เกร็ดความรู้สำหรับคุณพ่อคุณแม่ ภาวะร้องกลั้น หรือ ร้องกลั้น อาการที่เด็กเล็กร้องจนหน้าเขียว สาเหตุเป็นเพราะอะไร จะมีวิธรรักษาอย่างไรได้บ้าง ไปอัปเดตกันไว้เพื่อจะได้เตรียมตัวได้ถูกเมื่ออยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว
สาเหตุ อาการร้องกลั้น
อาการร้องกลั้น หรือภาวะกลั้นหายใจในเด็ก ( Breath holding spells) มีทั้งชนิดแบบเขียวและแบบซีด เกิดจากที่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอัตราการหายใจ เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองกับความโกรธ เจ็บปวด หรือความกลัว ส่วนใหญ่เด็กมักกลั้นได้นานถึง 1 นาที แต่ไม่เกิน 10-20 วินาที พบได้ในเด็กเล็ก ตั้งแต่ช่วงอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี และพบบ่อยในเด็กอายุ 1 ถึง 3 ปี ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้เด็กเกิดอาการร้องกลั้นเพราะ มีความรู้สึกโกรธ ถูกขัดใจ มีอาการโมโหมากๆ หรืออาจจะเป็นเพราะเจ็บปวด ความกลัว ความเครียด จึงส่งผลให้เด็กมีภาวะดังกล่าว
การร้องกลั้นมี 2 ประเภท ได้แก่ การร้องกลั้นชนิดเขียว และ
การร้องกลั้นชนิดเขียว: มักมีปัจจัยมากระตุ้นจากความโกรธ หงุดหงิด ร้องไห้รุนแรงช่วงสั้นๆ ไม่เกิน 30 วินาที และหยุดกลั้นหายใจในช่วงสิ้นสุดการหายใจออก นำไปสู่ภาวะเขียวเพราะขาดออกซิเจน ส่วนใหญ่กลับมาปกติใน 1 นาที สาเหตุอาจมาจากระบบประสาทอัตโนมัติยังเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้ผิดปกติในการควบคุมระบบประสาทส่วนกลาง
การร้องกลั้นชนิดซีด: สัมพันธ์กับภาวะซีดหรือขาดธาตุเหล็ก ปัจจัยกระตุ้นจากความกลัว ตกใจ หรือเจ็บปวดจากอุบัติเหตุเล็กน้อย อาการจะเริ่มด้วยการร้องสั้นๆ บางรายอาจไม่ร้องเลย อาการนิ่ง ตัวอ่อน หน้าซีด หมดสติ อาจรุนแรงหรือมีการกระตุก ปัสสาวะอุจจาระราด หัวใจเต้นช้าลงหรือหยุดเต้น บางรายที่ไม่รุนแรงจะกลับมาปกติภายใน 1 นาที
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- พ่อแม่ต้องมีสติ: ทำตัวตามปกติ ไม่ตกใจกลัว หรือแสดงสีหน้าอาการใดๆ ที่ดูกังวล อย่าแสดงอาการตกใจ เช่น อย่าทำสีหน้าตกใจ เสียงสูง ให้อยู่กับลูกปลอบด้วยน้ำเสียงธรรมดา แต่ใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจ แทน ยกตัวอย่างเช่น สมมติอาบน้ำให้ลูกอยู่แล้วลูกเกิดภาวะกลั้นร้องขึ้นมา ก็ให้อาบน้ำต่อไป พูดด้วยน้ำเสียงธรรมดาไม่ตกใจว่า ใกล้เสร็จแล้วนะคะ เดี๋ยวได้กินนมแม่แล้ว โอ๋ๆๆ เก่งมากๆๆ อย่ารีบหยุดอาบน้ำ และรีบเอาลูกขึ้นมาโอ๋ๆ กอดๆ ตัวเขียวไปหมดแล้ว และบอกไม่อาบน้ำแล้ว โอ๋ๆ หยุดร้องนะลูกๆ
- สังเกตหลีกเลี่ยง: สิ่งกระตุ้นที่ทำให้มีอาการ เช่น ภาวะกลัว โกรธ เจ็บ หงุดหงิด
- นำผ้าชุบน้ำเย็นวางบนหน้า: ในกรณีที่มีอาการร้องกลั้นชนิดเขียว นำผ้าชุบน้ำเย็นวางบนหน้า 15 วินาที อาจทำให้ดีขึ้นได้
แนวทางการรักษา
- มุ่งเน้นเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น แต่ไม่ให้มีการตามใจเด็กเกินความจำเป็น การดูแลขณะเกิดอาการเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเนื่องจากในขณะเกิดอาการเด็กอาจไม่รู้สึกตัว ผู้ปกครองมั่นใจได้ว่าอาการนี้จะลดลงเมื่อเด็กโตขึ้น
ที่มา : พญ. ฐิตาภรณ์ วรรณประเสริฐ เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังเด็ก โรงพยาบาลผิวหนังอโศก, สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, รศ.พญ.จิรนันท์ วีรกุล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร