คัดลอก URL แล้ว
ฝุ่น PM 2.5 มีแนวโน้มลดลง แต่เหนือยังวิกฤติต่อเนื่อง

ฝุ่น PM 2.5 มีแนวโน้มลดลง แต่เหนือยังวิกฤติต่อเนื่อง

KEY :

รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้ ในภาพรวมนั้น ปริมาณฝุ่นลดลงในหลายพื้นที่ แต่ก็ยังคงเกินค่ามาตรฐาน และหลายพื้นที่ก็ยังคงสูงอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคเหนือ

แม้ว่าหลายพื้นที่ในภาคเหนือจะมีปริมาณฝุ่น PM 2.5 ลดลง แต่เกือบทั้งภาคก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐานและเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคที่ยังคงสูงต่อเนื่อง

โดยในภาคเหนือยังเป็นผลมาจากการระบายอากาศที่อยู่ในเกณฑ์ “อ่อน-ดี” ตลอดช่วงตั้งแต่ 16-25 เม.ย. มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้ดี แม้ว่าในช่วงวันที่ 17-22 เม.ย. จะอยู่ในช่วงที่การระบายอากาศดีขึ้นบ้างแล้วก็ตาม แต่หลังจากวันที่ 23 – 25 เม.ย. ควรเฝ้าระวังเพิ่มเตมเนื่องจากการระบายอากาศจะทำได้ลดลง ส่งผลให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้เพิ่มขึ้น

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงฝันที่ 17 – 23 เม.ย. จะเป็นช่วงที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการระบายอากาศที่ดีขึ้น ทำให้ส่วนใหญ่ในภาคอีสานยังคงมีสภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี-ปานกลาง แต่ด้วยการเกิดภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น จึงส่งผลให้การสะสมตัวของฝุ่นควันยังคงเกิดขึ้นได้ ทำให้ในบางโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค และด้านตะวันออกที่ติดกับประเทศลาว มีฝุ่นสะสมตัวได้มาก และคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นส่วนใหญ่

ภาคกลาง

พื้นที่ภาคกลางในระยะนี้ มีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ปานกลางหลายพื้นที่ เนื่องจากการระบายอากาศในช่วงวันที่ 17 – 19 เม.ย. อยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี ก่อนที่จะลดลงในช่วงวันที่ 20 – 23 เม.ย. ก่อนที่จะกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง ทำให้ในระยะนี้ ยังคงมีฝุ่นควันสะสมตัวได้ โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของภาค

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาคใต้

ฝุ่น PM 2.5 มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยจากเมื่อวานที่ผ่านมา ตั้งแต่ประจวบฯ ต่อเนื่องลงไปถึงบริเวณจังหวัดภูเก็ต และบริเวณ 3 จังหวัดภาคใต้ โดยผลการตรวจวัดเมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมาของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มช. พบว่า ปริมาณฝุ่นที่จุดตรวจวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเกาะยาว จ.พังงา มีปริมาณฝุ่น PM 2.5 102 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อที่สุขภาพ

ส่วนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตฝุ่นลดลง แต่ยังคงเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ ลดลงเล็กน้อย

ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล แนวโน้มลดลงเล็กน้อย แต่ยังคงมีบางพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ที่สูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยในช่วงตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. เป็นต้นไป สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล จะเปิดมากขึ้น อากาศยกตัวสูงขึ้น และมีกระแสลมใต้ ช่วยพัดฝุ่นไม่ให้สะสมตัวในพื้นที่

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ เช้าวันนี้ ( 18 เม.ย. 08.00 น. ) ผลการตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 พบว่า มีจำนวน 36 พื้นที่ด้วยกันที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ส่วนพื้นที่อื่น ๆ ที่เหลือมีสภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง

โดย 10 พื้นที่ที่พบค่าฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้แก่

เขตปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1เขตบางขุนเทียน (สถานี คพ.)66
2เขตปทุมวัน58
3เขตบางนา58
4เขตคลองสาน58
5เขตบางกอกน้อย58
6เขตคลองเตย58
7เขตบางเขน58
8เขตประเวศ57
9เขตทวีวัฒนา57
10เขตพระนคร57

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1รพ.สต.บ้านไตรสภาวคาม
ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
482
2วัดบ้านดอนศรีสะอาด
ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
415
3บ้านทุ่งบวกข้าว
ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
344
4รร.บ้านน้ำฮู
ต.เวียงใต้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
340
5รพ.สต.บ้านปางมะเยา
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
327
6สถานบริการสาธารณสุขชุมชนบ้านเมืองนะ
จ.เชียงใหม่
327
7บ้านปางเฟือง
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
326
8รพ.สต.บ้านปางเฟือง
จ.เชียงใหม่
323
9บ้านห้วยกุ
ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
320
10บ้านแม่ละงอง
ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
311

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค

สำหรับจำนวนจุดความร้อนในภูมิภาคที่พบเมื่อวานที่ผ่านมา (17 เม.ย.) มีทั้งหมด 7800 จุด ลดลงจากเมื่อวันก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง และกลับมามีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากสิ้นสุดเทศกาลสงกรานต์ ไม่ว่าจะเป็น ลาว ไทย เวียดนาม

ซึ่งจำนวนจุดความร้อนที่พบในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมีจำนวนดังต่อไปนี้

ในพื้นที่ประเทศไทยรายงานจุดความร้อนที่พบส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ รวมทั้งหมด 1,074 จุด โดย 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงสุดได้แก่

จังหวัดจุดความร้อน
1เชียงใหม่272
2เชียงราย265
3แม่ฮ่องสอน88
4ลำปาง66
5น่าน63
6ตาก45
7เพชรบูรณ์41
8กำแพงเพชร40
9แพร่37
10กาญจนบุรี30

ข่าวที่เกี่ยวข้อง