KEY :
- สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศ มีแนวโน้มลดลงในหลายพื้นที่ แต่ยังคงเกินค่ามาตรฐาน
- ภาคเหนือ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ลดลง จากการระบายอากาศที่ดีขึ้น แต่ยังคงมีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ยังมีฝุ่นควันสะสมตัวได้
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การระบายอากาศยังคงไม่ดีนัก ฝุ่นควันจึงยังอยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงเดิม
- ภาคกลาง การระบายอากาศดีขึ้น อากาศเริ่มเปิดมากขึ้น ร่วมกับการมีฝนฟ้าคะนอง แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 เริ่มลดลง
…
สำหรับสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในวันนี้ (17 มี.ค. ) เมื่อเวลา 08.00 น. จากรายงานของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า แนวโน้มของปริมาณฝุ่น PM 2.5 ลดลงในหลายพื้นที่ แม้จะยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐานก็ตาม โดยเฉพาะในภาคเหนือที่หลายพื้นที่ปริมาณฝุ่นลดลงเรื่อย ๆ จากเมื่อวานที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงวันที่ 18-25 มี.ค. การระบายอากาศในพื้นที่ภาคเหนือจะเริ่มดีขึ้น แต่ยังคงมีสภาพอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันยังคงมีสะสมตัวได้อยู่
สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ยังคงพบว่า มีฝุ่น PM 2.5 อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงเดิม ลดลงในบางพื้นที่ และยังคงสูงอยู่ในเกณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอยู่บริเวณทางตอนบนของภาค ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะนี้ จนถึงวันที่ 20 มี.ค. การระบายอากาศทำได้ไม่ดีนัก และมีสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นต่อเนื่อง ดังนั้น ต้องรอหลังจากช่วงวันที่ 21 มี.ค. ไปแล้ว สภาพอากาศจึงน่าจะดีขึ้น
ส่วนบริเวณภาคกลาง มีแนวโน้มที่มีฝุ่น PM 2.5 ลดลงในหลายพื้นที่ แต่ยังคงมีบางพื้นที่ที่ฝุ่นละออง PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งเป็นช่วงที่ภาคกลางมีการระบายอากาศที่ดีขึ้น อากาศยกตัวลอยสูงขึ้น ร่วมกับการมีฝนในบางพื้นที่ ทำให้ฝุ่นควันสะสมได้ลดลง
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น
…
กทม. – ปริมณฑล สถานการณ์เริ่มดีขึ้น
สถานการณ์ฝุ่นในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล มีแนวโน้มที่เริ่มลดลง เนื่องจากในระยะนี้ การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี อุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้อากาศยกตัวลอยสูงขึ้น มีสภาพอากาศเปิดมากขึ้น มีกระแสลมใต้ช่วยพัดฝุ่นไม่ให้สะสมตัว ร่วมกับมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ทำให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้น้อยลง และคาดว่า สภาพอากาศจะค่อย ๆ ดีขึ้น
โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา มีพื้นที่ที่พบว่า มีค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานอยู่เพียง 1 พื้นที่เท่านั้นคือ ที่เขตบางขุนเทียน
สำหรับรายงานการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ 10 อันดับสูงสุด ในเช้าวันนี้ (08.00 น.) ได้แก่
จุดตรวจวัด | ค่าฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | เขตบางขุนเทียน (สถานี คพ.) | 57 |
2 | เขตหนองจอก | 42 |
3 | เขตบางนา | 40 |
4 | เขตบางซื่อ | 40 |
5 | เขตประเวศ | 39 |
6 | เขตดินแดง (สถานี คพ.) | 38 |
7 | เขตสัมพันธวงศ์ | 36 |
8 | เขตวังทองหลาง | 36 |
9 | เขตคลองสาน | 36 |
10 | เขตคลองเตย | 36 |
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ค่าฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | รร.บ้านห้วยทรายขาว ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน | 238 |
2 | รพ.บ่อเกลือ ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน | 213 |
3 | รพ.สมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า ต.หล่มเก่า อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ | 204 |
4 | สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ | 198 |
5 | โรงพยาบาลปากคาด จ. บึงกาฬ | 169 |
6 | รพ.สต. รัตนวาปี จ. หนองคาย | 162 |
7 | โรงเรียนบ้านน้ำช้างพัฒนา ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน | 157 |
8 | ตลาดสดบ้านหล่ายแก้ว ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน | 153 |
9 | โรงเรียนหม่อมเจ้า เจริญใจ จิตรพงศ์ ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน | 151 |
10 | หมู่ 9 ต.คำน้ำแซบ อ.วารินชำราบจ. อุบลราชธานี | 150 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
…
จุดความร้อนในไทยเพิ่มขึ้น
สำหรับจำนวนจุดความร้อนในภูมิภาคมีจำนวนลดลง โดยเมื่อวานที่ผ่านมา (16 มี.ค.) พบจุดความร้อนทั้งหมด 5,577 จุด โดยพบใน
- ลาว 2,320 จุด
- เมียนมาร์ 1,067 จุด
- กัมพูชา 1016 จุด
- ไทย 653 จุด
- เวียดนาม 478 จุด
- มาเลเซีย 43 จุด
สำหรับในประเทศไทยนั้น มีจำนวนลดลงจากเมื่อวันก่อน และกระจายกันในหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบน โดย 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสุ
จังหวัด | จำนวนจุดความร้อน | |
---|---|---|
1 | ชัยภูมิ | 62 |
2 | กาญจนบุรี | 57 |
3 | เลย | 48 |
4 | แม่ฮ่องสอน | 48 |
5 | อุบลราชธานี | 46 |
6 | สกลนคร | 39 |
7 | นครพนม | 33 |
8 | เพชรบูรณ์ | 33 |
9 | อุทัยธานี | 31 |
10 | น่าน | 28 |