KEY :
- ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ลดลงค่อนข้างมาก
- ซึ่งเป็นผลมาจากการเกิดพายุฤดูร้อน มีลมกระโชกแรง และมีฝนตกในบางพื้นที่ ส่งผลให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้น้อยลง
- ทางด้านของภาคเหนือ แม้ว่าฝุ่น PM 2.5 จะลดลงแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูงต่อเนื่อง และอยู่ในเกณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
- โดยพื้นที่หลักที่พบฝุ่น PM 2.5 ในระดับสูงยังคงเป็นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะในอ.พร้าว – เชียงดาว
…
สถานการณ์ของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในภาพรวมนั้น มีแนวโน้มลดลงในหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น มีลมกระโชกแรง และมีฝนตกร่วมในบางพื้นที่ ทำให้ฝุ่นควันที่เกิดขึ้น ไม่สามารถสะสมตัวได้ เหมือนช่วงก่อนหน้านี้
แต่ในพื้นที่ภาคเหนือ แม้ว่าปริมาณฝุ่น PM 2.5 ที่ตรวจวัดได้จะมีแนวโน้มลดลง แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับที่สูงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ที่ยังคงมีจำนวนจุดความร้อนอยู่ในระดับที่สูง
รายงานการวัดค่าฝุ่นโดยศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เวลา 08.00 น.ที่ผ่านมา พบว่า ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะอ.พร้าว , อ.เชียงดาว ยังคงมีปริมาณฝุ่นในระดับที่สูงมากที่สุดในประเทศต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้ว
เช่นเดียวกับในจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือที่ยังคงเผชิญกับสภาวะฝุ่นที่สูงอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่มีการระบายอากาศไม่ดีนัก มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ร่วมกับการเผาที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกพื้นที่ ยังคงอยู่ในระดับที่สูง
สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพอากาศดีขึ้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะทางด้านที่ติดกับประเทศลาว ซึ่งแม้ว่า สภาพอากาศจะมีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ค่อยดีนัก แต่ได้รับอานิสงค์จากการที่มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น มีลมกระโชกแรง ร่วมกับการมีฝนตกในบ้างพื้นที่ ช่วยให้ฝุ่นควันลดลงได้ในหลายพื้นที่
ส่วนบริเวณภาคกลางนั้น สถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นผลมาจากการมีลมแรง ร่วมกับการมีฝน ทำให้ฝุ่นควันไม่สามารถสะสสมตัวได้มาก ในขณะที่ทางด้านที่ติดกับภาคตะวันตก ภาคเหนือตอนบน ยังคงมีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการระบายอากาศที่ยังไม่ค่อยดีนัก และได้รับฝุ่นควันที่เกิดขึ้นจากทั้งในและนอกพื้นที่เข้ามาร่วมด้วย
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น
…
กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ เริ่มดีขึ้น
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้น ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน แต่ยังคงมีฝุ่น PM 2.5 สะสมตัวอยู่ได้บ้าง จากการระบายอากาศที่อยู่ในเกณฑ์ “อ่อน/ดี” ในช่วงตั้งแต่ 8-16 เม.ย. โดยการระบายอากาศจะดีขึ้นในช่วงวันที่ 10-13 เม.ย. แต่ในช่วง 14 – 16 เม.ย. อาจจะมีสภาวะอากาศปิดในบ้างพื้นที่ และทำให้ฝุ่นควันสามารถสะสมตัวได้เพิ่มมากขึ้นในช่วงดังกล่าว
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | บ้านท่ามะเกี๋ยง ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 674 |
2 | บ้านหลวง ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 596 |
3 | บ้านปางมะเยา หย่อมบ้านห้วยต้นโชค ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 529 |
4 | บ้านสันกลาง ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 518 |
5 | วัดสันรกฟ้า ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 496 |
6 | บ้านป่าแขม ต.แม่แวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 489 |
7 | บ้านทุ่งแดง ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 485 |
8 | รพ.สต.บ้านปางมะเยา ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 465 |
9 | บ้านหัวโท ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 463 |
10 | บ้านปางโม่ ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 462 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
…
จุดความร้อนมีแนวโน้มลดลง
รายงานจุดความร้อนในภูมิภาคทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ยังอยู่ในระดับที่สูงต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีแนวโน้มลดลงก็ตาม ซึ่งในพื้นที่ประเทศเมียนมาร์ และลาว ยังคงมีจุดความร้อนอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง
สำหรับในประเทศไทย รายงานจุดความร้อนที่พบเมื่อวานที่ผ่านมา มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น โดยส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในบริเวณพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ และต่อเนื่องลงมาถึงบริเวณภาคตะวันตกของไทย