KEY :
- คณะผู้แทนการเจรจาจากชาติต่าง ๆ กว่า 100 ประเทศ ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันใน สนธิสัญญาทะเลหลวง ในการประชุมที่สำนักงานสหประชาชาติ
- โดยกำหนดเป้าหมายกำหนดพื้นที่ 30% ของทะเลหลวงให้เป็นพื้นที่คุ้มครอง ภายในปี 2030
- ซึ่งที่ผ่านมามีพื้นที่ทะเลหลวงเพียง 1% เท่านั้นที่ได้รับการคุ้มครอง ส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางทะเลจากกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมากและส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก
…
คณะผู้เจรจาจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติกว่า 100 ประเทศได้บรรลุข้อตกลงร่วมการในรายละเอียดของ สนธิสัญญาทะเลหลวงของสหประชาชาติ (UN High Seas Treaty) ซึ่งนับเป็นสนธิสัญญาการปกป้องทะเลหลวงฉบับแรกที่ได้บรรลุข้อตกลงนี้ หลังจากต้องใช้เวลาในการหารือ ปรับแก้ไขต่าง ๆ มาอย่างยาวนานนับสิบปี
โดยสนธิสัญญาทะเลหลวงของสหประชาชาติ กำหนดให้พื้นที่ 30% ของทะเลอยู่ในความคุ้มครอง ภายในปี 2030 หรือในอีก 7 ปีข้างหน้า ตามที่ได้มีความเห็นชอบร่วมกันในครั้งนี้ เพื่อเป็นการปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ภายหลังจากมีการประชุมเจรจาพูดคุยกันนานกว่า 30 ชั่วโมงตั้งแต่เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาในสำนักงานใหญ่สหประชาติ ในนิวยอร์ก ท่ามกลางข้อถกเถียงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากสนธิสัญญาฉบับนี้ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเกี่ยวข้องกับหลายประเทศ เช่น ประเด็นเกี่ยวกับการแบ่งปันประโยชน์ของทรัพยากรณ์ทางทะเล รวมถึง
ซึ่งทะเลหลวงตามสนธิสัญญาฉบับนี้ จะส่งผลให้ทรัพยากรทางทะเลได้รับการคุ้มครองมากขึ้น ที่ผ่านมาพื้นที่ราว 60% ของมหาสมุทรของโลก ถือเป็นน่านน้ำสากล ส่งผลให้ทุกประเทศมีสิทธิในการใช้ประโยชน์ แต่มีเพียง 1.2 เปอร์เซ็นต์ของทะเลหลวงเท่านั้นที่ได้รับการคุ้มครอง
และพื้นที่น่านน้ำสากลเหล่านี้ จึงกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกล่วงละเมิดดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อหาประโยชน์ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การทำประมงน้ำลึก การทำเหมืองแร่ใต้ทะลึก ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า หากยังคงปล่อยให้มีการดำเนินการเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลกระทบต่อโลกมากยิ่งขึ้น
สำหรับ สนธิสัญญาทะเลหลวงของสหประชาชาติ (UN High Seas Treaty) ฉบับนี้ จะได้รับการรับรองและลงนาม พร้อมทั้งให้สัตยาบัตร่วมกันในการกำหนดพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในบริเวณน่านน้ำสากล และกำหนดให้ต้องมีการดำเนินการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทะเลหลวง
…
ทะเลหลวง และความสำคัญ
ทะเลหลวงหมายถึงพื้นที่ของทะเล ที่ไม่ได้อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (exclusive economic zone) ในทะเลอาณาเขต หรือน่านน้ำภายในของรัฐใด ซึ่งทะเลหลวง หรือที่เข้าใจอย่างง่ายนั่นคือ “น่านน้ำสากล” มีเสรีภาพ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น เสรีภาพในการเดินเรือ, การบิน, การทำประมง ฯลฯ
ซึ่งที่ผ่านมามีเพียงพื้นที่ 1.2% เท่านั้นที่ไดรับการคุ้มครอง ทำให้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่อยู่ในทะเลหลวงนอกเขตคุ้มครองเหล่านี้ ถูกใช้ประโยชน์ได้อย่างเสรี ส่งผลให้สัตว์ทะเลเกือบ 10% ได้รับความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ตามรายงานของ IUCN
และสาเหตุหลักของความเสี่ยงต่อการสูญนั้นเกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรทางทะเลที่มากเกินไป กิจกรรมของมนุษย์ส่งผลกระทบและกลายเป็นมลพิษ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมามากกว่าหนึ่งในสี่กําลังถูกดูดซับโดยมหาสมุทร และทำให้มหาสมุทรกำลังกลายเป็นกรดมากขึ้นทีละน้อย ซึ่งมีสิ่งมีชีวิตราว 41% สายพันธุ์ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี้
นอกจากนี้ เรายังได้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในช่วงปีที่ผ่านมา เช่น การเกิดพายุต่าง ๆ ที่รุนแรงมากขึ้น ที่คาดว่าเกิดจากการเกิดคลื่นความร้อนในทะเลเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น กระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในทะเล
อุตสาหกรรมทางทะเลที่เกิดขึ้นนั้น มีมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในแต่ละปี มีปลาราว 10 ล้านตันที่ต้องถูกทิ้งไปในกระบวนการแปรรูป ในอุตสหากรรมอาหารทะเลที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ น้ำเสียราว 80% ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ถูกทิ้งลงสู่ทะเล โดยไม่ผ่านการบำบัด และก่อให้เกิดมลพิษมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่ยากจน ซึ่งน้ำเสีย 95% ถูกทิ้งลงทะเลโดยไม่มีการบำบัด