จังหวัดชัยนาท น้ำในเขื่อนวันนี้ยังเป็นสีขุ่นแดง ปรับอัตราการระบายน้ำอยู่ที่ 2500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยปกติแล้วการระบายน้ำของท้ายเขื่อนเจ้าพระยาสามารถที่จะระบายได้อยู่ที่ 2850 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่หลังจากจังหวัดนครสวรรค์มีน้ำไหลผ่านมากขึ้นอยู่ที่ 2300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ถึงเจ้าพระยาจำเป็นต้องระบายน้ำ ครั้งแรกกรมชลประทานมีแจ้งเตือนที่ระดับ 2000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีแต่เนื่องจากอิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่ทำให้ฝนตกหนักท้ายเขื่อนจึงจำเป็นต้องเร่งระบายน้ำ
ขณะนี้เขื่อนเจ้าพระยาได้ขึ้นธงสีเหลืองแจ้งเตือนประชาชนอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังให้ยกขนของขึ้นสู่ที่สูง พื้นที่ริมน้ำ คลองสาขาต่างๆ ตั้งแต่จังหวัดชัยนาทสิงห์บุรีอ่างทองพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรีให้เตรียมเฝ้าระวังน้ำท่วมสูงถึง 1 เมตรได้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพขณะนี้คล้ายเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 ที่เหมือนกลับมายังเตือนคนไทยอีกครั้ง โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และคนกรุงเทพมหานคร หากตรวจสอบอัตราการระบายน้ำย้อนหลังของกรมชลประทานเปรียบเทียบเห็นชัดเจน
ตั้งแต่ปี 2554 และปี 2564 อย่างสถานีสี่สองนครสวรรค์ปี 2554 น้ำไหลผ่านมากถึง 4,686 ลบ.ม./วินาที ปีนี้ 2,332 ลบ.ม.วินาที ส่วนที่เขื่อนเจ้าพระยา 3,254 ลบ.ม./วินาที และเมื่อวานนี้อยู่ที่ 2,349 ลบ.ม.วินาที เช้านี้ก็ปรับอัตราที่ 2,500ลบ/ม.วินาที ขณะนี้เหลือเวลาอีก 36 วันจะสิ้นสุดฤดูฝนเมื่อไปดูปริมาณน้ำใช้การในเขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีเพียง 4,860 ล้าน ลบม. และยังต้องการน้ำอีกมากกว่า 7 พันล้าน
แม้ว่าจะมีข้อมูลสถิติยืนยันว่าการระบายน้ำปีนี้ไม่ได้มากเหมือนกับปี 2554 แต่ความเดือดร้อนที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั่วทั้งประเทศ ทำให้หวั่นใจลุ้นว่าน้ำจะถึงกรุงเทพมหานครไหมส่วนชาวบ้านที่อยู่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อย่างแถววัดมะปรางค์ ต.หาดอาษา อ.สรรพยา น้ำวันนี้ได้เอ่อเข้าท่วมแล้ว
ชาวบ้านต้องเร่งต่อนั่งร้านเพื่อที่จะยกของขึ้นสู่ที่สูงเพราะว่าเหนือน้ำเริ่มเข้ามาเมื่อวานนี้สามารถฝ่าแนวกั้นกระสอบทรายที่ชาวบ้านทำไว้ได้