คัดลอก URL แล้ว
วิธีใช้ กัญชา ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย วิธีแก้อาการแพ้กัญชาเบื้องต้น

วิธีใช้ กัญชา ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย วิธีแก้อาการแพ้กัญชาเบื้องต้น

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 มีผลบังคับใช้ วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป มีผลให้ทุกส่วนของ “กัญชา กัญชง” ไม่เป็นยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2% ทำให้ “กัญชา” เป็นที่ต้องการในตลาดทั้งการซื้อและการขาย รวมเกร็ดความรู้สำคัญๆ เกี่ยวกับ กัญชา ตั้งแต่วิธีใช้ ข้อความระวัง เพื่อจะได้ใช้กันอย่างปลอดภัย

กัญชา คืออะไร

กัญชา เป็นพืชประเภทล้มลุกชนิด Cannabis sativa L. จัดอยู่ในวงศ์ Cannabaceae มี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ Cannabis sativa, Cannabis indica และ Cannabis rudealis สำหรับสายพันธุ์ที่พบมากในประเทศเทศไทยคือ Cannabis sativa เติบโตได้ดีในลักษณะอากาศแบบร้อนชื้น

ประโยชน์ของการใช้กัญชา ในการรักษาอาการและโรคต่างๆ

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการักษาอาการและโรคต่างๆ มีดังต่อไปนี้ เช่น

(อ้างอิงจาก บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน กัญชากับการรักษาโรค ดร. ภญ. ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

วิธีใช้กัญชา

จากประวัติศาสตร์ พบว่า การใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคนั้นเริ่มขึ้นในประเทศจีนเมื่อ 2600 ปีก่อนคริสตกาล (BC) จักรพรรดิ์เสินหนิงของจีน (Shun Nung; 2737 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นผู้ค้นพบวิธีการชงชาและการดื่มชา เป็นผู้อธิบายสรรพคุณทางยาของพืชกัญชาในตำรายาสมุนไพรจีนเป็นครั้งแรก และริเริ่มให้มีการเพาะปลูกพืชกัญชาเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคนับจากนั้นเป็นต้นมา

ทั้งนี้ในอดีตมีวิธีการใช้กัญชา 2 ลักษณะคือ

  1. การใช้ผงแห้งของใบและดอก มามวนเป็นบุหรี่สูบ ซึ่งชาวเม็กซิกันเรียกว่า มาริฮวานา (Marijuana)
  2. การใช้ยางจากต้นมาเผาไฟและสูดดมตามภาษาอาหรับ ที่เรียกว่า แฮฌอีฌ (Hashish)

อนึ่งคำแนะนำจาก “นพ.ล่ำซำ ลักขณาภิชนชัช” รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและการแพทย์ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)“ เผยว่า หากต้อง การใช้กัญชาทางการแพทย์ สามารถปรึกษาแพทย์ได้ แต่หากใช้ในชีวิตประจำวัน แนะนำให้ใช้กัญชาที่เป็นใบประกอบอาหาร ส่วนน้ำมันกัญชายังไม่แนะนำ

ผู้เริ่มกินเมนูกัญชาควรกินปริมาณเท่าไร

ควรเริ่มในปริมาณ ครึ่งใบ – 1 ใบต่อวัน ทั้งนี้ ดูการตอบสนองของร่างกายเมื่อได้รับกัญชาด้วย เพราะมีความแตกต่างกันแต่ละบุคคล เมื่อกินกัญชาแล้วควรสังเกตอาการตนเองทุกครั้งเมื่อใช้ 1 – 3 ชั่วโมง โดยให้เน้นใช้เพื่อการแพทย์ในการรักษาโรคเท่านั้น

