คัดลอก URL แล้ว
ยูเอ็นระบุ ทั่วโลกมีประชากรโลก 8 พันล้านคนแล้ว

ยูเอ็นระบุ ทั่วโลกมีประชากรโลก 8 พันล้านคนแล้ว

KEY :

องค์การสหประชาชาติได้รายงานจำนวนประชากรในโลก โดยประเมินว่า ในวันนี้ ( 15 พ.ย. ) ประชากรทั่วโลกมีอยู่กว่า 8 พันล้านคนแล้ว ซึ่งถือเป็นก้าวที่สำคัญในการพัฒนาของมวลมนุษยชาติ เนื่องจากการเติบโตของจำนวนประชากรจำนวนมากเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งเป็นเหตุผลมาจากการพัฒนาและความก้าวหน้าในด้านสาธารณสุข และการแพทย์ ทำให้ภายในระยะเวลาเพียง 12 ปี ประชากรโลกเพิ่มขึ้นจาก 7 พันล้านคน เป็น 8 พันล้านคน

แต่องค์การสหประชาชาติประเมินว่า หลังจากนี้ จำนวนประชากรทั่วโลกจะชะลอตัวลง และต้องใช้เวลาอีกราว 15 ปี ที่จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 8 พันล้านคน เป็น 9 พันล้านคน ในปี 2580

ที่ผ่านมานั้น ประเทศที่มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวต่ำที่สุด การเติบโตของประชากรโลกกระจุกตัวอยู่ในประเทศที่ยากจนที่สุดของโลก เช่น ในซาฮารา ของแอฟริกา

ยุโรปประชากรจะลดลง

จากรายงานของสหประชาชาติระบุว่า ในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง และประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ในทวีปเอเซีย และแอฟริกา มีอัตราการเกิดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมา ในขณะที่ประชากรในยุโรปกำลังจะมีแนวโน้มที่ลดลงในไม่ช้านี้

ส่วนหนึ่งในการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในเอเซีย นั่นคือ “อินเดีย” ซึ่งมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและแซงหน้าจีนกลายเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก และจีน ก็มีแนวโน้มที่จะจำนวนประชากรจะเริ่มลดลงในไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า

การเติบโตของประชากรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นนั้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รายได้ต่อหัวที่เพิ่มขึ้น กำลังขับเคลื่อนรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตของรายได้ต่อหัวประชากรนั้น มีการใช้ทรัพยากรและปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ซึ่งการเจริญเติบโตที่ช้าลงในช่วงหลังนี้ อาจจะช่วยในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น

António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า ในวันประชากรโลกในวันนี้ ถือเป็นวันที่สำคัญเนื่องปจากมีการเกิดของผู้คนบนโลกอาศัยอยู่ร่วมกัน 8 พันล้านคน เป็นโอกาสดีที่จะเฉลิมฉลองและตระหนักถึงการอยู่ร่วมกัน และความก้าวหน้าด้านสาธารณสุขช่วยยืดอายุขัยและลดอัตราการเสียชีวิตของแม่และเด็กได้อย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันเป็นเครื่องเตือนใจในเราต้องตระหนักและรับผิดชอบในการดูแลโลกนี้ร่วมกัน”

โดยนาย António Guterres ได้ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2493 อัตราการเกิดทั่วโลกอยู่ที่ราว 2.1 ครั้งต่อเพศหญิง 1 คน แนวโน้มของประชากรโลกในช่วงปี 2020 มีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน กว่า 2 ใน 3 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่มีมีอัตราการเกิดที่ต่ำ และปัจจุบันอัตราการเกิดอยู่ที่ 2.3 ครั้งต่อเพศหญิง 1 คน ซึ่งคาดว่า ในปี 2593 จะลดลงเหลือ 2.1 ครั้งต่อเพศหญิง 1 คน

สหประชาชาติ ประเมินว่า ประชากรโลกอาจเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8.5 พันล้านคนในปี 2573 และ 9.7 พันล้านคนในปี 2593 คาดว่าจะถึงจุดสูงสุดประมาณ 10.4 พันล้านคนในช่วงทศวรรษ 2080 และยังคงอยู่ในระดับนั้นจนถึงปี 2100

แนะประเทศต่าง ๆ รับมือสังคมผู้สูงอายุ

ในขณะที่ประชากรของโลกที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป คาดว่าจะเพิ่มจากราวร้อยละ 10 ในปี 2565 นี้ เป็นร้อยละ 16 ในปี 2593 ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ถึง 2 เท่า หรือ เท่ากับจำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีทั่วโลก

เลขาธิการสหประชาชาติยังได้ระบุว่า ประเทศที่มีประชากรสูงอายุจึงควรมีการดำเนินการในการปรับโครงสร้างสาธารณะต่าง ๆ ให้เข้ากับผู้สูงอายุ รวมถึงการจัดตั้งระบบดูแลสุขภาพถ้วนหน้าในระยะยาว เพิ่มการเข้าถึงระบบประกันสังคมและบำเหน็จบำนาญอย่างยั่งยืนด้วย


ที่มา :


ข่าวที่เกี่ยวข้อง