KEY :
- สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในเกือบทุกภาคของประเทศไทย
- ในภาคเหนือ ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ยังคงมีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นหลายจุด และอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่อ.เชียงดาว อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
- นอกจากนี้ ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือมีรายงานพบจุดความร้อนเพิ่มสูงขึ้นด้วย แม้ว่าจะอยู่ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ก็ตาม โดยเฉพาะเชียงราย เชียงใหม่
- ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงมีแนวโน้มที่ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นเช่น รวมถึงพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย
- โดยเมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา พื้นที่กรุงเทพฯ มีสภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง โดยมี 41 พื้นที่อยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว (ระดับสีส้ม)
…
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลายพื้นที่ ค่อนข้างมากในเช้าวันนี้ ( 15 เม.ย. ) โดยในพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ยังคงเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อเนื่อง
โดยพื้นที่หลักที่ค่าฝุ่นยังสูงต่อเนื่อง เป็นพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะที่อ.พร้าว อ.เชียงดาว แนวโน้มของปริมาณฝุ่นในพื้นที่ยังคงสูงต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก
ซึ่งสภาพอากาศในระยะนี้ยังคงมีการระบายอากาศที่ไม่ดีนัก มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น กระแสลมอ่อน รวมถึงการพบจุดความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย
สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวดน้มที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่เช่นกัน ที่ในระยะนี้การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์อ่อน มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ซึ่งจะต่อเนื่องถึงวันที่ 17 เม.ย. หลังจากนั้นการระยายอากาศจะดีขึ้น การยกตัวของอากาศจะสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในช่วงวันที่ 15-16 เม.ย. นี้ จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ซึ่งเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน จึงคาดว่า ปริมาณฝุ่นจะลดลงจากการที่มีกระแสลมแรงขึ้น และมีฝนตกในบางพื้นที่ ที่จะช่วยลดการสะสมตัวของฝุ่นควันในอากาศลงได้บางส่วน
ส่วนในพื้นที่ภาคกลางสถานการณ์ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากในระยะนี้ เป็นช่วงที่เกิดภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ฝุ่นควันยังคงสะสมตัวได้ดี แม้ว่า ในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย. คาดว่าจะมีฝนตก และการระบายอากาศที่ดีขึ้นก็ตาม
แต่สถานกมรในช่วงหลังจากวันที่ 20 เม.ย. ยังคงต้องเฝ้าระวังเนื่องจากการะระยายอากาศน่าจะทำได้น้อยลง จึงอาจจะมีฝุ่นเพิ่มสูงขึ้นในช่วงดังกล่าวได้
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น
…
กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ มีแนวโน้มสูงขึ้น
สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้น แนวโน้มของฝุ่น PM 2.5 มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากในช่วง 14-16 เม.ย. เป็นช่วงที่อากาศไม่ยกตัวสูงขึ้น มีภาวะอากาศค่อนข้างปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันที่เกิดขึ้นสามารถสะสมตัวได้
โดยหลังจากวันที่ 17 เป็นต้นไป คาดว่า สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้น อากาศจะยกตัวและระบายฝุ่นควันได้มากกขึ้น
ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ วันนี้ ( 15 เม.ย. ) เมื่อเวลา 08.00 น. พบว่า มีจำนวน 41 พื้นที่ที่พบว่า มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน ในขณะที่อีก 40 พื้นที่พบว่า ผลการตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
โดย 10 พื้นที่ที่พบค่าฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้แก่
เขต | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | เขตสาทร | 72 |
2 | เขตบางกอกน้อย | 66 |
3 | เขตบึงกุ่ม | 64 |
4 | เขตบางขุนเทียน (สถานี คพ.) | 64 |
5 | เขตดินแดง (สถานี คพ.) | 62 |
6 | เขตพระนคร | 62 |
7 | เขตปทุมวัน | 61 |
8 | เขตคลองเตย | 61 |
9 | เขตคลองสาน | 60 |
10 | เขตบางพลัด | 60 |
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชม.5 (ปิงโค้ง) ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 747 |
2 | รพ.สต.บ้านไตรสภาวคาม ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 687 |
3 | บ้านทุ่งแดง ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 549 |
4 | รพ.สต.บ้านปางมะเยา ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 539 |
5 | บ้านหลวง ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 536 |
6 | บ้านปางมะกง ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 525 |
7 | รพ.สต.บ้านใหม่ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 522 |
8 | บ้านแม่ปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 516 |
9 | บ้านสบปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 515 |
10 | บ้านสันปอธง ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 503 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
…
รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค
สถานการณ์จุดความร้อนในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่า 1 หมื่นจุดแม้ว่า จะอยู่ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ก็ตาม รายงานจุดความร้อนเมื่อวานที่ผ่านมา ( 14 เม.ย. ) พบทั้งหมด 11,189 จุด ลดลงจากวันก่อนไม่มากนัก
ซึ่งจำนวนจุดความร้อนที่พบในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมีจำนวนดังต่อไปนี้
- เมียนมาร์ 6,999 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 6,916 จุด)
- ลาว 2,618 จุด (ลดลงจาก 3,061 จุด)
- ไทย 1,096 จุด (ลดลงจาก 1,176 จุด)
- เวียดนาม 298 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 271 จุด )
- กัมพูชา 133 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 68 จุด)
- มาเลเซีย 45 จุด (ลดลงจาก 54 จุด)
ส่วนในพื้นที่ของประเทศไทยแม้ว่าจะลดลงบางส่วน แต่บางพื้นที่เช่น เชียงราย เชียงใหม่ น่าน มีแนวโน้มที่พบจุดความร้อนเพิ่มสูงขึ้น ทำให้รายงานจุดความร้อนที่พบในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น โดยพบ 928 จุด (จาก 924 จุด) ในขณะที่พื้นที่อื่น ๆ ของประเทศมีทิศทางที่ลดลง
โดย 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงสุดได้แก่
จังหวัด | จำนวนจุดความร้อน | |
---|---|---|
1 | เชียงราย | 206 |
2 | เชียงใหม่ | 205 |
3 | น่าน | 95 |
4 | แม่ฮ่องสอน | 72 |
5 | ลำปาง | 61 |
6 | กำแพงเพชร | 59 |
7 | พะเยา | 51 |
8 | ตาก | 42 |
9 | พิษณุโลก | 27 |
10 | แพร่ | 27 |