KEY :
- โรงพยาบาลนครพิงค์ พบเคสผู้ป่วยป่วยท้องน้อยหลายเดือน ก่อนตรวจพบว่ามีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ขนาดยักษ์ หนักกว่า 700 กรัม
- แพทย์ ระบุ นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ในแต่ละปี คนไทยป่วยเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะมากกว่า 50,000 ราย
- พร้อมแนะนำวิธีป้องกันตนเองไม่ให้เป็นนิ่ว อาทิเช่น การดื่มน้ำ / ลดการบริโภคอาหารที่มีสารก่อนิ่ว / บริโภคอาหารที่มีสารยับยั้งนิ่วมากขึ้น
…
วันนี้ (24 พ.ค.66) เพจเฟซบุ๊ก โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้โพสต์ภาพและข้อความถึงเคสผู้ป่วยรายหนึ่ง ที่มีอาการป่วยท้องน้อยมาเป็นเวลาหลายเดือน โดยมีข้อความระบุว่า ผู้ป่วยชายอายุ 74 ปี มารับการตรวจที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ด้วยอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ เป็น ๆ หาย ๆ ปัสสาวะบ่อยกระปริดกระปรอย มาหลายเดือน ตรวจเอกซเรย์พบว่ามีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะขนาดใหญ่มาก วัดได้ 10.2 × 8.6 ซม. นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีนิ่วในไตซ้ายขนาดใหญ่อีกด้วย
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลนครพิงค์ จึงได้ทำการผ่าตัดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะออก พบว่านิ่วมีน้ำหนักถึง 707.6 กรัม การผ่าตัดลุล่วงไปด้วยดี
นพ.ประพนธ์ เปี่ยมอนันต์ ศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันนิ่วในกระเพาะปัสสาวะขนาดยักษ์อย่างเช่นในกรณีนี้พบได้ไม่บ่อย เนื่องจากการเข้าถึงการรักษาดีขึ้น ผู้ป่วยจึงมักจะได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม นิ่วที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ เช่นนี้ ก็ยังคงพบได้บ้าง
ผู้ป่วยชายอายุ 74 ปี มารับการตรวจที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ด้วยอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ เป็นๆหายๆ ปัสสาวะบ่อยกระปริดกระปรอย มาหลายเดือน ตรวจเอกซเรย์พบว่ามีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะขนาดใหญ่มาก วัดได้ 10.2 × 8.6 ซม. นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีนิ่วในไตซ้ายขนาดใหญ่อีกด้วย
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลนครพิงค์ จึงได้ทำการผ่าตัดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะออก พบว่านิ่วมีน้ำหนักถึง 707.6 กรัม การผ่าตัดลุล่วงไปด้วยดี
นพ.ประพนธ์ เปี่ยมอนันต์ ศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันนิ่วในกระเพาะปัสสาวะขนาดยักษ์อย่างเช่นในกรณีนี้พบได้ไม่บ่อย เนื่องจากการเข้าถึงการรักษาดีขึ้น ผู้ป่วยจึงมักจะได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม นิ่วที่มีขนาดใหญ่มากๆเช่นนี้ก็ยังคงพบได้บ้าง
นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ในแต่ละปี คนไทยป่วยเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะมากกว่า 50,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ราว 5% มักจะพบร่วมกับภาวะที่มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคต่อมลูกหมากโต กระเพาะปัสสาวะพิการจากโรคทางระบบประสาท เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะกระปริดกระปรอย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเป็นเลือด และมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ หากมีอาการดังนี้ก็ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาแต่เนิ่นๆ
สำหรับวิธีการป้องกันตนเองไม่ให้เป็นนิ่ว ได้แก่
1.ดื่มน้ำมาก ๆ : ดื่มจนกว่าจะมีปัสสาวะ 2 ลิตร/วัน ยกเว้นกรณีป่วยเป็นโรคที่มีข้อห้ามในการดื่มน้ำมากๆ
2.ลดการบริโภคอาหารที่มีสารก่อนิ่ว เช่น
- กรดยูริก พบมากใน เนื้อสัตว์,เครื่องใน,ยอดผัก,กะปิ,แอลกอฮอล์
- ออกซาเลต พบมากใน ใบชา,ผักโขม,ผักปวยเล้ง,ช็อคโกแลต และไม่ควรทานวิตามินซีเสริมมากกว่า 2,000 มิลลิกรัม/วัน
3.บริโภคอาหารที่มีสารยับยั้งนิ่วมากขึ้น เช่น
- ซิเตรท พบในผลไม้หลายชนิด เช่น ส้ม,มะนาว
- อาหารที่มีกากใย ช่วยยับยั้งการดูดซึมสารก่อนิ่ว
4.บริโภคแคลเซียมแต่พอดี กับความต้องการในแต่ละวัน
5.ลดเค็ม,ลดคาร์โบไฮเดรต,ลดน้ำหนัก
ที่มา – โรงพยาบาลนครพิงค์