ความดันโลหิตสูง (HYPERTENSION) ทำให้เกิดความเสียหาย และการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง นำไปสู่สภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือด การอุดตันของหลอดเลือด หรือหลอดเลือดแตกได้ และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจวาย โรคอัมพาต โรคสมองเสื่อม หรือโรคไตวายเรื้อรัง ไปทำความรู้จักพร้อมวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น ความดันโลหิตสูง กันไว้ จะได้รู้เท่าทัน!
สาเหตุโรค ความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่เป็นชนิดไม่ทราบสาเหตุ
ข้อมูลจาก รพ. นนทเวช เผยว่า มากกว่า 90 % เป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Essential Hypertension) พบได้บ่อยในรายที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง อายุมาก ส่วนใหญ่กลุ่มที่ทราบสาเหตุพบได้น้อย ซึ่งเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคอยู่แล้ว เช่น โรคไต หลอดเลือดที่ไตตีบบครรภ์เป็นพิษ เนื้องอกบางชนิด โรคทางต่อมหมวกไตยาบางอย่าง เป็นต้น
เช็คสัญญาณอาการเตือน โรคความดันโลหิตสูง ที่พบได้บ่อย
- มีอาการปวด และมึนงงศีรษะ
- คลื่นไส้, อาเจียน
- เหนื่อยง่าย
- หน้ามืดเป็นลม
ค่าความดันโลหิตสูง ดูอย่างไร?
การวัดความดันโลหิตสูง มี 2 ค่า คือ ค่าความดันตัวบนและค่าความดันตัวล่าง โดยตัวเลขทั้งสองค่าจะรายงานเป็นมิลลิเมตรปรอท (mm/Hg) โดยระดับความดันทั้ง 2 ค่า ยิ่งสูงมากก็ยิ่งจะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้มากขึ้นตามลำดับ
- ค่าความดันตัวบน คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 140 (mm/Hg) ขึ้นไป
- ค่าความดันตัวล่าง คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว มากกว่าหรือเท่ากับ 90 (mm/Hg) ขึ้นไป
ค่าความดันโลหิตที่ควรระวัง (ค่าตัวบนและตัวล่าง)
สูงเล็กน้อย
140 – 159 (mm/Hg)
90 – 99 (mm/Hg)
สูงปานกลาง
160 – 179 (mm/Hg)
100 – 109 (mm/Hg)
สูงมาก
มากกว่า 180 (mm/Hg)
มากกว่า 110 (mm/Hg)
ยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งเสี่ยงโรค ความดันโลหิตสูง ค่าความดันเลือดที่ถือว่าผิดปกติสำหรับผู้ใหญ่ คือ ค่าความดันตัวบนมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และ ค่าความดันตัวล่างมากกว่า 90 มิลลิเมตร
วิธีดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคความดันโลหิตสูง
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดโซเดียมด้วยการลดการกินเค็ม อาหารรมควัน
- งดอาหารรสหวาน เช่น น้ำอัดลม ขนมหวาน ไอศกรีม เค้ก
- คุมน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะความอ้วนน้ำหนักที่มากเกินมาตราฐานเป็นหนึ่งใน
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด
- สาเหตุให้ร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงซึ่งนำพาไปสู่การเป็นความดันโลหิตสูงได้
- กินอาหารที่มีกากใยให้เพิ่มมากขึ้นจากเดิม ผักผลไม้ ธัญพืช ข้าวกล้อง นมพร่องมันเนย นมถั่ว
- ลดละเลิกหรืองด เครื่องดื่มที่มีแอลกอออล์ ไม่สูบบุหรี่