คัดลอก URL แล้ว
ภาคเหนือ ฝุ่น PM 2.5 ยังวิกฤติ สูงเกินค่ามาตรฐาน-อันตรายต่อสุขภาพต่อเนื่อง

ภาคเหนือ ฝุ่น PM 2.5 ยังวิกฤติ สูงเกินค่ามาตรฐาน-อันตรายต่อสุขภาพต่อเนื่อง

KEY :

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย หลายพื้นที่ยังคมีปริมาณฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือที่ยังคงมีฝุ่นสูงในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบสองเดือนแล้ว

ภาคเหนือ

แนวโน้มในวันนี้ ปริมาณฝุ่นในพื้นที่ภาคเหนือมีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย ในพื้นที่ทางตอนบนของภาค บริเวณจ.เชียงใหม่ เชียงราย ที่มีฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อเนื่องนานเกือบ 2 เดือนแล้ว ในขณะที่ทางตอนล่างของภาค มีแนวดน้มดีขึ้นเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่ยังคงสูงเกินค่ามาตรฐาน

ซึ่งในช่วงตั้งแต่ 18 – 27 เม.ย. บริเวณภาคเหนือ มีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “ไม่ดี-อ่อน” มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นที่ ทำให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้ดี

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สำหรับภาคอีสานในเช้าวันนี้ แนวโน้มยังคงใกล้เคียงกับเมื่อวานที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่า สถานการณ์น่าจะดีขึ้นในช่วงวันที่ 19 – 23 เม.ย. เนื่องจากมีการระบายอากาศที่อยู่ในเกณฑ์ “ดี-ดีมาก” แต่ยังคงมีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น จึงทำให้บางพื้นที่มีฝุ่นสะสมตัวได้ในระดับปานกลาง – มาก

โดยในช่วงหลังจากวันที่ 24 เม.ย. เป็นต้นไป แนะนำเฝ้าระวังฝุ่นที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้นได้จากสภาพการระบายอากาศที่ลดลง และฝุ่นควันจะสะสมตัวได้มากขึ้น

ภาคกลาง

สำหรับในภาคกลางในช่วงนี้ แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 มีทิศทางที่ลดลงเล็กน้อย จากสภาพอากาศที่สามารถระบายอากาศได้ดีขึ้น แต่ในวันที่ 20 – 21 เม.ย. คาดว่า ฝุ่นจะสะสมตัวได้มากขึ้น เนื่องจากการะบายอากาศจะทำได้ลดลง ร่วมกับในช่วงตั้งแต่ 18 – 27 เม.ย. มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันยังคงสะสมตัวได้

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาคใต้

สำหรับพื้นที่ภาคใต้นั้น แนวโน้มฝุ่นลดลง ซึ่งแม้ว่าการระบายอากาศยังคงอยู่ในเกณฑ์ “ไม่ดี – อ่อน” ตลอดช่วงวันที่ 18 -27 เม.ย. แต่ภาวะอากาศค่อนข้างเปิด มีการยกตัวดี และมีโอกาสที่ฝนจะตกมากขึ้น

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

กรุงเทพฯ – ปริมณฑล แนวโน้มฝุ่นลดลง

สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลในระยะนี้ แนวโน้มของฝุ่น PM 2.5 ยังคงมีแนวโน้มลดลง แต่โดยส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่ และอยู่ในเกณฑ์ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพในบางพื้นที่

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ เช้าวันนี้ ( 19 เม.ย. 08.00 น. ) ผลการตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 พบว่า ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีปริมาณฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน จำนวน 13 พื้นที่ด้วยกัน โดย 10 พื้นที่ที่พบค่าฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้แก่

เขตปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1เขตบางขุนเทียน (สถานี คพ.)66
2เขตดินแดง (สถานี คพ.)58
3เขตบางกอกน้อย56
4เขตปทุมวัน54
5เขตคลองสาน54
6เขตสัมพันธวงศ์53
7เขตตลิ่งชัน53
8เขตพระนคร53
9เขตบางกอกใหญ่52
10เขตทวีวัฒนา52

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1รพ.สต.ริมปิง
ต.ริมปิง อ.เมือง จ.ลำพูน
663
2รพ.สต.เวียงยอง
ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน
663
3รพ.สต.หนองไฮน้อย
ต.หนองข่า อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
663
4รพ.สต.บ้านใหม่
ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
603
5รพ.สต.บ้านงิ้วเฒ่า
ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย
461
6รพ. เวียงแหง
ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ. เชียงใหม่
361
7บ้านสันตะผาบ
ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
355
8วัดบ้านดอนศรีสะอาด
ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
349
9รพ.สต.บ้านปางมะเยา
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
346
10บ้านแม่ละงอง
ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
343

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค

สำหรับรายงานจุดความร้อนที่พบในภูมิภาคเมื่อวานที่ผ่านมา ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูงและใกล้เคียงกับวันก่อนหน้านี้ โดยในประเทศลาว ที่พบจุดความร้อนทั้งหมด 3,410 จุด เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ทำให้ขึ้นมาอยู่อันดับที่หนึ่ง แทนเมียนมาร์ ที่มีจุดความร้อนลดลงเหลือ 3,258 จุด (ลดลงราว 1,200 จุด)

ในขณะที่ประเทศไทยมีรายงานจุดความร้อนทั้งหมด 1,328 จุด เพิ่มขึ้นราว 50 จุดจากวันก่อนหน้า โดย 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงสุดได้แก่

จังหวัดจุดความร้อน
1เชียงราย245
2เชียงใหม่131
3น่าน100
4ลำปาง66
5เพชรบูรณ์61
6นครสวรรค์46
7กำแพงเพชร45
8พะเยา41
9พิษณุโลก31
10กาญจนบุรี30