คัดลอก URL แล้ว
ภาคกลาง ภาคใต้ ฝุ่น PM 2.5 สูงขึ้น / อีสานฝุ่นลดลง

ภาคกลาง ภาคใต้ ฝุ่น PM 2.5 สูงขึ้น / อีสานฝุ่นลดลง

KEY :

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนบน ต่อเนื่องภาคตะวันตกของไทย และยาวไปจนถึงบริเวณภาคใต้

สำหรับในพื้นที่ภาคเหนือนั้น สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ยังคงอยู่ในระดับที่วิกฤติต่อเนื่อง ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แนวโน้มยังคงใกล้เคียงเดิม

ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา บริเวณภาคเหนือมีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีนัก และในช่วงวันที่ 16 -23 เม.ย. การระบายอากาศจะดีขึ้นจากช่วงก่อนหน้า แต่ก็คงยังอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน” จึงคาดว่า ปริมาณฝุ่นน่าจะลดลงบางส่วน แต่จะยังคงมีฝุ่นสะสมตัวได้ต่อเนื่อง

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันนี้สถานการณ์ดีขึ้น เนื่องจากการระบายอากาศดีขึ้น ร่วมกับการมีลมกระโชกแรง ฝนตกในพื้นที่ทางด้านตะวันออกของภาคหลายพื้นที่ ทำให้ช่วยลดฝุ่นควันที่สะสมในพื้นที่ได้มากขึ้น

ในขณะเดียวกัน ในช่วงวันที่ 18 – 23 เม.ย. การระบายอากาศในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะดีขึ้น อยู่ในเกณฑ์ “ดี/ดีมาก” การยกตัวของอากาศดีขึ้น ร่วมกับมามีฝนตก จึงคาดว่า ฝุ่น PM 2.5 จะลดลงได้มากขึ้น

ส่วนในพื้นที่ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย.นี้ แม้ว่าการระยายอากาศจะอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่น PM 2.5 สะสมตัวได้มากขึ้น

ภาคใต้ฝุ่นสูงขึ้น

ในขณะที่ภาคใต้ ได้รับผลกระทบจาก PM 2.5 เป็นวันที่สองแล้ว หลังจากที่ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมามีแนวโน้มของปริมาณฝุ่น PM2.5 เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. เป็นต้นมา ในพื้นที่ภาคใต้มีการระบายอากาศที่อยู่ในเกณฑ์ “ไม่ดี” มาโดยตลอด แต่สภาวะอากาศค่อนข้าง เปิดทำให้ฝุ่นควันยังคงสามารถระบายออกไปได้

แต่ในระยะนี้ กระแสลมระดับบนได้พัดพาฝุ่นควันจากหลายพื้นที่เข้ามา ทำให้ฝุ่นควันสามารถสะสมตัวได้เพิ่มขึ้น โดยคาดว่า สถานการณ์จะดีขึ้นในช่วง 2-3 วันข้างหน้านี้

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ มีแนวโน้มสูงขึ้น

แนวโน้มฝุ่น PM .25 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานที่ผ่านมา ทำให้ในวันนี้ ( 16 เม.ย. ) ปริมาณค่าฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นส่วนใหญ่ โดยมีบางพื้นที่ที่พบว่า มีปริมาณฝุ่น PM 2.5 สูงในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ซึ่งในรายงานของทางกรุงเทพฯ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมาพบว่า พื้นที่กรุงเทพฯ มีสภาพอากาศส่วนใหญอยู่ในเกณฑ์ที่สูงเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และพื้นที่เขตสาทร มีปริมาณฝุ่นสูงอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมีปริมาณฝุ่น 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

โดย 10 พื้นที่ที่พบค่าฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้แก่

เขตปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1เขตสาทร100
2เขตบึงกุ่ม89
3เขตบางกอกน้อย84
4เขตพระนคร80
5เขตปทุมวัน79
6เขตบางขุนเทียน (สถานี คพ.)78
7เขตคลองเตย76
8เขตคลองสาน75
9เขตดินแดง (สถานี คพ.)75
10เขตบางพลัด73
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1รพ.สต.บ้านไตรสภาวคาม
ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
748
2รพ.สต.บ้านใหม่
ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
624
3วัดบ้านดอนศรีสะอาด
ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
594
4สถานบริการสาธารณสุขชุมชนบ้านเมืองนะ จ.เชียงใหม่591
5รพ.สต.บ้านอรุโณทัย
จ.เชียงใหม่
548
6บ้านแม่ปั๋ง
ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
512
7บ้านสันตะผาบ
ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
502
8รพ.สต.บ้านปางมะเยา
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
496
9รพ.แม่สาย
ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย
492
10หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชม.5 (ปิงโค้ง)
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
490

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร


ข่าวที่เกี่ยวข้อง