ข้อควรระวัง การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา ได้แก่

1) ควรศึกษาคำแนะนำความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์กัญชาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งแตกต่างในแต่ละบุคคล
2) กลุ่มเปราะบาง เช่น เยาวชนและผู้ที่มีโรคประจำตัว หากต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์ ไม่เช่นนั้นอาจะเกิดผลข้างเคียงได้ ทั้งนี้หากใช้เมื่ออายุน้อยจะเกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสังคมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกัญชาที่มีสาร THC สูง ( สาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol มีคุณสมบัติต่อจิตประสาท ทำให้ผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยลดอาการตึงเครียดได้) ถ้าใช้แนะนำให้ใช้กับผู้ป่วยอายุ 25 ปีขึ้นไป ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 18 ปี
3) ไม่แนะนำ กัญชาสังเคราะห์ ทั้งนี้เคยมีผู้เสียชีวิตในต่างประเทศ
4) การสูบกัญชาแบบเผาไหม้เป็นประจำส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ การใช้วิธีรับประทานช่วยลดความเสี่ยงต่อทางเดินหายใจแต่อ
5) หากยืนยันที่จะสูบ แนะนำว่าไม่ให้สูบโดยการอัดเข้าไปในปอด หรือสูดลูกแล้วกลั้นไว้ เพราะทำให้เกิดอันตรายต่อปอดมากขึ้น
6) การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาความถี่สูงหรือเข้มข้นสูง มีโอกาสเสี่ยงต่อสุขภาพและสังคมมากขึ้น
7) การขับขี่ยานพาหนะ ขณะที่มีอาการข้างเคียงจากการใช้กัญชา เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หากเสพกัญชาและจำเป็นต้องขับรถควรเว้นระยะอย่างน้อย 6 ชั่วโมง รวมถึงอาจต้องปรับปรุง พ.ร.บ.จราจร ให้ครอบคลุมในเรื่องของกัญชาด้วย

(อ่านเพิ่มเติม : กัญชา กับอันตรายบนท้องถนนที่ไม่ควรมองข้าม แม้ปลดล็อกตามกฎหมายแล้ว)

8) ไม่ควรใช้กัญชาในผู้ป่วยที่ประวัติครอบครัวเป็นโรคจิตเวช ผู้ติดชา สารเสพติด หญิงตั้งครรภ์ มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงรุนแรง

อาการแพ้กัญชา ความผิดปกติที่พบได้บ่อย ได้แก่

อาการเมา อาการผิดปกติ ที่ควรไปพบแพทย์

วิธีแก้อาการแพ้กัญชา เมากัญชาเบื้องต้น

ปากแห้งคอแห้ง วิธีแก้คือเบื้องต้น : ดื่มน้ำเปล่าตามในปริมาณมากๆ บีบมะนาวครึ่งลูก ผสมเกลือปลายช้อน หรือจะเคี้ยวพริกไทยก็ได้
วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน วิธีแก้คือเบื้องต้น : ให้ดื่มชาชงขิง หรือน้ำขิง

กลุ่มคนที่ห้ามใช้กัญชา

กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องพิจารณาประโยชน์ที่ชัดเจนภายใต้การดูแลของแพทย์

การใช้กัญชา Overdose

คือการใช้กัญชาในปริมาณที่เกินขนาด หรือมากเกินไป โดยจะเกิดพิษเฉียบพลัน สำหรับผู้ได้รับกัญชาเกินขนาด (acute toxicity) ส่งผลให้

ถึงแม้อาการจะไม่รุนแรงในผู้ใหญ่ แต่ในเด็กที่กินกัญชาเข้าไปเพียง 250-1000 มิลลิกรัม Hashish ทำให้แย่ลงได้ 30 นาที โดยผู้ป่วยจะมีอาการหยุดหายใจ หัวใจเต้นช้า เขียว และแขนขาอ่อนปวกเปียก

แพ้กัญชา เกิดขึ้นได้จริง คนที่ไม่ได้ใช้เกินขนาดบางกลุุ่มก็แพ้ได้

การแพ้กัญชา เกิดขึ้นได้จริง แต่ไม่บ่อยมากนัก แม้กระทั่งคนที่ใช้อย่างถูกต้อง คนที่ไม่ได้ใช้เกินขนาด ก็จะมีคนจำนวนหนึ่งที่มีอาการแพ้ขึ้นมาได้

อาการแพ้นั้นมีได้หลายแบบ เช่น คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง หน้ามืดวิงเวียน เดินเซ แต่ละคนอาจจะมีอาการแตกต่างกันออกไป

การแพ้ที่เกิดจากการใช้กัญชาเกินขนาด “โอเวอร์โดส”

“โอเวอร์โดส” คือการใช้กัญชาเกินขนาด ซึ่งร่างกายรับไม่ไหว โดยจะมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น อาการเมา รู้สึกมึนๆงงๆ เดินเซ ตัวลอย เคลิ้ม บางรายมีอาการหลอนด้วย

ดังนั้น การกินกัญชาจึงต้องต้องเริ่มจากปริมาณน้อย ๆ วันละครั้ง แล้วเพิ่มขนาดทุก 2–3 วัน

(ขอบคุณข้อมูลจาก :ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อาการ “แพ้กัญชา” )

ปริมาณการทานกัญชาในอาหาร

การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565

กรมอนามัย แนะนำปริมาณใบกัญชาต่อเมนูไว้ในประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำประกอบหรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 ดังนี้

ที่มา : rama.mahidol, pharmacy.mahidol, bangkokbiznews, cannabis.fda.moph, dtam.moph, rama.mahidol


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง