คัดลอก URL แล้ว
ภาคเหนือ PM 2.5 ยังน่าเป็นห่วง กลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง

ภาคเหนือ PM 2.5 ยังน่าเป็นห่วง กลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง

KEY :

ภาพรวมของสถานการณ์ฝุ่น PM 25 ในพื้นที่ประเทศไทยส่วนใหญ่ลดลง โดยเฉพาะในพื้นที่กภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ซึ่งเป็นผลมาจากการเกิดพายุฤดูร้อน ที่มีฝนฟ้าคะนองและลมแรงเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ช่วยลดปริมาณฝุ่นที่สะสมตัวลงได้ แต่ในพื้นที่ภาคเหนือยังคงน่าเป็นห่วง

ภาคเหนือ

สถานการณ์ฝุ่น pM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีกลับมาเป็นช่วงขาขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ลดลงไปในช่วงก่อนห้านี้ โดยอัตราการระบายอากาศยังคงอยู่ในเกณฑ์ “ไม่ดี-อ่อน” มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นต่อเนื่อง ในช่วง 26 เม.ย. – 4 พ.ค.

นอกจากนี้ จำนวนจุดความร้อนที่เกิดขึ้น ทั้งในพื้นที่ภาคเหนือ และในเมียนมาร์ กลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง แม้ว่า หลายพื้นที่จะมีฝนฟ้าคะนอง และลมแรง ที่ช่วยลดปริมาณฝุ่นลงได้บ้างก็ตาม แต่ยังคงมีผลกระทบต่อสภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– เช็คพื้นที่เตรียมรับมือ “พายุฤดูร้อน” 24 – 26 เม.ย.นี้ – ฝน – ลม – ลูกเห็บ

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หลังจากที่เมื่อวานที่ผ่านมา บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณฝุ่นเพิ่มสูงขึ้น ในเช้าวันนี้ พบว่า สภาพอากาศในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

แม้ว่า ในระยะนี้ การระบายอากาศในพื้นที่จะมีแนวโน้มที่ลดลง อยู่ในเกณฑ์ “อ่อน-ดี” มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นต่อนเื่องก็ตาม แต่พายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่เกิดขึ้น ช่วยลดปริมาณฝุ่นที่สะสมตัวในพื้นที่ได้มาก

ภาคกลาง – ภาคตะวันตก

สำหรับในพื้นที่บริเวณภาคกลาง และภาคตะวันตกได้รับอิทธิพลจากการเกิดพายุฤดูร้อน ซึ่งมีฝนฟ้าคะนอง ลมแรงในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ฝุ่นควันที่สะสมในพื้นที่ไม่สามารถสะสมตัวได้

และในเช้าวันนี้ สภาพอากาศบริเวณภาคกลางและภาคตะวันตกมีสภาพอากาศดีขึ้น แม้ว่า การระบายอากาศจะอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน-ดี” รวมถึงมีสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นก็ตาม

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ ฝุ่นเพิ่มขึ้น

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงนี้ มีฝนฟ้าคะนอง และลมแรง ส่งผลให้ฝุ่นควันไม่สามารถสะสมตัวได้ มีสภาพอากาศเปิดและยกตัวได้ดี อีกทั้งมีกระแสลมใต้ที่มีกำลังแรง ช่วยพัดฝุ่นกระจายออกนอกพื้นที่ ซึ่งคาดว่า สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล จะอยู่ในเกณฑ์ตีในตลอดช่วงจนถึง 4 พ.ค.

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1บ้านสหกรณ์ดำริ
ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
356
2รพ.สต.บ้านปางมะเยา
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
339
3บ้านปางมะเยา
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
243
4รพ.ท่าสองยาง
ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
242
5บ้านป่าอ้อ
ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
239
6รพ.สต.บ้านใหม่
ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
211
7บ้านห้วยกุ
ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
211
8บ้านแม่ปาน
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
208
9บ้านดอยสันเกี๋ยง
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
206
10บ้านห้วยบงเหนือ
ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
206

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค

จำนวนจุดความร้อนในภูมิภาคที่พบเมื่อวานที่ผ่านมา ( 25 เม.ย. ) กลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่มีแนวโน้มลดลงในช่วง 2-3 วันก่อนหน้านี้ โดยพบทั้งหมด 4077 จุด เพิ่มขึ้นกว่า 1 พันจุด แบ่งเป็น

ในประเทศไทยนั้น รายงานจุดความร้อนที่พบเมื่อวานที่ผ่านมา กลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง เมื่อเทียบกับวันก่อนหน้าที่พบเพียง 289 จุดเท่านั้น โดยพบในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ 330 จุด เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้าที่พบเพียง 163 จุด

สำหรับ 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงที่สุดได้แก่

จังหวัดจุดความร้อน
1เชียงราย52
2เชียงใหม่44
3น่าน31
4อุตรดิตถ์25
5พะเยา25
6เพชรบูรณ์21
7พิจิตร19
8พิษณุโลก19
9อุทัยธานี19
10นครสวรรค์18

ข่าวที่เกี่ยวข้อง