คัดลอก URL แล้ว
ภาคกลาง – อีสานตอนบนฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น / ภาคเหนือสูงต่อเนื่อง

ภาคกลาง – อีสานตอนบนฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น / ภาคเหนือสูงต่อเนื่อง

KEY :

สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 ในประเทศไทยวันนี้ จากรายงานของเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เวลา 08.00 น. พบว่า ปริมาณค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กขยับเพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่ในช่วง 2 วันก่อนหน้า มีแนวโน้มดีขึ้น

สำหรับในภาคเหนือ สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับสีส้ม – สีแดงเป็นส่วนใหญ่เกือบทั้งภาค แม้ว่าในวันนี้จะลดลงจากช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้าก็ตาม

ส่วนทางด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีค่าฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น จากวันก่อนค่อนข้างมาก

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในขณะที่ภาคกลางตอนบน มีเพิ่มสูงขึ้น แม้ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับสีส้มก็ตาม

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า

จุดตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5*
1รร.อนุบาลมยุรี
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
244
2รพ.สต.บ้านแม่ปั๋ง
ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
242
3บ้านสัน
ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
223
4บ้านหัวทุ่ง
ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
214
5บ้านสันติสุข
ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
210
6บ้านห้วยน้ำกลืน
ต.แม่เจดีย์ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
207
7บ้านฮ่างต่ำ
ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
206
8บ้านทุ่งห้า
ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
203
9ตลาดสดบ้านหล่ายแก้ว
ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
200
10รพ. ฮอด
อ.ฮอด จ. เชียงใหม่
195

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงเช้าที่ผ่านมา สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ได้รายงานผลการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองในอากาศ

เมื่อเวลา 07.00 น. ที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) สามารถตรวจวัดได้อยู่ระหว่าง 24-46 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร โดยเฉลี่ยในพื้นที่กรุงเทพฯ อยู่ที่ 34.1 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร

โดยสถานการณ์ฝุ่นละอองในกรุงเทพฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกพื้นที่ที่มีการตรวจวัด ซึ่งอัตราการระบายอากาศในช่วงวันที่ 30 ม.ค.-1 ก.พ. 66 จะไม่ดี เนื่องจากเพดานอากาศต่ำ เกิดสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง

ช่วงวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นช่วงที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มค่อนข้างลดลงถึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยสลับกันในช่วงนี้

อีกปัจจัยหนึ่งมาจาก ความกดอากาศสูงจากจีนจะออกมานอกชายฝั่งทำให้ทิศของลมหนาวนั้นเปลี่ยนจากตะวันออกเฉียงเหนือมาเป็นตะวันออก ส่งผลให้จะมีการเริ่มพัดพาฝุ่นควันจากกัมพูชาเข้าสู่ประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติของการเปลี่ยนผ่านไปยังฤดูร้อน ลมใต้จะทวีกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอากาศเย็นกับมีลมแรง

ซึ่งภาพรวมของกรุงเทพฯ 10 อันดับแรกที่พบค่าฝุ่นละอองสูงเฉลี่ยในรอบ 24 ชั่วโมงจากจุดตรวจวัดของกรุงเทพฯ เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (28 ม.ค.) ได้แก่

จุดตรวจวัดPM 2.5* (เฉลี่ย 24 ชม.)
1เขตคลองสามวา48
2เขตลาดกระบัง45
3เขตบางซื่อ44
4เขตปทุมวัน43
5เขตดินแดง41
6เขตยานนาวา41
7เขตประเวศ41
8เขตบางพลัด41
9เขตดอนเมือง40
10เขตคันนายาว40

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

จุดความรัอนยังพบทั้งในและนอกประเทศ

สำหรับรายงานจุดความร้อนจากดาวเทียม ในระบบ VIIRS ของ GISTDA ของวันที่ 29 ม.ค. พบว่า มีแนวโน้มลดลงจากเมื่อวันที่ 28 ม.ค. แต่ไม่มากนัก ซึ่งแนวโน้มในประเทศกัมพูชายังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงอย่างต่อเนื่อง

สำหรับในประเทศไทย จุดความร้อนที่พบในขณะนี้ พบในพื้นที่ป่าสงวน 219 จุด พื้นที่เกษตร 190 จุด, ป่าอนุรักษ์ 160 จุด เขตสปก. 112 จุด พื้นที่ชุมชนและอื่น ๆ 84 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 6 จุด


ข่าวที่เกี่ยวข้อง