ท่ามกลางการชูนโยบายหาเสียงของบรรดาพรรคการเมือง ก่อนศึก #เลือกตั้ง 66 ที่จะมาถึงนี้ หนึ่งในนโยบายที่หลายพรรคการเมืองให้ความสำคัญและผลักดันนั่นคือ #นโยบายสิ่งแวดล้อม อากาศสะอาด โดยเฉพาะเรื่องของ ‘ฝุ่น PM2.5’ ที่กลับมาทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้งในช่วงต้นปีนี้ ส่งผลประชาชนต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เจาะ #นโยบายสิ่งแวดล้อม อากาศสะอาด ลดมลพิษ ของแต่ละพรรคการเมือง ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและ PM2.5 วาดฝันหรือทำได้จริง?
#พรรคก้าวไกล – 1.นโยบายด้านการเกษตร “ป้องกันการเผา เปลี่ยนก๊าซเรือนกระจกเป็นรายได้” โดยกำจัดการเผาภายใน 3 ปี งบปรับตัวตำบลละ 3 ล้านบาท 1,000 ตำบล, เปลี่ยนการเผาเป็นเงินในกระเป๋าเกษตรกร งบอุดหนุนปลูกข้าว “เปียกสลับแห้ง” แทนการเผา สร้างอุตสาหกรรมแปรรูปฟางข้าว-ซังข้าวโพดแทนการเผา
2.นโยบายด้านการขนส่ง “ปรับปรุงการขนส่งให้สะอาดที่สุด” รถเมล์ไฟฟ้าทุกจังหวัด ภายใน 7 ปี “วันขนส่งฟรี” รณรงค์ลดใช้รถยนต์ส่วนตัวเปลี่ยนรถไฟดีเซลเก่าเป็นไฟฟ้าตรวจสภาพรถยนต์ฟรี! ปีละครั้ง ควบคุมปริมาณรถบรรทุกในเขตเมือง
#พรรคชาติไทยพัฒนา – ในระยะสั้นเร่งจับควันดำรถยนต์ การเข้มงวดกับสถานที่ก่อสร้าง การทำความสะอาดรถ และในส่วนของระยะยาว ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า การขยายพื้นที่การขนส่งสาธารณะ ในส่วนของภาคเกษตรนั้น ผลักดันให้ไม่มีการเผา และทำให้ดินมีคุณภาพดีขึ้น
#พรรคพลังประชารัฐ – ชูนโยบายการบริหารจัดการน้ำ เติมน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ เพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำ เพิ่มแหล่งน้ำสำรอง และแหล่งน้ำทางเลือก แก้ปัญหา น้ำแล้ง น้ำท่วมซ้ำซาก และจัดทำผังน้ำชุมชน
#พรรคภูมิใจไทย – ประกาศรถเมล์ไฟฟ้า/เรือไฟฟ้า ทำให้ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ, ติดโซลาร์ รูฟ ฟรี ลดโลกร้อนทุกครัวเรือน และวินมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าคันละ 6,000 บาท วินไรเดอร์ ผู้ขี่มอเตอร์ไซค์ มีนโยบายเพื่อให้ผู้ขับขี่ทุกคนสามารถเปลี่ยนมาใช้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในราคาที่เอื้อมถึง
#พรรคเพื่อไทย – ผลักดันนโยบายห้ามเผาป่า เผาไร่จริงจัง, เจรจากับประเทศเพื่อนบ้านและเอกชนไทย ห้ามเผาไร่จริงจัง เปลี่ยนรถเมล์ กทม. หลายพันคันเป็นรถไฟฟ้าโดยเร็วที่สุด พร้อมเข้มรถปล่อยควัน โรงงานปล่อยมลพิษ ไซต์งานก่อสร้าง อีกทั้งทำไทยเป็นศูนย์ผลิตรถไฟฟ้า ดันราคาลง คนใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น และผลักดันกฎหมายอากาศสะอาด พ.ร.บ.อากาศสะอาด
#พรรคประชาธิปัตย์ – ประกาศฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของคนกรุงเทพฯ ทั้งเรื่องน้ำและเรื่องอากาศ โดยจะผลักดันการออกกฎหมายอากาศสะอาด รวมไปถึงมีการกำหนดเขตปลอดมลพิษ 16 เขตชั้นในของ กทม. 3. กำหนดมาตรฐานการก่อสร้างอาคาร และการเก็บภาษีรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่ปล่อยควันดำ