เรามักจะได้ยินกันอยู่เสมอๆ ว่า ต้อง ดื่มน้ำ ให้ครบวันละ 6-8 แก้ว ถึงจะเพียงพอต่อร่างกาย แล้วคุณรู้มั้ยว่า ประโยชน์ของน้ำ มีอะไรบ้าง? ถ้าดื่มน้อยหรือมากเกินไป จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายมนุษย์อย่างเราๆ
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ ประโยชน์ของน้ำ สรุปมาทั้งหมด 7 ข้อดังต่อไปนี้
- แก้ภาวะขาดน้ำ ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดการสูญเสียของเหลวจากร่างกายจนเป็นอันตราย มีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วย เสียเหงื่อ หรือดื่มน้ำไม่เพียงพอ
- ช่วยระบาย โดยเฉพาะตอนเช้า ถ้าเราท้องผูกจะทำให้เกิดปัญหาแบคทีเรียในท้องตามมา อาจส่งผลให้เกิดการย่อยเก็บไขมันสูง การดื่มน้ำก็เท่ากับการจัดการไขมันได้ดี ป้องกันโรคหัวใจได้บ้าง แต่ไม่มากนัก ภาวะท้องผูก อาจสัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ และระบบในช่องท้องด้วย
- ช่วยในการย่อย แต่ร่างกายไม่ได้รอคนดื่มน้ำ ลำไส้ปล่อยน้ำเข้ามาทางลำไส้ โดยผ่านท่อตับอ่อนหลั่งด่าง 1500 ซีซี และในลำไส้เล็กอีก 4000 – 5000 ซีซี เพื่อช่วยในการย่อย
- ช่วยขับน้ำลาย น้ำลายก็จะช่วยฆ่าเชื้อโรคในปาก และกำจัดกลิ่นปากได้ด้วย รวมทั้งป้องกันไข้หวัดด้วย แนะนำให้ผู้ป่วยที่เป็นหวัดดื่มน้ำมะนาวอุ่น นอกจากช่วยให้น้ำลายในปากมากขึ้นจากน้ำ และน้ำลายหลั่งเพราะเปรี้ยวปาก จะหลั่งมากขึ้น ความอุ่นของน้ำยังช่วยเส้นเลือดไหลเวียนดี ควรดื่มหลังอาหารเย็นบ่อยๆ
- การดื่มน้ำแก้ปากอักเสบ ร้อนใน และแก้ฟันผุ เพราะน้ำลายได้ด้วยเช่นกัน
- การดื่มน้ำช่วยลำเลียงอาหารออกจากกระเพาะ ทำให้กระเพาะย่อยง่าย ก็เป็นโรคกระเพาะ และลมในท้องลดลง
- การดื่มน้ำ ทำให้การจับของภูมิต้านทานต่อผิวลำไส้ IgG และระบบ complement ทำงานได้ดีขึ้น ก็คล้ายไปช่วยภูมิต้านทานทางอ้อม
ร่างกายมีการรับน้ำเข้ามา 3 ทาง
- การดื่มน้ำ ซึ่งแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน
- น้ำที่อยู่ในอาหาร ผัก และผลไม้ เช่น กินแตงโมก็ได้น้ำในเนื้อแตงโม
- น้ำที่ได้จากการทำปฎิกิริยาจากอาหาร (oxidation of carbohydrates, proteins, and fats)
น้ำที่ได้จาก ข้อ 2 และ 3 รวมแล้วได้ถึง 1200 ซีซีต่อวัน ทั้งนี้คนเราจะเสียน้ำผ่านผิวหนัง การขับถ่าย และปัสสาวะ รวมแล้วออกอย่างน้อย 1600 ซีซีต่อวัน เฉลี่ยแล้วเราจึงต้องดื่มน้ำอย่างน้อยที่สุด มากกว่า 400 ซีซีต่อวัน แต่ในที่นี้แนะนำให้ดื่มน้ำไม่น้อยกว่าวันละ 8 แก้ว
ผู้ที่ขาดน้ำไม่มากเราอาจจะสังเกตสิ่งต่อไปนี้
- ผิวแห้ง ริมฝีปากแห้ง
- เพลียหลับง่าย เด็กจะซึมไม่ค่อยเล่น
- หิวน้ำ
- ปัสสาวะน้อยลง เด็กเล็กจะปัสสาวะน้อยกว่า 6 ครั้งใน 1 วัน ส่วนเด็กโต หากไม่ปัสสาวะใน 8 ชั่วโมงถือว่า ร่างกายขาดน้ำ
- เด็กร้องไห้ไม่มีน้ำตา
- ไม่มีแรง
- ปวดศีรษะ
ผู้ที่ขาดน้ำอย่างรุนแรงจะสังเกตเห็นสิ่งต่อไปนี้
- กระหายน้ำอย่างมาก
- สับสนกระวนกระวาย เด็กอาจจะซึมลง
- ผิวหนัง ปากจะแห้งมาก
- ไม่มีเหงื่อ
- ไม่ปัสสาวะ หรือปัสสาวะออกน้อยมาก
- ตาโหล
- ผิวแห้งสูญเสียความยึดหยุ่น เมื่อเราดึงผิวหนังขึ้นมาผิวจะตั้งได้
- หากเป็นเด็กทารกบริเวณขม่อมจะบุ๋มลง
- ความดันต่ำ ชีพขจรเร็ว
- หายใจเร็ว
- ซึม หรือหมดสติ
ทำไมไม่ควรดื่มน้ำหลังอาหารมากๆ
- ไม่ควรดื่มน้ำเย็น หรือดื่มน้ำในปริมาณมากๆ หลังกินอาหาร เพราะน้ำจะไปเจือจางความเข้มข้นของน้ำย่อย ทำให้การย่อยอาหารไม่ดี เป็นโรคกระเพาะ
ห้ามปล่อยให้ร่างกายกระหายน้ำ แล้วค่อยดื่ม
- หากเราปล่อยให้กระหายน้ำเต็มที่ แล้วค่อยมาดื่ม ย่อมไม่เป็นผลดีแน่นอน เพราะร่างกายจะเข้าสู่ภาวะขาดน้ำ จนทำให้มีของเสีย สารพิษตกค้างอยู่มาก ไม่สามารถระบายหรือขับถ่ายได้ (ขาดน้ำไปละลายสารพิษ) ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ ของเสียในร่างกายก็จะตกค้างสะสม
ดื่มน้ำมากไปก็เป็นโทษ
- มีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการแนะนำ การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ เช่น ดื่มครั้งเดียวปริมาณมากๆ ตอนตื่นนอน เพื่อขับล้างของเสียในร่างกาย ร่างกายคนเราเมื่อขาดน้ำ ปัสสาวะจะน้อย เมื่อน้ำเกินปัสสาวะจะมาก โดยอาศัยการทำงานของไตเป็นตัวควบคุม คนปกติที่ไม่ขาดน้ำ ถ้าได้รับน้ำปริมาณมาก จะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้เลือดเจือจาง แรงดันในการดูดซึมของสารอาหารสู่เซลล์น้อยลง ปริมาณน้ำในเซลล์มากขึ้น ทำให้เซลล์บวมน้ำ เกิดพิษต่อเซลล์ มีอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ถ้าเซลล์บวมน้ำมากขึ้นจะมีอาการง่วงนอน กระตุก มองไม่ชัด หัวใจเต้นช้า หายใจช้า เป็นลม เป็นต้น ดังนั้นการดื่มน้ำจึงต้องพอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป
ที่มา : น.พ. ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย โรงพยาบาลพระราม 9 / www.thaihealth.or.th