คัดลอก URL แล้ว
สอบ ก.พ. คืออะไร สอบได้กี่ครั้ง แต่งตัวยังไงไปสอบ กพ. ทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

สอบ ก.พ. คืออะไร สอบได้กี่ครั้ง แต่งตัวยังไงไปสอบ กพ. ทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

การสอบ ก.พ. คืออะไร ต้องสอบอะไรบ้าง เมื่อผ่านการทดสอบแล้ว สามารถไปทำอาชีพอะไรได้บ้าง ต้องแต่งตัวยังไงไป สอบ ก.พ. ในบทความนี้รวมทุกข้อสงสัยมาให้รู้กัน

ก.พ. คืออะไร

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. คือ คณะกรรมการที่รับผิดชอบงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2471 โดยมีชื่อเรียกในขณะนั้นว่า “ก.ร.พ.” หรือ “คณะกรรมการรักษาพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน” เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการจัดสอบคัดเลือกผู้เข้ารับราชการพลเรือน และจัดการศึกษาให้นักเรียนหลวงฝ่ายพลเรือนที่ส่งไปศึกษายังต่างประเทศ

ต่อมาได้เปลี่ยนจากชื่อจาก ก.ร.พ. เป็น ก.พ. ทำหน้าที่ดูแลให้การดำเนินการด้านบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน ในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนนับตั้งแต่การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนการสอบเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการการแต่งตั้งโยกย้ายการเลื่อนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไปจนถึงการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สรุปแล้ว ก.พ. คือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นองค์การกลาง ที่ดูแลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน ภายใต้ระบบคุณธรรมทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดี และพัฒนาระบบการบริหารกำลังคนในราชการให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหน้าที่สำคัญ ในการจัดสอบคัดเลือกบุคคลเข้ามาบริหารงานในหน่วยงานราชการ โดยบุคคลที่จะผ่านการคัดเลือกเข้ามาทำงานราชการได้นั้นต้องผ่านการทดสอบทั้งภาค ก. ข. และ ค.

การสอบ ก.พ. มีทั้งหมด 3 ภาค ก. ข. และ ค.

ภาค ก คือ การสอบภาคความรู้ ความสามารถทั่วไป

ทำแบบทดสอบที่วัดระดับเชาว์ปัญญา ทุกคนที่จะสอบบรรจุข้าราชการต้องสอบภาค ก เมื่อสอบผ่านแล้วสามารถใช้ได้ตลอดชีพไม่ต้องสอบใหม่อีก โดยการสอบแบ่งเป็น 3 วิชา คือ

– ทดสอบวิชาความสามารถทั่วไป : ด้านการคิดคำนวณ และด้านการให้เหตุผล คะแนนเต็ม 100 คะแนน ( ป.ตรี ป.โท ต้องทำให้ 36 ข้อขึ้นไปถึงผ่าน)
– ทดสอบวิชาภาษาไทย : ด้านการเข้าใจภาษา ซึ่งจะทดสอบโดยการการอ่านและการทำความเข้าใจบทความ การเขียนประโยคให้ถูกต้องตามหลักภาษา จำนวน 40 ข้อ คะแนนเต็ม 50 คะแนน
– ทดสอบวิชาภาษาอังกฤษ : ทดสอบความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษเบื้องต้นจากการ ฟัง พูด อ่าน เขียน คะแนนเต็ม 50 คะแนน ข้อสอบแยกเป็นระดับวุฒิการศึกษา

จัดสอบทุกปี : เป็นการสอบ ก.พ. แบบ E-exam คือ การสอบสำหรับบุคคลทั่วไป ทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์ ติดตามกำหนดการสอบและรายละเอียดได้จากทางเว็บของ ก.พ. http://job.ocsc.go.th/Default.aspx

ภาค ข. การสอบภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง

ผู้สอบต้องนำหนังสือรับรองมายืนยันว่าได้สอบผ่าน ภาค ก. แล้วจึงจะสมัครได้ โดยการสอบ ภาค ข. นั้นเป็นการสอบที่เน้นใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง เช่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ, นิติกร, เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน เป็นต้น ผู้ที่จัดสอบจะเป็นหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เปิดรับสมัคร

ภาค ค คือ การสอบสัมภาษณ์

ผู้เข้าสอบจำเป็นต้องผ่านการสอบ ภาค ก. และ ภาค ข. มาก่อน โดย ภาค ค.เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ เพื่อดูถึงความเหมาะสมกับตำแหน่ง อาจมีการแบบทดสอบอย่างอื่นเพิ่ม เช่น ทดสอบร่างกาย หรือ ทดสอบจิตวิทยา ฯลฯ

คุณสมบัติการสอบ ก.พ.

– มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี (ไม่กำหนดอายุสูงสุด)
– มีสัญชาติไทย
– จบการศึกษาแล้ว หรือผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้ายของระดับ ปวช. ปวท. ปวส. อนุปริญญา ปริญญาตรี หรือปริญญาโท
– มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม (ตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)

แต่งตัวยังไงไปสอบ ก.พ.

สอบ ก.พ. สอบได้กี่ครั้ง

สอบ ก.พ. ผ่านแล้ว ทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

หากสอบ ก.พ. ผ่านแล้ว สามารถสมัครเข้าทำงานในหน่วยงานราชการ ได้หลายหน่วยงาน หลากหลายตำแหน่ง เช่น


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง