คัดลอก URL แล้ว
ฝุ่น PM 2.5 ยังสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ – กลาง – อีสานตอนบน

ฝุ่น PM 2.5 ยังสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ – กลาง – อีสานตอนบน

KEY :

รายงานจากเว็บไซต์ของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา พบว่า แนวโน้มของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในประเทศไทยยังคงมีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานตอนบน ที่เพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานนี้ ในช่วงเวลาเดียวกัน

ซึ่งในพื้นที่บริเวณภาคเหนือส่วนใหญ่จะมีค่าฝุ่นละอองสูงเกินค่ามาตรฐาน ตามด้วยภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บางส่วนนของบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน

สำหรับในพื้นที่บริเวณภาคเหนือ คาดว่า ในช่วงวันที่ 28 มกราคม 2566 และ 1-3 กุมภาพันธ์ 2566 จะมีค่าฝุ่นละอองเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับบริเวณภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล จากกระแสลมที่เริ่มอ่อนลง

ส่วนในพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ควรเฝ้าระวังในช่วงวันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งจะมีกระแสลมอ่อนลงเช่นเดียวกัน

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เวลา 08.00 น.

ซึ่งในพื้นที่บริเวณภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงมีรายงานการพบจุดความร้อนในหลายพื้นที่ โดยเกิดจากการเผาวัสดุทางการเกษตร การเผาพื้นที่เพื่อเตรียมดินเพาะปลูกในรอบใหม่ ควบคู่กับการเผาในพื้นที่อนุรักษ์ร่วมด้วย

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลนั้น จากกระแสลมที่อ่อนลง อากาศเย็น ส่งผลให้ฝุ่นควันที่เกิดขึ้นยานพาหนะลอยตัวขึ้นไปสะสมตัวในอากาศได้มากขึ้น ร่วมกับการมีตึกสูง ทำให้อากาศค่อนข้างปิด กระแสลมไม่สามารถพัดกระจายฝุ่นควันออกไปได้ ส่งผลให้เกิดการสะสมตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมาจากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5*
1ตลาดสดบ้านหล่ายแก้ว
ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
291
2รพ.สต. บ้านหว้า
ต.โนนทัน อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
278
3รพ.สต.บ้านงิ้วเฒ่า
ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย
270
4รร.บ้านห้วยทรายขาว
ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
221
5บ้านแม่ปาน
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
213
6โรงเรียนบ้านน้ำช้างพัฒนา
ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
208
7รพ.สต.บ้านปงตำ
ต.ปงตำ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่
206
8รพ. ฮอด
จ. เชียงใหม่
199
9โรงเรียนบ้านด่าน
อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
196
10รพ.สมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า
ต.หล่มเก่า อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์
191
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ซึ่งแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในหลายพื้นที่ด้วยกัน

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพฯ ในเขตต่าง ๆ พบว่า

เมื่อเวลา 07.00 น. ที่ผ่านมา ค่าฝุ่นเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมงในพื้นที่กรุงเทพฯ อยู่ระหว่าง 43 – 74 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยของทุกเขตอยู่ที่ 54 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ในระดับสีส้ม หรือ เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมีทั้งหมด 36 จุดตรวจวัดด้วยกันที่พบค่าฝุ่นอยู่ในระดันสีส้มนี้

ในขณะที่รายงานเมื่อเวลา 09.00 น. พบว่า มีพื้นที่ที่มีฝุ่นอยู่ในระดับสีส้ม (เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) รวมทั้งหมด 50 จุดด้วยกัน และสูงที่สุดคือ 76 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ที่จุดตรวจวัดในเขตลาดกระบัง

ซึ่งในระยะนี้ เป็นช่วงที่มีสภาพอากาศปิด การระบายอากาศทำได้ไม่ค่อยดีนัก โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ ควรเฝ้าระวังในช่วง วันที่ 27-28 ม.ค. 2566 และช่วงวันที่ 1 – 2 ก.พ. 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลคาดว่าจะมีฝุ่นละอองขนาดเล็กสะสมตัวเพิ่มสูงขึ้น

ในขณะที่รายงานการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า บริเวณสถานีตรวจวัดที่วิทยาเขตบางเขตเมื่อเวลา 08.00 น. อยู่ที่ระดับสีส้ม หรือเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว แต่ในภาพรวมเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ยังคงอยู่ในระดับสีเหลือ

สซึ่งภาพรวมของกรุงเทพฯ อยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพในหลายพื้นที่ โดย 10 อันดับแรกที่พบค่าฝุ่นละอองสูงเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมงจากจุดตรวจวัดของกรุงเทพฯ เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (26 ม.ค.) ได้แก่

จุดตรวจวัดPM 2.5* (เฉลี่ย 24 ชม.)
1เขตลาดกระบัง76
2เขตหนองแขม71
3เขตหนองจอก70
4เขตยานนาวา65
5เขตคลองสามวา64
6เขตบางเขน62
7เขตยานนาวา61
8เขตมีนบุรี60
9เขตปทุมวัน59
10เขตบางนา59
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

จุดความรัอนยังพบทั้งในและนอกประเทศ

สำหรับรายงานจุดความร้อนจากดาวเทียม ในระบบ VIIRS ของ GISTDA ของวันที่ 26 ม.ค. พบว่า ตลอดทั้งวันของเมื่อวานนี้ มีจุดความพร้อมเพิ่มสูงขึ้นในทุกประเทศ ทั้งไทย กัมพูชา เมียนมา ลาว และเวียดนาม โดยเฉพาะในกัมพูชาที่เพิ่มขึ้นเกือบ 700 จุดด้วยกัน ซึ่งในภาพรวมถือว่า เป็นการเพิ่มขึ้นกว่าพันจุดในภูมิภาค

สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทยนั้น พบว่า การเผาในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเพิ่มสูงขึ้น โดยพบทั้งหมด 315 จุด ที่เหลือเป็นพื้นที่เกษตร 242 จุด, ป่าอนุรักษ์ 207 จุด, พื้นที่ สปก. 143 จุด, เขตชุมชนและอื่น ๆ 123 จุด และพื้นที่ริมทางหล่วง 17 จุด

ซึ่งในขณะนี้ ทางด้านของเจ้าหน้าที่เร่งลงพื้นที่ดับไฟที่เกิดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์กันอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง ส่งผลให้ไฟที่เกิดขึ้นสามารถลุกลามได้รวดเร็ว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง