ในปี 2009 นักวิทยาศาสตร์ได้เสนอแนะแนวคิดของเส้นเขตแดนความปลอดภัยของโลก 9 ข้อ ที่เป็นปัจจัยสำคัญให้โลกมีสภาพอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย ข้อที่มนุษย์ไม่ควรก้าวข้ามไปโดยเด็ดขาด หากยังต้องการที่จะอาศัยอยู่บนโลกใบนี้ ซึ่งผลวิจัยล่าสุดพบว่า มนุษย์ได้นำพาโลกนี้ ก้าวข้ามข้อจำกัดความปลอดภัยนั้นมาแล้วถึง 7 ข้อ
โดย 9 ข้อที่กำหนดไว้ได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change)
- ความสมบูรณ์ของชีวมณฑล (Biosphere integrity)
- การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน (Land-system change)
- การใช้น้ำจืด (freshwater use)
- กระบวนการชีวเคมี (biogeochemical flows)
- ความเป็นกรดของมหาสมุทร (ocean acidification)
- มลภาวะของฝุ่นละอองในอากาศ (atmospheric aerosol pollution)
- การสูญเสียโอโซนในชั้นบรรยากาศ (stratospheric ozone depletion)
- การปลดปล่อยสารเคมีใหม่ (release of novel chemicals)
ซึ่งทั้ง 9 ข้อนี้ ถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ๆ และหากมนุษย์ไม่สามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ และก้าวข้ามผ่าน “เส้นความปลอดภัย” จะส่งผลต่อการอยู่อาศัยบนโลกใบนี้
…
ก้าวข้ามเส้นความปลอดภัยมาแล้ว 7 ข้อ
ผลการศึกษาฉบับใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature นักวิทยาศาสตร์ซึ่งนำโดยคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ ที่มีนักวิจัยร่วมกันกว่า 40 คนจากทั่วโลก ได้ประเมินว่า
ในขณะนี้มนุษย์ได้นำพาโลกก้าวข้าม “เส้นความปลอดภัย” เหล่านั้นมาแล้วถึง 7 ข้อ
และสิ่งที่เกิดขึ้นกำลังแสดงให้เห็นว่า มนุษย์กำลังเผชิญความเสี่ยงอย่างมาก โดยมีอนาคตของอารยธรรมและทุกสิ่งในโลกเป็นเดิมพัน
ตัวอย่างเช่น กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้น กำลังส่งผลกระทบต่อวัฏจักรของน้ำ การจากการปนเปื้อนของแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ถูกปล่อยออกมาจากการใช้ปุ๋ยและสารต่าง ๆ ส่งผลให้หลายพื้นที่บนโลกกำลังเผชิญความเสี่ยงในเรื่องของความมั่นคงทางด้านอาหาร เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้ โดยคิดเป็นราว 2 ใน 3 ของโลกที่กำลังเผชิญความเสี่ยงนี้
ในด้านของขอบเขตเรื่องสภาพภูมิอากาศนั้น มีเส้นขอบเขตของความปลอดภัยอยู่ที่ 1 องศาเซลเซียส ซึ่งในขณะนี้ สภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ได้ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกินกว่า 1 องศาฯ ก้าวข้ามเส้นความปลอดภัยมาแล้ว ส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลาย
การตัดไม้ และการเผาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อการปลอดภัยคาร์บอนไดออกไซดื และมีเทนจำนวนหลายพันล้านตันสู่อากาศ ซึ่งเห็นได้จากรายงานจุดความร้อนที่พบเพิ่มมากขั้นทั้งในยุโรปตะวันออก, เอเซียใต้, ตะวันออกกลาง, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, บางส่วนของแอฟริกา และที่มากที่สุดคือใน บราซิล เม็กซิโก จีน และบางส่วนของทางตะวันตกของสหรัฐฯ ซึ่งมากพอที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
นอกจากนี้ โลกของเรากำลังเผชิญการสูญพันธุ์ในอัตราสูงมากในเวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ ซึ่งเคยมีการประมาณการณ์กันว่า หากการสูญพันธ์ุของสิ่งมีชีวิตบนโลกยังคงอยู่ในอัตรานี้ จะส่งผลให้ในอีกราว 50% ข้างหน้า สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์จะมีมากถึง 70%
โดยที่ผ่านมา พื้นที่ที่มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์และจำเป็นทั่วโลกกว่าครึ่ง ได้ถูกลุกล้ำ
Johan Rockström ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยผลกระทบสภาพภูมิอากาศพอทสดัม ได้ระบุว่า
มันกำลังเริ่มขึ้นแล้ว เหตุการณ์และผลกระทบต่าง ๆ ที่รุนแรงขึ้นทั้งจากคลื่นความร้อน ภัยแล้ง น้ำท่วม ที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยังส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร คุณภาพน้ำที่แย่ลง การนำน้ำใต้ดินมาใช้ที่มากขึ้น และกำลังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ที่เปราะบางของโลก
ข้อมูล – https://www.nature.com/articles/s41586-023-06083-8