คัดลอก URL แล้ว
องค์การอนามัยโลกประกาศเปลี่ยนชื่อ Monkeypox (ฝีดาษลิง) เป็น Mpox (เอ็มพ็อกซ์)

องค์การอนามัยโลกประกาศเปลี่ยนชื่อ Monkeypox (ฝีดาษลิง) เป็น Mpox (เอ็มพ็อกซ์)

KEY :

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเปลี่ยนชื่อ “โรคฝีดาษลิง” หรือ Monkeypox เป็น “mpox” แล้ว โดยจะเริ่มใช้ชื่อใหม่ในในปี 2023 ควบคู่กับการใช้ชื่อเดิมคือ Monkeypox ไปอีกระยะเวลา 1 ปี เพื่อป้องกันความสับสนที่อาจจะเกิดขึ้น

โดยองค์การอนามัยโลกได้อธิบายถึงสาเหตุของการเปลี่ยนชื่อโรคในครั้งนี้ว่า หลังจากการระบาดของโรคฝีดาษลิง ตั้งแต่เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา และได้มีการกระจายไปยังประเทศต่าง ๆ หลายประเทศในโลก ทำให้พบการเหยียดเชื้อชาติ การตีตรา เกิดขึ้นในวงกว้าง โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ ทำให้เกิดความกังวลต่อการใช้ชื่อดังกล่าว จึงได้มีการเสนอให้เปลี่ยนชื่อโรคฝีดาษลิงใหม่

นอกจากนี้ ในช่วงที่มีการระบาดของโรคฝีดาษลิงในช่วงที่ผ่านมา ยังก่อให้ความเข้าใจผิดเกิดขึ้นในวงกว้างว่า การติดเชื้อนั้นเกิดขึ้นจากลิงเป็นสัตว์พาหะนำโรค ทั้งที่ในความเป็นจริง โรคฝีดาษลิงที่ระบาดในปีที่ผ่านมานี้ เกิดขึ้นจากมนุษย์ และสิ่งที่เกิดขึ้นนำไปสู่เหตุการณ์ทำร้ายลิงมากขึ้นในบางประเทศ เพราะความเข้าใจที่ผิดพลาดดังกล่าว

โดยได้มีการอภิปรายถึงแนวทางในการเปลี่ยนชื่อใหม่ จากผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่าย รวมถึงประชาชนทั่วไป ที่ได้เสนอชื่อเข้ามาผ่านทางช่องทางออนไลน์ที่ทางองค์การอนามัยโลกได้เปิดรับ และได้ข้อสรุปภายหลังการปรึกษาหารือ และอภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวข้อง จึงได้เป็นข้อสรุปในครั้งนี้ โดย

สำหรับชื่อโรคฝีดาษลิง หรือ Monkeypox นั้นได้รับการตั้งชื่อตั้งแต่ปีค.ศ. 1970 หลังค้นพบไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุให้ลิงที่ถูกนำมาวิจัยมีอาการป่วยเป็นโรคคล้ายโรคฝีดาษ ในปี ค.ศ. 1958

ยอดผู้ป่วย-เสียชีวิตจากฝีดาษลิง

รายงานการพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงช่วงก่อนหน้านี้ ก็มีการรายงานพบการระบาดในกลุ่มประเทศในเขตเเอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก จนกระทั่งในช่วงต้นปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา มีการพบการติดเชื้อของโรคฝีดาษลิงนอกพื้นที่การระบาดในเขตเเอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก เป็นครั้งแรก โดยพบในผู้ป่วยที่มีความเชื่อมโยงจากงานปาร์ตี้สังสรรค์ในกลุ่มชายรักชายที่ประเทศสเปน และเบลเยียม ก่อนพบการระบาดเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มประเทศยุโรป

ก่อนที่จะกระจายไปยังประเทศอื่น ๆ รวมถึงสหรัฐฯ ด้วย ทำให้ยอดผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในขณะนี้ มีรายงานการพบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษลิงแล้ว 81,188 ราย โดยในจำนวนนี้กว่า 8 หมื่นราย คือผู้ป่วยยืนยันที่พบในประเทศที่ไม่เคยมีประวัติการระบาดของโรคฝีดาษลิงมาก่อน จนกระทั่งพบการระบาดในช่วงต้นปีที่ผ่านมา และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 55 ราย ทั่วโลก

ประเทศที่พบผู้ป่วยผู้ป่วยยืนยันผู้เสียชีวิต
สหรัฐอเมริกา29,28814
บราซิล9,90512
สเปน7,4053
ฝรั่งเศส4,1070
โคลัมเบีย3,8030
สหราชอาณาจักร3,7200
เยอรมนี3,6720
เปรู3,4440
เม็กซิโก3,2924
แคนาดา1,4490
ข้อมูล 29 พ.ย. 2565

ซึ่งสหรัฐฯ ยังคงเป็นประเทศที่พบการติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุด โดยสาเหตุหลักของการติดเชื้อนั้นมาจากการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายรักชาย

และการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นมักพบในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือกลุ่มผู้ป่วยที่เป็น HIV ที่ไม่ได้รับประทานยาต้านไวรัส ทำให้มีอาการป่วยหนักกว่าผู้ป่วยทั่วไป รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่มากกว่า

หลายประเทศในสหรัฐฯ ยุโรป ได้มีการกระจายวัคซีนโรคฝีดาษลิงให้กับกลุ่มเสี่ยงไปแล้วตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมา ร่วมกับมาตรการการขอความร่วมมือในการลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ หรือการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เพิ่งรู้จัก

โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา วัคซีนโรคฝีดาษลิงประสบปัญหาขาดแคลนอย่างต่อเนื่อง หลังประเทศในยุโรปและสหรัฐฯ มีคำสั่งซื้อจำนวนมาก ส่งผลให้ประเทศอื่น ๆ ต้องรอคิวในการรับวัคซีนเป็นระยะเวลานาน

รวมถึงจำนวนของการผลิตที่มีจำกัด ทำให้ไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในขณะนั้น และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดระบุว่า วัคซีนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการป้องกันโรค แต่สิ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงได้มากนั่นคือ การลด เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า หรือคนที่เพิ่งรู้จัก ไม่ว่าจะผ่านทางแอปฯ หรือสถานที่นัดพบ สังสรรค์ ผับ บาร์ สปา หรือซาวน่า


ที่มา – https://www.who.int/news/item/28-11-2022-who-recommends-new-name-for-monkeypox-disease


ข่าวที่เกี่ยวข้อง