คัดลอก URL แล้ว
อีสาน PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น ส่วนเหนือยังวิกฤติต่อเนื่อง

อีสาน PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น ส่วนเหนือยังวิกฤติต่อเนื่อง

KEY :

แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยในวันนี้ ( 10 เม.ย.) สถานการณ์ทางด้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ปริมาณฝุ่นกลับมาเพิ่มสูงขึ้นหลายพื้นที่และอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหลายจุดด้วยกัน

ซึ่งในช่วงวันที่ 9-11 เม.ย. นี้ อัตราการระบายอากาศในพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำได้ไม่ดีนัก มีภาวะอากาศปิดใกล้พื้นผิวต่อเนื่อง แต่ในช่วงก่อนหน้านี้ อัตราการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่า มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น จากกระแสลมแรง และฝน ช่วยลดการสะสมตัวของฝุ่นลงได้

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับในพื้นที่ภาคเหนือ แม้ว่าแนวโน้มของปริมาณฝุ่นจะลดลง แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ และอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยจากรายงานการตรวจวัด ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เวลา 08.00 น.ที่ผ่านมา พบว่า

ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ยังคงเป็นพื้นที่ที่พบตรวจวัดปริมาณฝุ่นได้มากที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือ และสูงที่สุดประเทศไทย ซึ่งในวันนี้ พื้นที่ที่พบมากส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ใน อ.เชียงดาว ส่วนพื้นที่บริเวณอ.พร้าว มีทิศทางที่ลดลงค่อนข้างมาก

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือนั้น การระบายอากาศยังคงอยู่ใน เกณฑ์ “อ่อน/ไม่ดี” ตลอดช่วงสงกรานต์นี้ ร่วมกับมีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นต่อเนื่อง ทำให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้มากขึ้น แม้ว่า จำนวนจุดความร้อนในพื้นที่จะลดลงก็ตาม

ส่วนในภาคกลาง บริเวณทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค ยังคงมีปริมาณฝุ่น PM 2.5 อยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง เกินค่ามาตรฐานหลายพื้นที่ ซึ่งในระยะนี้ ในภาคกลางการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน/ดี” มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันสามารถสะสมตัวได้

นอจกากนี้ ในช่วงวันที่ 14-16 เม.ย. แนวโน้มการระบายอากาศในพื้นที่ภาคกลางมีทิศทางที่ลดลง มีสภาพอากาศปิด จึงควรเฝ้าระวังสถานการณ์ในช่วงดังกล่าว

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ เริ่มดีขึ้น

ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล สถานการณ์ของฝุ่น PM 2.5 ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งเป็นผลมาจากการที่สภาพการระบายอากาศทำได้ค่อนข้างดี อากาศเปิดและยกตัวสูงขึ้น ร่วมกับการมีกระแสลมใต้ ช่วยพัดพาฝุ่นไม่ให้สะสมตัวได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามควรเฝ้าติดตามสถานการณ์ในช่วงวันที่ 16 เม.ย. อีกครั้ง เนื่องจากอัตราการระบายอากาศอาจจะลดลงในช่วงดังกล่าว

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1รพ.สต.บ้านใหม่
ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
660
2วัดบ้านดอนศรีสะอาด
ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
544
3สถานบริการสาธารณสุขชุมชนบ้านเมืองนะ
จ.เชียงใหม่
490
4รพ.สต.บ้านถ้ำลอด
ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน
466
5รพ.ปางมะผ้า
ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน
465
6รพ.สต.บ้านไตรสภาวคาม
ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
424
7บ้านหลวง
ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
419
8รพ.สต.บ้านเมืองงาย
ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
411
9รพ.สต.บ้านแกน้อย
จ.เชียงใหม่
395
10อบต.ป่าหุ่ง
ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย
386

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

จุดความร้อนมีแนวโน้มลดลง

รายงานจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเมื่อวานที่ผ่านมามีทั้งหมด 11997 จุด ลดลงจากจากวันก่อนหน้าที่พบทั้งหมด 13053 จุด ซึ่งแม้ว่าจะลดลงแต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าหนึ่งหมื่นจุด โดยเฉพาะในประเทศเมียนมาร์ที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งจำนวนจุดความร้อนที่พบในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมีจำนวนดังต่อไปนี้

สำหรับในประเทศไทยพบว่า จากจำนวนจุดความร้อนทั้งหมด 678 จุด พบในพื้นที่ 17 จังหวัคภาคเหนือ จำนวน 499 จุด ซึ่งพบมากในพื้นที่จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง