KEY :
- แนวโน้มค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค
- ปัจจัยหลักมาจากสภาพอากาศปิด กระแสลมอ่อน มีอากาศเย็นในตอนเช้า จำนวนจุดความร้อนในภูมิภาคกลับมาเพิ่มสูงขึ้นในทุกประเทศ ทำให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้ดีขึ้น
- กรุงเทพฯ ปริมณฑลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นกันในระยะนี้
…
จากรายงานการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ของเว็บไซต์ของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.00 น. พบว่า ในวันนี้ (22 ก.พ.) ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ด้านตะวันตกของภาค รวมถึงภาคตะวันออก
เนื่องจากในระยะนี้ สภาพอากาศปิด กระสมลมที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง และมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่งผลให้ฝุ่นควันต่าง ๆ สามารถสะสมตัวได้ดี โดยในระยะนี้
โดยในช่วง 23-25 ก.พ. 66 บริเวณภาคเหนือ โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค, ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพฯ มีแนวโน้มที่ค่าฝุ่น PM 2.5 จะเพิ่มสูงขึ้น
…
กรุงเทพฯ เริ่มกลับมาสูงขึ้น
เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา จากรายงานของกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ในวันนี้ แนวโน้มค่าฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ เพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานที่ผ่านมา
โดยมีจำนวน 14 พื้นที่ด้วยกันที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว (สีส้ม) สำหรับ 10 พื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 เฉลี่ยในรอบ 24 ชม. สูงที่สุดในพื้นที่กทม. ได้แก่
จุดตรวจวัด | ค่าฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | เขตลาดกระบัง | 59 |
2 | เขตบางขุนเทียน | 58 |
3 | เขตประเวศ | 56 |
4 | เขตบึงกุ่ม | 56 |
5 | เขตคลองสามวา | 55 |
6 | เขตหนองแขม | 54 |
7 | เขตบางนา | 53 |
8 | เขตภาษีเจริญ | 53 |
9 | เขตมีนบุรี | 52 |
10 | เขตทวีวัฒนา | 52 |
โดยในช่วง 22 – 25 ก.พ. จะเป็นช่วงที่สภาพอากาศปิด กระแสลมอ่อน และมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่งผลให้ฝุ่นควันที่เกิดขึ้นในพื้นที่สะสมตัวได้ดี และไม่ถูกพัดกระจายออกไป ทำให้ค่าฝุ่น PM 2.5 จะส่งขึ้นในช่วงดังกล่าว
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ค่าฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | อบต. ท่าขุนราม จ.กำแพงเพชร | 496 |
2 | ตลาดสดบ้านหล่ายแก้ว ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน | 266 |
3 | รพ.วังเจ้า ต.เชียงทอง อ.วังเจ้า จ.ตาก | 248 |
4 | รร.บ้านห้วยทรายขาว ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน | 238 |
5 | รพ.สต.บ้านงิ้วเฒ่า ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย | 234 |
6 | บ้านห้วยหินฝน ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก | 229 |
7 | รพ.สมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า ต.หล่มเก่า อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ | 193 |
8 | รพ.ทองแสนขัน | 184 |
9 | รพ.สต. ทุ่งแค้ว จ. แพร่ | 182 |
10 | จุดเฝ้าระวังฝุ่น PM ทต.เหมืองจี้ อ.เมือง จ.ลำพูน | 181 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
…
จุดความร้อนยังสูง โดยเฉพาะภาคเหนือ
จากรายงานจุดความร้อนของทาง GISTDA พบว่า จุดความร้อนในภูมิภาคมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นขึ้นเกือบเท่าตัว โดยพบทั้งหมด 8,333 จุด ซึ่งเพิ่มขึ้นในทุกประเทศในภูมิภาค โดยพบใน
- เมียนมาร์ 3,638 จุด (เพิ่มขึ้น)
- กัมพูชา 2,092 จุด (เพิ่มขึ้น)
- ไทย 1,251 จุด (เพิ่มขึ้น)
- ลาว 1,197 จุด (เพิ่มขึ้น)
- เวียดนาม 139 จุด (เพิ่มขึ้น)
- มาเลเซีย 16 จุด (เพิ่มขึ้น)
สำหรับในพื้นที่ประเทศไทยมีจำนวนจุดความร้อนเพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ โดยพบใน
- ป่าอนุรักษ์ 365 จุด
- ป่าสงวนแห่งชาติ 354 จุด
- พื้นที่เกษตร 237 จุด
- พื้นที่ สปก. 150 จุด
- ชุมชนและอื่น ๆ 137 จุด
- พื้นที่ริมทางหลวง 8 จุด