คัดลอก URL แล้ว
วิจัยชี้ ‘ฉีดวัคซีนโควิด-19’ เชื่อมโยงการเจอปัญหาหัวใจ-หลอดเลือดน้อยลง

วิจัยชี้ ‘ฉีดวัคซีนโควิด-19’ เชื่อมโยงการเจอปัญหาหัวใจ-หลอดเลือดน้อยลง

KEY :

งานวิจัยฉบับใหม่เสนอว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) เชื่อมโยงกับการเกิดอาการหัวใจวาย เส้นเลือดในสมองตีบ รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ น้อยลงในกลุ่มผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Sars-CoV-2) ซึ่งก่อโรคโควิด-19

งานวิจัยดังกล่าว ซึ่งเผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยโรคหัวใจอเมริกัน (Journal of the American College of Cardiology) เมื่อวันจันทร์ (20 ก.พ.) เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ศึกษาการฉีดวัคซีนทั้งแบบครบโดสและแบบไม่ครบโดส และความเชื่อมโยงกับภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจที่รุนแรง (MACE) ในสหรัฐฯ

คณะนักวิจัยจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ไอคาห์นแห่งภูเขาซีนาย ใช้ฐานข้อมูลความร่วมมือโควิดแห่งชาติของสหรัฐฯ ศึกษาผู้ป่วย 1,934,294 ราย ซึ่งส่วนหนึ่ง 217,843 รายได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอของไฟเซอร์-ไบออนเทคหรือโมเดอร์นา หรือวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดไวรัลเวกเตอร์ของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน

กีริช เอ็น. นาดการ์นี ผู้เขียนอาวุโสและศาสตราจารย์การแพทย์จากวิทยาลัยฯ กล่าวว่าวิทยาลัยฯ พยายามแจกแจงผลกระทบจากการฉีดวัคซีนก่อนหน้านี้ต่ออาการที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 และพบว่าผู้ที่มีโรคร่วมอย่างภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจที่รุนแรง เบาหวานชนิดที่ 2 คอเลสเตอรอลสูง โรคตับ และโรคอ้วน มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่ต่ำกว่า

ทั้งนี้ นาดการ์นีระบุว่าแม้เราไม่สามารถระบุสิ่งที่เป็นสาเหตุได้ แต่งานวิจัยนี้ก็เป็นหลักฐานสนับสนุนว่าการฉีดวัคซีนอาจมีผลดีต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หลังป่วยเป็นโรคโควิด-19


ที่มา – ซินหัว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง