KEY :
- แนวโน้มของค่าฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยยังทรงตัว โดยในภาคเหนือยังคงอยู่ในเกณฑ์สูงเกินค่ามาตรฐานและเป็นอันตรายต่อสุขภาพหลายพื้นที่ และคาดว่าจะสูงต่อเนื่องอีกระยะ
- ภาคกลาง โดยเฉพาะทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่สูงเกินค่ามาตรฐานเช่นกัน
- กรุงเทพฯ ปริมณฑล อยู่ในเกณฑ์เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายพื้นที่ โดยคาดว่า หลัง 9 มี.ค. สถานการณ์จะดีขึ้น
…
แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 บริเวณประเทศไทยในวันนี้ ( 9 มี.ค.) หลายพื้นที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) หรือ อยู่ในเกณฑ์เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) ซึ่งในภาคเหนือและภาคกลางมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น
สำหรับในภาคเหนือ สถานการณ์ของฝุ่น PM 2.5 ยังคงสูงต่อเนื่องและอยู่ในเกณฑ์สีส้มและสีแดง ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะด้านตะวันออกของภาค
ซึ่งในระยะนี้ เป็นช่วงของกระแสลมที่กำลังเปลี่ยนทิศทางจากลมตะวันออกเฉียงเหนือ สู่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ลมที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยมีกำลังอ่อน ส่งผลให้ฝุ่นไม่ถูกพัดกระจายออกไป นอกจากนี้ ยังมีสภาพอากาศปิดส่งผลให้ฝุ่นสะสมตัวได้ดีขึ้น
ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือจะมีกระแสลมอ่อนและสภาพอากาศปิด ไปจนถึงช่วงวันที่ 12 มี.ค. จึงจะเริ่มดีขึ้น ส่วนภาคกลางกระแสลมใต้จะช่วยพัดพาฝุ่นกระจายออกไปในช่วงวันที่ 9-10 มี.ค. ก่อนที่คาดว่าจะกลับมาสูงอีกครั้งในช่วง 13-14 มี.ค.
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 12-14 มี.ค. กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่า จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบริเวณประเทศไทยตอนบน โดยเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง มีลมกระโชกแรก และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ จึงคาดว่า จะช่วยลดฝุ่นละอองในอากาศลงได้มากขึ้น
…
กรุงเทพฯ เริ่มกลับมาสูงขึ้น
สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ ค่าฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้ ( 9 มี.ค.) ปริมาณฝุ่น PM 2.5 จากรายงานของกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร พบว่า ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ เริ่มมีฝุ่นลดลงจากเมื่อวานเล็กน้อย แต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) และมีพื้นที่ในเขตบางขุนเทียน และ เขตบึงกุ่ม ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
คาดว่า หลังจากวันที่ 9 มี.ค. สถานการณ์น่าจะเริ่มดีขึ้น และจะมีพายุฝนฟ้าคะนองในช่วง 12-14 มี.ค. จึงคาดว่า สถานการณ์น่าจะดีขึ้นต่อเนื่อง
จุดตรวจวัด | ค่าฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | เขตบางขุนเทียน (สถานี คพ.) | 110 |
2 | เขตบึงกุ่ม | 94 |
3 | เขตประเวศ | 82 |
4 | เขตสาทร | 81 |
5 | เขตทวีวัฒนา | 80 |
6 | เขตสัมพันธวงศ์ | 78 |
7 | เขตหนองจอก | 77 |
8 | เขตบางนา | 76 |
9 | เขตคลองสามวา | 76 |
10 | เขตปทุมวัน | 75 |
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ค่าฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | รร.บ้านห้วยทรายขาว ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน | 373 |
2 | องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขุนราม จ.กำแพงเพชร | 361 |
3 | บ้านหัวโท ม. 6 ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 309 |
4 | รพ.บ้านหมี่ ต.บ้านหมี่ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี | 281 |
5 | สสอ.ลาดยาว ต.ลาดยาว อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ | 276 |
6 | สถานบริการสาธารณสุขชุมชนบ้านเมืองนะ จ.เชียงใหม่ | 273 |
7 | ตลาดสดบ้านหล่ายแก้ว ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน | 273 |
8 | รพ.สต.บ้านเมืองงาย ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 262 |
9 | บ้านใหม่ปูเลย ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ | 260 |
10 | โรงเรียนบ้านน้ำช้างพัฒนา ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน | 256 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
…
จุดความร้อนในภูมิภาคยังสูง
สำหรับรายงานจุดความร้อนของ GISTDA พบว่า ในประเทศไทยมีจุดความร้อนจำนวน 1,237 จุด มีแนวโน้มที่ลดลงในระยะนี้ ในขณะที่เมียนมาร์ และ ลาวยังคงอยู่ในระดับที่สูง โดยพบจำนวน 4,949 และ 2,913 จุดตามลำดับ ส่วนในกัมพูชาพบจำนวน 1,888 จุด
สำหรับรายงานจุดความร้อนในประเทศไทย 10 อันดับแรกได้แก่
จังหวัด | จำนวนจุดความร้อน | |
---|---|---|
1 | กาญจนบุรี | 221 |
2 | เพชรบูรณ์ | 90 |
3 | ชัยภูมิ | 82 |
4 | แม่ฮ่องสอน | 61 |
5 | ตาก | 51 |
6 | น่าน | 46 |
7 | เชียงใหม่ | 46 |
8 | เลย | 45 |
9 | อุทัยธานี | 45 |
10 | นครราชสีมา | 43 |