KEY :
- แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 ส่วนใหญ่ของประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น ปริมาณฝุ่นลดลง
- โดยเฉพาะในภาคเหนือที่ปริมาณฝุ่นลดลงค่อนข้างมาก แม้ว่า หลายพื้นที่จะยังคงมีฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานก็ตาม
- ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก สภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี
…
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในภาพรวมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก ที่พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี มีบางพื้นที่ที่ยังคงมีฝุ่นสะสมตัวอยู่บ้าง ในขณะที่สถานการณ์ในภาคเหนือดีขึ้น ฝุ่นลดปริมาณลดงค่อนข้างมาก แม้ว่าจะยังคงสูงเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่ก็ตาม
ภาคเหนือ
สำหรับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือวันนี้ มีทิศทางที่ดีขึ้น ปริมาณฝุ่นลดลงในหลายพื้นที่ ส่งผลให้หลายพื้นที่มีสภาพอากาศที่ดีขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเมื่อวานที่ผ่านมา แม้ว่าจะยังคงมีหลายจุดที่พบว่า มีค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานอยู่ก็ตาม
แต่สถานการณ์ก็ถือว่า มีทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งในช่วงวันที่ 27 เม.ย. – 4 พ.ค. มีแนวโน้มการระบายอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าในช่วงก่อนหน้านี้ แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน” โดยมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง หลายพื้นที่ เป็นปัจจัยช่วยให้ปริมาณฝุ่นลดลงได้
ในขณะที่จำนวนจุดความร้อนในพื้นที่มีแนวโน้มลดลง
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– เช็คพื้นที่เตรียมรับมือ “พายุฤดูร้อน” 24 – 26 เม.ย.นี้ – ฝน – ลม – ลูกเห็บ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น สถานการณ์ในภาพรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี-ดีมาก เป็นส่วนใหญ่ มีบางพื้นที่ที่พบว่า มีสภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง แม้ว่า ในช่วง 27 เม.ย. – 3 พ.ค. สภาพอากาศยังคงอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน-ดี” แต่การที่มีฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ รวมถึงกระแสลมแรงบางแห่ง ส่งผลให้ฝุ่นควันไม่สามารถสะสมตัวได้มากนัก
นอกจากนี้ จากการคาดการณ์ว่า จะมีฝนตกเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์นี้ จึงคาดว่า สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ น่าจะยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีเป็นส่วนใหญ่
ภาคกลาง – ภาคตะวันตก
สำหรับบริเวณภาคกลางและภาคตะวันตกนั้น ส่วนใหญ่สภาพอากาศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี มีบางพืันที่ที่พบว่า มีปริมาณฝุ่นเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของภาคกลาง ต่อเนื่องภาคตะวันตก และภาคกลางตอนบนบางส่วน
ซึ่งในระยะนี้ การระบายอากาศจะอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน-ดี” รวมถึงมีสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ทำให้ฝุ่นควันยังคงสะสมตัวได้ แต่ด้วยสภาพอากาศที่มีฝนฟ้าคะนอง กระแสลมแรง ทำให้ฝุ่นควันบางส่วนได้ถูกชะล้าง หรือถูกพัดกระจายออกไป
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น
…
กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ
สำหรับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพ และปริมณฑล ในวันนี้ มีแนวโน้มสูงขึ้นจากเมื่อวานที่ผ่านมาในหลายพื้นที่ แม้ว่า ภาพรวมในวันนี้ สภาพอากาศยังอยู่ในเกณฑ์ดี – ปานกลาง ก็ตาม
โดยสาเหตุมาจากสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น สลับกับภาวะอากาศเปิด และยกตัว ทำให้ในบางพื้นที่จึงมีฝุ่นควันสะสมได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การที่มีฝนและลมแรง ยังคงเป็นปัจจัยที่ช่วยลดการสะสมตัวของฝุ่นละอองในอากาศได้
แนวโน้มในช่วง 27 เม.ย. – 3 พ.ค. สภาพอากาศนั้นคาดว่า น่าจะดีขึ้นจากการที่อากาศมีแนวโน้มที่จะลอยตัวสูงขึ้น มีกระแสลมใต้ที่มีกำลังแรง ช่วยพัดฝุ่นไม่ให้สะสมในพื้นที่ได้
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | บ้านใหม่ปูเลย ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ | 177 |
2 | บ้านหนองบัว ต.แม่แวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 170 |
3 | บ้านป่าแขม ต.แม่แวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 161 |
4 | บ้านห้วยทราย ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 161 |
5 | รพ.สต.บ้านปางมะเยา ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 160 |
6 | รพ.สต.บ้านใหม่ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 155 |
7 | มทร.ล้านนา (ดอยสะเก็ด) ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ | 153 |
8 | รพ.ลำพูน ต.ต้นธง อ.เมือง จ.ลำพูน | 151 |
9 | บ้านป่าบง ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 147 |
10 | บ้านหนองผา ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 141 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
…
รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค
สำหรับรายงานจุดความร้อนจาก GISTDA ที่พบเมื่อวานที่ผ่านมาทั้งหมด 3667 จุดในภูมิภาค ลดลงจากวันก่อนหน้าที่พบจุดความร้อนมากกว่า 4 พันจุด ซึ่งจำนวนจุดความร้อนที่พบในภูมิภาคมีจำนวนลดลง ไม่สูงเหมือนช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
โดยพบในประเทศต่าง ๆ ดังนี้
- เมียนมาร์ 2,626 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 1,833 จุด)
- ลาว 544 จุด (ลดลงจาก 1,268 จุด)
- ไทย 336 จุด (ลดลงจาก 500 จุด)
- เวียดนาม 67 จุด (ลดลงจาก 248 จุด)
- กัมพูชา 62 จุด (ลดลงจาก 204 จุด)
- มาเลเซีย 32 จุด ( เพิ่มขึ้นจาก 24 จุด)
แนวโน้มจุดความร้อนในประเทศไทยลดลงค่อนข้างมาก จากจำนวน 500 จุด ลดลงเหลือ 336 จุด แม้ว่าส่วนใหญ่จะยังคงอยู่ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือก็ตาม ซึ่งในระยะนี้ จะพบว่า บริเวณพื้นที่มีภาคกลาง มีการพบจุดความร้อนเกาะกลุ่มกันพอสมควร
โดยพบจุดความร้อนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 243 จุด สำหรับ 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงที่สุดได้แก่
จังหวัด | จุดความร้อน | |
---|---|---|
1 | เชียงใหม่ | 61 |
2 | แม่ฮ่องสอน | 52 |
3 | เชียงราย | 49 |
4 | ลำปาง | 18 |
5 | พะเยา | 15 |
6 | สุพรรณบุรี | 12 |
7 | น่าน | 11 |
8 | นครปฐม | 11 |
9 | ตาก | 11 |
10 | พระนครศรีอยุธยา | 11 |