ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก ครั้งที่ 216 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 24 พ.ค. 66 ที่องค์การยูเนสโก สำนักงานใหญ่ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้มีมติรับรองให้ โคราชจีโอพาร์ค เป็น UNESCO Global Geopark ซึ่งถือเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีภูมิประเทศ แหล่งธรณีวิทยาที่มีคุณค่าในระดับนานาชาติ
ทำให้ในจังหวัดนครราสีมา มีแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการรับรองจากยูเนสโกถึง 3 แห่งด้วยกันคือ
- มรดกโลกป่าดงพญาเย็น เขาใหญ่
- พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช
- โคราชจีโอพาร์ค
และยังเป็นเมืองที่ 4 ของโลกที่มีแหล่งมรดกโลกที่รับรองโดยยูเนสโกถึง 3 แห่งด้วยกัน หรือ ดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของยูเนสโก หรือ “The UNESCO Triple Crown” เช่นเดียวกันอิตาลี เกาหลีใต้ และจีน และเป็นเมืองแรกในประเทศไทยที่มีแหล่งมรดกโลกถึง 3 แห่งด้วยกัน
ซึ่งผลจากการประกาศรับรองในครั้งนี้คาดว่า จะส่งผลให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวทั้งในด้านธรณีวิทยา วัฒนธรรม ที่จะเปิดโอกาสในการต่อยอดทางด้นเศรษฐกิจ การจ้างงาน อาชีพและรายได้ ให้กับจังหวัดนครราชสีมาได้อีกด้วย
…
จีโอพาร์ค คืออะไร?
จีโอพาร์ค (Geopark) หรืออุทยานธรณี เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีภูมิประเทศและเป็นแหล่งธรณีวิทยาที่มีคุณค่าในระดับนานาชาติ รวมถึงแหล่งธรรมชาติและวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่สำคัญและเชื่อมโยงกับแหล่งธรณีวิทยา โดยจะน้องมีการจัดการทั้งในด้านการอนุรักษ์ การศึกษา และการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
จีโอพาร์คโลก ที่ยูเนสโกให้การรับรองก่อนหน้านี้ มีทั้งหมด 147 แห่งใน 41 ประเทศทั่วโลก เพื่อเป็นการรับรองและให้คุณค่าแก่แหล่งธรณีวิทยาที่ถือเป็นมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในพื้นที่
…
ที่มาของ “โคราชจีโอพาร์ค”
สำหรับโคราชจีโอพาร์ค หรือ อุทยานธรณีโคราชนั้น มีจุดสำคัญและความเชื่อมโยงที่มีคุณค่าประกอบไปด้วย
ด้านธรณีวิทยา
ในทางธรณีวิทยานั้น คำว่า “โคราช” มีนัยยะหมายถึงเป็นกลุ่มหินโคราช ที่เ็นชุดของขั้นหินตะกอนมีความหนามากกว่า 4 กม. ที่รองรับที่ราบสูงโคราช มีอายุอยู่ในช่วง 210 – 65 ล้านปีก่อน ซึ่งสามารถพบเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่บริเวณริ่มถนนมิตรภาพ
ด้านชีววิทยา
ชื่อ “โคราช” ยังถูกใช้ในชื่อวิทยาศาสตร์ ในระดับสกุลและชนิดในการจำแนกฟอสซิลสัตว์สายพันธุ์ใหม่ของโลก เช่น อุรังอุตังโคราช (Khoratpithecus) จระเข้โคราช (Khoratosuchus) เต่าชนิดที่พบที่โคราช (Kizylkumemys khoratensis)
ด้านวัฒนธรรม
เป็นสิ่งที่คนไทยรู้จักดี เมื่อเอ่ยถึงโคราช ซึ่งเป็นชื่อเมืองเดิมของนครราชสีมา ที่มีหลักฐานปรากฏมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเมืองเก่าของ “โคราช” อยู่ที่ อ.สูงเนิน และมีประวัติอายุยาวนานกว่า 1,000 ปี จากร่องรอยหลักฐานต่าง ๆ
ซึ่งจากทั้ง 3 ด้านนี้ ทำให้โคราชจีโอพาร์ค มีความโดดเด่นทางด้านธรนีวิทยาในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในการพบฟอสซิลไดโนเสาร์ และสัตว์ร่วมยุคจำนวนมาก ในชั้นหิน ทั้งในเขตอ.เมือง, เฉลิมพระเกียรติ, ขามทะเลสอ จึงทำให้ในสายตาของนานาชาติกล่าวได้ว่า เป็นเวิร์ลพาลีออนโตโปลิส (World Paleontopolis)
ที่มา – https://www.facebook.com/KhoratGeopark/, khoratgeopark.com