คัดลอก URL แล้ว
ผลศึกษาพบ ชาวอังกฤษรายได้ลด ภาษีสูง แต่มาตรฐานการครองชีพกลับลดลง

ผลศึกษาพบ ชาวอังกฤษรายได้ลด ภาษีสูง แต่มาตรฐานการครองชีพกลับลดลง

KEY :

The Resolution Foundation ซึ่งเป็นองค์กรอิสระในสหราชอาณาจักรได้รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับนโยบายการเก็บภาษี กับบริการสาธารณะ และสวัสดิการต่าง ๆ ของสหราชอาณาจักรในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ชาวอังกฤษเผชิญกับสภาวะของการจ่ายภาษีต่าง ๆ ที่สูงขึ้น ในขณะที่มาตรฐานการครองชีพกำลังลดต่ำลงเรื่อย ๆ จากหลาย ๆ สาเหตุด้วยกัน

โดยรายงานได้ระบุว่า ในช่วงที่ผ่านมา นโยบายด้านเศรษฐกิจที่รัฐบาลของสหราชอาณาจักรได้มีการกำหนดและประกาศออกมานั้น ยังคงแฝงไปด้วยความขลาดกลัว และทำให้ประชาชนต้องทำงานมากขึ้น แต่กลับยากจนลงเรื่อย ๆ ในขณะที่การเสียภาษีก็เพิ่มสูงขึ้น แต่บริการสาธารณะ- สวัสดิการต่าง ๆ กลับถูกลดลง

ซึ่งในขณะนี้ สหราชอาณาจักรเผชิญสภาวะเศรษฐกิจถดทอย จากผลกระทบของวิกฤติด้านพลังงานและเงินเฟ้ออย่างมาก นับตั้งแต่ปี 1970 และมีอัตราการว่างงานเพียง 4.4% เท่านั้น

โดยสหราชอาณาจักรมีการจัดเก็บภาษีเป็นรายได้เข้ารัฐเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่า รายได้จากการจัดเก็บภาษีจะสูงถึง 37.7% ของ GDP ประเทศในอีกไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะกลายเป็นสถิติสูงที่สุดในรอบ 70 ปี

เก็บภาษีเท่าเดิม – เงินเฟ้อเพิ่ม – ลดเกณฑ์ลดหย่อนภาษี

ในช่วงปี 2019 – 2020 อัตราภาษีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นถึง 4.7% หรือคิดเป็นเงินมากเกือบ 4 พันปอนด์ต่อครัวเรือน นโยบายที่รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศออกมานั้น ดูเหมือนจะส่งเสริมให้คนทำงานมากขึ้น โดยที่อัตราภาษีที่จัดเก็บยังคงไม่เปลี่ยนแปลง สวนทางกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และกำลังจะแตะระดับ 11.1% ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบกว่า 40 ปี นับตั้งแต่ปี 1981

สำหรับอัตราการเก็บภาษีของสหราชอาณาจักรในขณะนี้ แบ่งเป็นขั้นบันได เคือ

ในขณะเดียวกัน ได้มีการปรับเกณฑ์การลดหย่อนภาษี จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 150,000 ปอนด์ ลงเหลือที่ 125,140 ปอนด์ ซึ่งนั่นหมายความว่า จะมีประชาชนหลายแสนคนที่จะได้รับการช่วยเหลือด้านภาษีน้อยลง โดยมีการประมาณการไว้ว่า ในทุก ๆ 1 ปอนด์ของที่ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้และประกันสุขภาพแห่งชาติ ประชาชนที่ได้รับสิทธิเหล่านี้ จะต้องเสียราว 2 ปอนด์ในมาตรฐานหรือนโยบายอื่น ๆ แทน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อรายได้ในครัวเรือนของประชาชน

องค์กรอิสระได้ประเมินว่า การเพิ่มขึ้นของค่าแรงในอีก 5 ปีข้างหน้า ท่ามกลางอัตราภาษีที่ยังคงที่ในขณะนี้ จะส่งผลให้มีประชาชนราว 3.2 ล้านคน กลายเป็นคนที่จะต้องเสียภาษีเป็นครั้งแรก

ในขณะที่อีกกว่า 2 ล้านคน จะถูกขยับขึ้นเกณฑ์ภาษีที่สูงขึ้นในขั้นถัดไป และมีราว 3.5 แสนคนที่จะขยับขึ้นไปเสียภาษีในอัตราสูงที่สุด

ข้อครหา “ขยับภาษีเงินบำนาญ อุ้มคนรวย”

อีกหนึ่งมาตรการที่เกิดขึ้น คือการปรับเกณฑ์การลดหย่อนภาษี สำหรับผู้ที่เข้าระบบการออมเพื่อเกษียณ หรือการออมเงินบำนาญ ซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ 4 หมื่นปอนด์ โดยมีการปรับเพิ่มเป็น 6 หมื่นปอนด์ โดยให้เหตุผลว่า ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศ ไม่ให้เกษียณอายุก่อนกำหนด หรือลดชั่วโมงการทำงานลง

แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่เกิดขึ้น หลายฝ่ายมองว่า นั่นเป็นนโยบายอุ้มคนรวย และผู้มีรายได้สูง ให้ประหยัดภาษีได้เกือบ 2.5 แสนปอนด์ ซึ่งผู้ที่เข้าโครงการออมเงินบำนาญ ในระดับ 6 หมื่นปอนด์นั้น เป็น “กลุ่มผู้มีรายได้สูง 1%” ในประเทศเท่านั้น

ลดงบประมาณ ท่ามกลางเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ในแผนการจัดสรรงบประมาณให้กับมาตรการด้านสุขภาพ, การศึกษา ถูกปรับลดงบประมาณลงราว 10% ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งนั่นหมายความว่า สวัสดิการด้านสุขภาพ และการศึกษา กำลังถอยหลังลงจากเดิม

ในขณะที่นโยบายกระตุ้นการลงทุนต่าง ๆ มีเพียงราว 3% ของ GDP เท่านั้น ซึ่งทาง The Resolution Foundation มองว่า อังกฤษต้องการมากกว่านั้น คือ ราว 30% เพื่อให้สหราชอาณาจักรก้าวทันกับประเทศอื่น ๆ อย่างฝรั่งเศส เยอรมนี หรือ สหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับเฉลี่ยราว 12% และการลงทุนที่น้อยเกินไป จะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้ช้า โดยที่มาตรการฐานครองชีพกำลังชะลอตัวลง ในขณะที่รัฐกำลังพยายามให้ประชาชนจ่ายภาษีมากขึ้น และตัดสวัสดิการต่าง ๆ ลง

นอกจากนี้ หลายฝ่ายยังแสดงความกังวลด้วยว่า แผนการขึ้นภาษีนิติบุคคลจาก 19% ไปเป็น 25% จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในประเทศ และเป็นแนวทางที่ผิดพลาด

ข้อมูล :


ข่าวที่เกี่ยวข้อง