คัดลอก URL แล้ว
ฝุ่น PM 2.5 วันนี้ ยังสูงหลายพื้นที่ / อีสานบางพื้นที่ดีขึ้น / 9 เขตกทม. มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ฝุ่น PM 2.5 วันนี้ ยังสูงหลายพื้นที่ / อีสานบางพื้นที่ดีขึ้น / 9 เขตกทม. มีผลกระทบต่อสุขภาพ

KEY :

รายงานการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จากเว็บไซต์ของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กยังคงสูงอยู่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในบริเวณภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บริเวณที่อยู่ติดกับประเทศลาว

ในขณะที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก เริ่มดีขึ้น เนื่องจากในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนฟ้าคะนองกระจายในหลายพื้นที่ แม้ว่าจะไม่มากนัก แต่ก็ยังคงสามารถลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศได้

ซึ่งในระยะนี้ อิทธิพลจากกระแสลมตะวันออกเฉียงใต้ ที่พัดพาความชื้นจากทะเลขึ้นมา ส่งผลให้บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง สามารถจะช่วยลดปริมาณฝุ่นในอากาศลงได้

แต่ปัจจัยเรื่องของกระแสลมบริเวณประเทศไทยตอนบน ยังคงเป็นกระแสลมอ่อน ทำให้ฝุ่นควันยังสามารถสะสมตัวได้มาก

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดังนั้น จึงยังคงจำเป็นในการเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะกิจกรรมที่ใช้แรง เช่น การออกกำลังกายต่าง ๆ สำหรับกิจกรรมอื่น ๆ ที่จำเป็นควรสวมหน้ากาก N95 เพื่อป้องกันอันตรายจากฝุ่น PM 2.5 ในขณะนี้

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า

จุดตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5*
1อบต.สวด
ต.สวด อ.บ้านหลวง จ.น่าน
418
2บ้านขวัญประชา
ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
308
3บ้านหนองไฮป่าหวาย
ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
302
4บ้านแม่ปาน
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
306
5รพ.สต. บ้านหว้า
ต.โนนทัน อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
248
6เทศบาลตำบลถอนสมอ
อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
239
7บ้านห้วยกุ
ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
237
8บ้านดอยสันเกี๋ยง
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
223
9รร.บ้านห้วยทรายขาว
ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
220
10รพ.ป่าโมก
จ.อ่างทอง
207

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ข้อมูลจากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร การตรวจวัดค่าฝุ่นละอองในอากาศ ณ เวลา 08.00 น. พบว่า แนวโน้มในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล ดีขึ้นกว่าเมื่อวานที่ผ่านมา โดยค่าฝุ่น PM 2.5 ต่ำสุดอยู่ที่ เขตวังทองหลาง 57 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ในขณะที่สูงที่อยู่เขตบางขุนเทียน 111 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และมีจำนวน 9 พื้นที่ด้วยกันที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก อยู่ในระดับที่ “มีผลกระทบต่อสุขภาพ” ในขณะที่เขตอื่น ๆ ที่เหลืออยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

โดยลดลงจากเมื่อเวลา 07.00 น. ที่มี ค่าฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่ 61-116 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 39 พื้นที่ และมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 31 พื้นที่

สำหรับแนวโน้มในระยะนี้ พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่ง และปิด โดยพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพกลาง กรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้ (พื้นที่ท้ายลม)

ซึ่งภาพรวมของกรุงเทพฯ 10 อันดับแรกที่พบค่าฝุ่นละอองสูงเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมงจากจุดตรวจวัดของกรุงเทพฯ เมื่อเวลา 08.00 น. วันนี้ (1 ก.พ. ) ได้แก่

จุดตรวจวัดPM 2.5* (เฉลี่ย 24 ชม.)
1เขตบางขุนเทียน111
2เขตบึงกุ่ม101
3เขตประเวศ98
4เขตทวีวัฒนา97
5เขตหนองแขม97
6เขตสาทร95
7เขตยานนาวา95
8เขตดินแดง91
9เขตหลักสี่91
10เขตปทุมวัน89

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

จุดความรัอนยังพบทั้งในและนอกประเทศ

สำหรับรายงานจุดความร้อนจากดาวเทียม ในระบบ VIIRS ของ GISTDA ของเมื่อวานที่ผ่านมาพบจุดความร้อนในภูมิภาคจำนวน 3,291 จุด ลดลงราว 1 พันจุด โดยเฉพาะในประเทศกัมพูชา เมียนมา ที่มีจำนวนจุดความร้อนลดลงค่อนข้างมาก

ส่วนในประเทศไทยนั้น แม้ว่า จุดความร้อนที่พบจะลดลง แต่ยังไม่มากนัก ทำให้ยังคงพบจุดความร้อนในพื้นที่ต่าง ๆ กระจายทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง