เคยสังเกตบ้างมั้ย? ว่าทำไมตัวเราในกระจกกับนอกกระจก ถึงดูแตกต่างกัน จะเป็นเพราะรู้สึกไปเองมั้ย? และหากคุณกำลังคิดเช่นนั้นอยู่ขอบอกเลยว่าไม่ใช่คุณคนเดียวที่คิดแบบนี้ เรื่องนี้ในทางวิทยาศาสตร์มีเหตุผลมาอธิบายให้กระจ่าง
1.กระจกสะท้อนภาพที่กลับด้าน
สิ่งที่เราเห็นในกระจกไม่ใช่ความจริง! สิ่งที่สะท้อนในกระจกคือเวอร์ชั่นของคุณที่กลับด้านจากความเป็นจริง และเมื่อเราส่องกระจกทุกวัน เราจะเคยชินกับด้านที่กลับข้างจนมันมีผลที่ทำให้รู้สึกเคยชิน
2.การควบคุมเมื่อแรกเห็น
เมื่อเราส่องกระจก เราจะควบคุมท่าทางได้ในทันทีและทำได้อย่างเต็มที่ ถ้าเราไม่ชอบมุมที่ปรากฎในกระจก เราสามารถเปลี่ยนมุม เพื่อให้เราดูดีได้จากภาพที่เห็นจนทำให้เราพึงพอใจในภาพสะท้อนที่ปรากฎ แต่เมื่อถ่ายภาพเราจะไม่สามารถเห็นมันได้จนกว่าจะถ่ายเสร็จ ความเป๊ะจึงต่างกัน
3.การจัดแสง
สมองของเรามักทำงานเพื่อตอบสนองกับแสง โดยที่เราไม่ได้คิดว่ามันมีความแตกต่างของแสงเมื่อเราอยู่หน้ากระจก นั่นเพราะสมองแสดงภาพที่เห็นโดยอัตโนมัติ โดยการปรับสายตาให้เข้ากับภาพที่เห็น ซึ่งแตกต่างจากกล้องถ่ายภาพที่ไม่ได้ทำงานเช่นนั้น
4.ใบหน้าของเราไม่สมมาตร
ไม่มีใครที่มีใบหน้าที่ได้สัดส่วนสมมาตรสมบูรณ์แบบ ถ้าไม่เชื่อลองพลิกหน้าครึ่งหนึ่งของคุณมาทับซ้อนกันดู มันจะแสดงความแตกต่างออกมาอย่างชัดเจน เราคุ้นเคยกับหน้าของตัวเองในมุมไม่กี่มุมเท่านั้น และเรามักคิดว่าหน้าของเราทั้งสองส่วนเหมือนกัน ซึ่งมันเป็นเหตุผลที่ทำให้เราดูเป็นคนละคนเมื่อถ่ายภาพ
5.สิ่งรอบตัวทำให้เรารู้สึกกดดัน
นักวิจัยอธิบายเรื่องดังกล่าวว่า เรามักมองในกระจกเมื่ออยู่ที่บ้านหรือในสถานที่ปลอดภัยจริงมั้ย? แต่สำหรับการถ่ายภาพบางครั้ง เราอาจจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย จึงรู้สึกเครียดหรืออึดอัดในการโพสต์บ้าง ทำให้รูปที่ออกมาไม่เหมือนกับตัวเองเวลาส่องกระจกนั่นเอง
6.เห็นรายละเอียดส่วนหนึ่งในกระจกเท่านั้น
กระจกเพียงแสดงบางส่วนของตัวเรา เช่น เราทาลิปสติกเราก็จะมองไปที่ปากเท่านั้น เราสนใจแค่ส่วนที่สำคัญเช่นตา จมูกหรือทรงผม และเราไม่ได้มองภาพรวมที่เกิดขึ้นในกระจก บวกกับลึกๆ พื้นฐานคนเราก็ชอบคิดไปเองว่าตัวเองดูดีกว่าสิ่งที่พวกเขาเป็น เราจึงรู้สึกแฺฮปปี้กับรูปร่างหน้าตาในกระจกของตัวเองยังไงล่ะ
ที่มา : brightside