใหม่70
3น่าน57
4แม่ฮ่องสอน27
5ตาก27
6สกลนคร17
7แพร่17
8อุตรดิตถ์17
9สุโขทัย13
10เลย12

ข่าวที่เกี่ยวข้อง