KEY :
- บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น จากสภาพการระบายอากาศที่ไม่ค่อยดีนัก มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้มากขึ้น
- ภาพเหนือยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาคที่มีปริมาณฝุ่นสะสมในพื้นที่มากขึ้น ซึ่งคาดว่า ตลอดช่วงสงกรานต์นี้ ภาคเหนือจะยังคงเผชิญฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับสูงเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่อง
- ส่วนภาคกลาง ควรเฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นในช่วง 14-16 เม.ย. มีแนวโน้มการระบายอากาศลดลง
- ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เฝ้าระวังช่วงวันที่ 13 และ 16 เม.ย. ที่อัตราการระบายอากาศจะอยู่ในเกณฑ์ไม่ดี
…
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของประเทศ
ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือ ในภาพรวมปริมาณฝุ่นยังคงทรงตัวใกล้เคียงกับเมื่อวานที่ผ่านมา แต่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นบริเวณทางตอนล่างของภาค ต่อเนื่องลงมาถึงบริเวณภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียเหนือ
โดยในระยะนี้ สภาพอากาศบริเวณภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการระบายอากาศไม่ดีนัก ส่งผลให้ฝุ่นควันสามารถสะสมตัวได้มากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น โดยคาดว่า ในช่วงสงกรานต์นี้ มีแนวโน้มที่การระบายอากาศจะลดลงในหลายพื้นที่ แบ่งเป็น
- ช่วงวันที่ 14 – 16 เม.ย. บริเวณภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล
- วันที่ 13 และ 16 เม.ย. บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนในพื้นที่ภาคเหนือนั้น ยังคงเป็นช่วงที่การระบายอากาศในพื้นที่ทำได้ไม่ดีนัก มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ซึ่งจะต่อเนื่องไปจนถึงช่วงวันที่ 19 เม.ย. ทำให้ในตลอดช่วงสงกรานต์นี้ พื้นที่ภาคเหนือยังคงเผชิญกับสภาวะฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่อง
สำหรับในภาคกลาง มีการระบายอากาศได้ไม่ดีนัก และมีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นเช่นกัน แต่ในบางพื้นที่มีการยกตัวของอากาศดี และมีฝนบางแห่ง ส่งผลให้มีฝุ่นสะสมได้ลดลง
แต่บริเวณตอนบนของภาคกลาง ภาคตะวันตก ยังคงได้รับผลกระทบจากฝุ่นควันที่เกิดขึ้นจากการเผาในระยะนี้ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในพื้นที่ภาคเหนือและด้านตะวันตกของประเทศ ทำให้ฝุ่นควันยังคงสะสมตัวได้มากขึ้น
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น
…
กรุงเทพฯ – ปริมณฑลส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล ในระยะนี้ ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หลายพื้นที่สภาพอากาศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี แต่จะมีบางพื้นที่ที่เริ่มมีแนวโน้มปริมาณฝุ่นเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ
โดยเมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา รายงานการตรวจวัดค่าฝุ่นของกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร พบว่า มี 2 พื้นที่ด้วยกันที่มีฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน อยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่
- เขตบางขุนเทียน 68 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร
- เขตบึงกุ่ม 52 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร
ในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. คาดว่า สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ – ปริมณฑลจะมีสภาพอากาศปิดในบางพื้นที่ ส่งผลให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้มากขึ้น จึงแนะนำให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การรายงานในช่วงดังกล่าว
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | รพ.สต.บ้านใหม่ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 771 |
2 | รพ.สต.บ้านแกน้อย จ.เชียงใหม่ | 770 |
3 | บ้านหลวง ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 715 |
4 | บ้านสันกลาง ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 687 |
5 | บ้านทุ่งบวกข้าว ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 660 |
6 | บ้านขวัญประชา ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 654 |
7 | วัดแม่ปูนล่าง ต.สันสลี อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงใหม่ | 622 |
8 | บ้านทรายทอง ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 619 |
9 | บ้านห้วยกุ ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 601 |
10 | บ้านสันปอธง ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 586 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
…
จุดความร้อนในภูมิภาคยังพุ่งสูงขึ้น
รายงานจุดความร้อนยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรายงานการตรวจนับจุดความร้อนจาก GISTDA เมื่อวานที่ผ่านมา ( 11 เม.ย. ) พบจุดความร้อนในภูมิภาคจำนวน 23,868 จุด ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานนี้
ซึ่งจำนวนจุดความร้อนที่พบในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมีจำนวนดังต่อไปนี้
- เมียนมาร์ 14,004 จุด (ลดลงจาก 14,849 จุด)
- ลาว 6,878 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 3,676 จุด)
- ไทย 1,956 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 1,763 จุด)
- เวียดนาม 679 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 271 จุด )
- กัมพูชา 303 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 228 จุด)
- มาเลเซีย 48 จุด (ลดลงจาก 66 จุด)
โดยสถานการณ์ในประเทศลาวมีการพบจุดความร้อนเพิ่มขึ้นอีกกว่า 3 พันจุด ในขณะที่ในเมียนมาร์ลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนในไทย เวียดนาม กัมพูชา ก็ยังเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
สำหรับในประเทศไทยนั้น จุดความร้อนที่พบส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยพบทั้งหมด 1,575 จุด เพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน
โดย 10 จังหวัดที่มีรายงานจุดความร้อนสูงสุดได้แก่
จังหวัด | จำนวนจุดความร้อน | |
---|---|---|
1 | เชียงใหม่ | 382 |
2 | เชียงราย | 216 |
3 | น่าน | 197 |
4 | แม่ฮ่องสอน | 184 |
5 | ตาก | 130 |
6 | พะเยา | 90 |
7 | กาญจนบุรี | 84 |
8 | แพร่ | 64 |
9 | ลำปาง | 57 |
10 | กำแพงเพชร | 52 |