ช่วงฤดูร้อน หลายพื้นที่ในไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเสี่ยงต่อการเกิดพายุฤดูร้อน สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ เพื่อความปลอดภัย ขอแนะนำข้อควรรู้ วิธีรับมือ พายุฤดูร้อน เตรียมพร้อมอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด
สาเหตุการเกิด พายุฤดูร้อน
เกิดจากมวลอากาศเย็นปะทะกับอากาศร้อนชื้น ก่อให้เกิดเมฆฝนขนาดใหญ่เป็นก้อนสีเทาเข้ม สูงมากกว่า 10 กม. หรือ เมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแล่บ ฟ้าผ่า และลูกเห็บตก
เตรียมพร้อม ลดผลกระทบจากพายุฤดูร้อน
ติดตามพยากรณ์อากาศ
เพื่อจะได้ทราบช่วงเวลา พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดพายุฤดูร้อน หากมีประกาศเตือนก็ให้ทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครด
สำรวจต้นไม้บริเวณรอบบ้านให้อยู่ในสภาพปลอดภัย
ตัดแต่งกิ่งไม้ที่ไม่แข็งแรง โค่นต้นไม้ที่เสี่ยงต่อการหัดหรือโค่นล้ม
แจ้งหน่วยงานแก้ไขสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง
โดยเฉพาะเสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา เสาสัญญาณโทรศัพท์
ตรวจสอบอาคารบ้านเรือนให้ดี
โดยเฉพาะประตูหน้าต่าง และหลังคาบ้าน จัดเก็บสิ่งของที่ปลิวลมได้ให้อยู่ในที่มิดชิด เพื่อป้องกันสิ่งของเสียหายและอันตรายจากการถูกสิ่งของกระแทก
ทำอย่างไรให้ปลอดภัยจากพายุฤดูร้อน
หลบพายุลมแรงในอาคาร หรือบ้านที่มั่นคงแข็งแรง
ไม่อยู่ในบริเวณที่เสี่ยงต่อการแตกหัก อาทิ หลังคาสกายไลน์ ประตูหรือหน้าต่างที่เป็นกระจกเพื่อป้องกันอันตรายจากลมกระโชกแรงและฟ้าผ่า
ไม่หลบพายุลมแรงในพื้นที่เสี่ยง
อาทิ ใต้ต้นไม้ใหญ่ใกล้ป้ายโฆษณา และเสาไฟฟ้า หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง รวมถึงไม่จอดรถใต้ต้นไม้
ป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า
โดยงดใช้เครื่องไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงไม่สวมเครื่องประดับที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า อาทิ เงิน ทอง นาก
ห้ามเข้าใกล้บริเวณที่มีสายไฟฟ้าขาดหรือเสาไฟฟ้าล้ม
เพราะอาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้าดูด รวมถึงให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการแก้ไข
ลักษณะของพายุฤดูร้อน
ช่วงก่อนเกิดพายุฤดูร้อน
อากาศร้อนอบอ้าว ลมสงบ ลมพัดแรงและกระโชกเป็นครั้งคราว รวมถึงเมฆก่อตัวหนาแน่นอย่างรวดเร็ว เกิดฟ้าแลบ ฝนฟ้าคะนองในระยะไกล
ขณะเกิดพายุฤดูร้อน
เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และอาจมีลูกเห็บตก รวมถึงฝนตกในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง