KEY :
- แรงงานสตรี จัดกิจกรรมเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องรัฐบาล ทำตามข้อเสนอ 9 ข้อ เนื่องในวัน “วันสตรีสากล”
- อาทิ กำหนดสิทธิลาคลอด 180 วัน / ให้เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า 0-6 ปี เดือนละ 3,000 บาท
- ระบุ การถูกกดขี่และถูกเอาเปรียบของแรงงานสตรี ยังเป็นความกังวลใจที่ผู้หญิงทุกคน
วันนี้ ( 8 มีนาคม 2566 ) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จัดกิจกรรมเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล โดยมี แรงงานหญิงหลายร้อยคน ทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ ซึ่งแรงงานหญิงบางส่วน ได้แต่งกายคล้ายหญิงตั้งครรภ์ ถือป้ายข้อความการเรียกร้องต่าง ๆ ร่วมเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปถึง บริเวณ หน้ากระทรวงศึกษาธิการ ฝั่งตรงข้าม ประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อไปยื่นข้อเรียกร้องเนื่องในวันสตรีสากล แก่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม วันสตรีสากลตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ทั่วทั้งโลก
โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มีมติร่วมกันมีข้อเสนอ 9 ข้อ ส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอเดิมที่แรงงานเคยเรียกร้องต่อรัฐบาลให้แก้ไขหลายครั้ง มีดังนี้
- 1.รัฐต้องรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับต่างๆ ,ฉบับ 177 ว่าด้วยงานที่รับไปทำที่บ้าน,ฉบับ 183 ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิความเป็นมารดา,ฉบับ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับลูกจ้างทำงานบ้าน,ฉบับ 190 ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการละเมิดในโลกของการทำงาน
- 2.การกำหนดสิทธิลาคลอด 180 วัน และให้ผู้ชายสามารถลาคลอดดูแลภรรยาได้ 30 วัน
- 3.รัฐต้องกำหนดมาตรการเพื่อขจัดการละเมิดสิทธิแรงงานทุกรูปแบบ
- 4.รัฐต้องให้เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า 0-6 ปี เดือนละ 3,000 บาท
- 5.รัฐต้องกำหนดสัดส่วนผู้หญิง ชาย และเพศสภาพ ในการตัดสินใจของคณะกรรมการทุกมิติ ทุกระดับ อย่างน้อย 1 ใน 3 เพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม
- 6.กำหนดวันที่ 8 มี.ค. ของทุกปี เป็นวันหยุดตามประเพณี
- 7.การปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำที่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว
- 8.ให้ลูกจ้างทำงานที่บ้านเข้าถึงสิทธิประกันสังคม มาตรา 33
- 9.ขอให้รัฐบาลไทยเจรจากับทางการเมียนมาให้แรงงานสามารถต่อสัญญาในประเทศได้ ขณะที่นายสมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนรับมอบหนังสือ จากกลุ่มแรงงานสตรี ส่งให้นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปแก้ไขต่อไป
ตัวแทนของกลุ่ม กล่าวว่าการออกมาเรียกร้องในวันนี้ แรงงานสตรีทุกคนต่างหวังว่ารัฐบาลจะสามารถทำตามข้อเรียกร้องทั้งหมดได้ พร้อมฝากความหวังไปถึงพรรคการเมืองที่จะมาเป็นรัฐบาลสมัยต่อไปด้วย การถูกกดขี่และถูกเอาเปรียบของแรงงานสตรี ยังเป็นความกังวลใจที่ผู้หญิงทุกคนอยากจะให้มีระเบียบหรือกฎหมายมารองรับช่วยเหลือแรงงานทุกคน ซึ่งข้อเสนอ ทั้ง 9 ข้อ แรงงานสตรีทุกคน มองว่าจะช่วยคุ้มครองและป้องกันการถูกละเมิดสิทธิแก่แรงงานสตรีได้
ดังนั้น คสรท. และ สรส. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับสิทธิและบทบาทของคนงานหญิง ด้วยการดำเนินการตามข้อเรียกร้องวันสตรีสากล เพื่อแสดงออกถึงความจริงใจของรัฐบาล ในการยกระดับสิทธิ และสวัสดิภาพของคนงานหญิงให้อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีในสังคมต่อไป
ทั้งนี้นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 (พ.ศ.2518) เป็นต้นมา สหประชาชาติ ให้ความสำคัญจัดงานอย่างเป็นทางการ ประกาศให้เป็น”วันสตรีสากล” (International Women’s Day) ด้านหนึ่งเป็นวันที่จะเฉลิมฉลอง เพื่อให้สตรี มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในภาคสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ อีกด้านหนึ่งเพื่อสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความไม่เสมอภาค เท่าเทียม ที่ยังดำรงอยู่ปัจจุบันผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลก พัฒนาสังคมประเทศ และมีผู้หญิงในหลายประเทศก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ
สำหรับประเทศไทยจากการเคลื่อนไหว ของเครือข่ายขบวนการแรงงานและเครือข่ายผู้หญิง กลุ่มเพศสภาพ และสาขาอาชีพต่างๆ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ เรื่องสิทธิ เสรีภาพ มากยิ่งขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและมีการออก
ภาพ – วิชาญ โพธิ