คาดปรากฎการณ์เอลนีโญที่กำลังเเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้จะยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องไปในปี 2567 และจะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้น
ที่กรุงเจนีวา, องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO ได้รายงานผลการประเมินสภาพอากาศโลก โดยคาดการณ์ว่า ปรากฎการณ์เอลนีโญที่กําลังดําเนินอยู่ในขณะนี้ จะคงเกิดขึ้นต่อเนื่องไปอย่างน้อยจนถึงเดือนเมษายน 2024 และจะส่งผลต่อสภาพอากาศที่ทำให้อุณหภูมิทั้งบนบกและในมหาสมุทรสูงขึ้น
ผลการประเมินล่าสุดเมื่อกลางเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา อุณหภูมิพื้นผิวทะเลและตัวชี้วัดบรรยากาศและมหาสมุทรอื่น ๆ ในแปซิฟิกเขตร้อนภาคกลางตะวันออกสอดคล้องกับเอลนีโญ ซึ่งเป็นระยะอบอุ่นของเอลนีโญ และมีแนวโน้มที่จะถึงจุดสูงสุดเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงในเดือนพฤศจิกายน – มกราคม 2024 โดยมีความเป็นไปได้มากถึง 90% ที่จะคงอยู่ต่อเนื่องไปตลอดฤดูหนาวของซีกโลกเหนือ และฤดูร้อนของซีกโลกใต้
สำหรับปรากฎการณ์เอลนีโญนั้น จะเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยทุก ๆ 2-7 ปี และโดยทั่วไปจะใช้เวลา 9-12 เดือน เป็นรูปแบบสภาพภูมิอากาศที่จากภาวะโลกร้อนของพื้นผิวมหาสมุทรในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนตอนกลางและตะวันออก ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงโดยกิจกรรมของมนุษย์
“ในปี 2024 แอุณหภูมิบนบกและพื้นผิวทะเลที่สูงเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2023 จึงทำให้ปีนี้ถือเป็นปีที่อบอุ่นที่สุดเป็นประวัติการณ์ ปีหน้าอาจจะอุ่นขึ้นอีก และชัดเจนว่า มีส่วนร่วมของความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกที่ดักจับความร้อนจากกิจกรรมของมนุษย์”
ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้น จะรุนแรงขึ้น เช่น การเกิดคลื่นความร้อน ภัยแล้ง ฝนตกหนัก และน้ำท่วม ที่จะมีเพิ่มมากขึ้นในบางภูมิภาคและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้น
นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตอนกลางเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยราว 0.5 องศาเซลเซียล และเพิ่มสูงสูงขึ้นอีกเป็นราว 1.5 องศาสเซลเซียสในเดือนกันยายนที่ผ่านมา
การคาดการณ์ล่าสุดและการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ชี้ให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่องในแปซิฟิกเส้นศูนย์สูตรภาคกลางตะวันออกเป็นเวลาอย่างน้อย 4 เดือน ที่จะมีสภาพอากาศแปรปรวนในทุก 3 เดือน คือ
- พฤศจิกายน 2566 – มกราคม 2567
- ธันวาคม 2566 – กุมภาพันธ์ 2567
- มกราคม – มีนาคม 2567
- กุมภาพันธ์ – เมษายน 2567
มีทั้งฝนตกหนักขึ้น – ฝนแล้ง
สำหรับปริมาณน้ำฝนที่คาดการณ์ในช่วง 3 เดือนข้างหน้านี้ หลายพื้นที่จะเผชิญกับปริมาณฝนที่ตกหนักมากขึ้น เช่น ในพื้นที่ด้านตะวันตกของแอฟริกรา บริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า “Horn of Africa” , บริเวณทางตอนใต้ ทวีปอเมริกา รวมถึงด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาเหนือ, บางส่วนของทางตอนกลางและด้านตะวันออกของทวีปเอเซีย
ในขณะที่พื้นที่ที่จะมีปริมาณฝนน้อยกว่าปรกติ จะเกิดขึ้นบริเวณตอนเหนือของอเมริกาใต้, ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย, เกาะบอเนียว ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์
เรียกร้องนานาชาติเตรียมพร้อม
ผลกระทบของเอลนีโญที่จะเกิดขึ้นนี้ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้รายงานเพื่อส่งสัญญาณให้รัฐบาลและสหประชาชาติ รวมถึงผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเตรียมพร้อมในการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่คาดว่า จะเกิดขึ้นจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่กำลังจะยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงอย่างน้อย 4 เดือนข้างหน้านี้